Ads Top

SMK Insurance

ประกันสุขภาพ: อยากเลิกรู้สึกซึมเศร้า ในฤดูหนาวต้องทำอย่างไร



Photo source: freepik.com

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ Seasonal Affective Depression SADเป็นอาการอาการซึมเศร้าเมื่อเปลี่ยนฤดูกาลส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเข้าฤดูหนาว เรียกว่า winter blues เพราะบรรยากาศรอบตัวที่ดูแห้งแล้ง อุณหภูมิลดลง แต่คนเราอาจมีอาการซึมเศร้าเมื่อเข้าฤดูร้อนได้ด้วย เพราะร่างกายต้องปรับตัวให้เข้ากับฤดูกาล จึงรู้สึกเหนื่อยหน่ายหดหู่
แม้ว่าอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลจะพบได้น้อยในเมืองไทย แต่ก็ไม่ใช่ไม่พบเลย เพราะอุณหภูมิที่ลดต่ำลง ช่วงไปเที่ยวภาคเหนืออากาศเย็นจัด หรือไปต่างประเทศช่วงที่มีหิมะตก แม้แต่ในช่วงฝนตกหนัก ก็อาจทำให้รู้สึกหดหู่ วิตกกังวลซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ขาดความสนใจในกิจกรรมปกติ ไม่ค่อยอยากเข้าสังคม หมดเรี่ยวหมดแรง จึงอยากนอน อยากอาหารมากขึ้น สินมั่นคงประกันภัย ประกันสุขภาพ จึงขอสรุปหลากหลายเทคนิคที่จะช่วยเตรียมพร้อมรับมืออาการซึมเศร้าในฤดูหนาว ได้แก่


1. การรับประทานอาหาร

กล้วยหอม ช่วยลดการเกิดอาการซึมเศร้าได้ เนื่องจากในกล้วยหอมมีสารทริปโตแฟน (Tryptophan) อันเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะทำให้ผ่อนคลาย มีความสุข หายจากความกังวลทั้งปวง นอกจากนี้ยังมีวิตามินบีที่สูง ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และสมอง

ปลา หลายชนิด ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาซาร์ดีน และปลาทูน่า มีกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพอย่างกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดอาการซึมเศร้า และทำให้สมองทำงานหลั่งสารสื่อประสาทช่วยสร้างความสุขและความพึงพอใจอีกด้วย

เห็ด เพราะมีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ไนอะซิน (Niacin) หรือวิตามินบี 2 และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) หรือวิตามินบี 3 และ วิตามินดีอีกด้วย


2. การรับแสงแดด

การรับแสงแดดอ่อน ๆ ช่วยให้ร่างกายผลิตสารเซโรโทนิน (Serotonin) ลดภาวะซึมเศร้า หากร่างกายได้รับแสงแดดน้อยเกินไปก็จะทำให้นาฬิกาชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนิน (Melatonin) น้อยเกินไปจนอารมณ์และการนอนหลับเสียสมดุล


3.การออกกำลังกาย และการฝึกโยคะ

การออกกำลังกาย และการฝีกโยคะช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และยังเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ พอเหงื่อออกก็กระตุ้นการทำงานของร่างกายให้กระฉับกระเฉง จึงลดภาวะเฉื่อยชา ซึมเศร้า


4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขณะดื่มอาจช่วยทำให้ไม่ต้องรับรู้ความทุกข์ จึงไม่เครียด แต่ในระยะยาวส่งผลต่อการทำงานของสมอง และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลายจนเกิดสภาพสมองฝ่อ


5. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ และรับความรู้สึกเชิงลบ

หลีกเลี่ยงการชมภาพยนต์ที่โศกเศร้า มีแต่ความสูญเสีย ไร้ความหวัง หรือฟังดนตรีที่เศร้า มีเนื้อหาแต่ความผิดหวัง จะกระตุ้นให้รู้สึกซึมเศร้า แต่ให้เลือกชมภาพยนตร์ที่คุณชื่นชอบ สนุกสนาน ไม่ตื่นเต้นเกินไป และฟังเพลงที่ถูกใจ


หากดูแลจิตใจตัวเองให้แจ่มใส ร่าเริง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บป่วยทางกายได้ และถ้าอยากอุ่นใจ ป้องกันอาการเจ็บป่วย แล้วยังนำไปช่วยหักลดภาษีประจำปีได้ เลือกทำประกันสุขภาพกับ สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมค่าเบี้ยประกันที่ไม่แพง และส่วนลดตามความฟิต โทร 1596 หรือ www.smk.co.th สินมั่นคงประกันภัย..เราประกัน คุณมั่นใจ..

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.