Ads Top

SMK Insurance

การดูแลรักษาเกียร์อัตโนมัติ



ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะนิยมใช้รถเกียร์อัตโนมัติ เพราะความสะดวกสบายในการขับขี่ แต่กลับมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า ตำแหน่งความเสียหาย และค่าซ่อมที่แพงกว่ากันอย่างชัดเจน ดังนั้นนอกจากการใช้ที่ถูกต้องแล้ว การดูแลรักษาเกียร์อัตโนมัติจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สินมั่นคงประกันภัย ประกันรถยนต์ จึงนำเทคนิคในการดูแลนี้มาฝากกัน

1. ตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์เป็นประจำ

น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ช่วยหล่อลื่นและระบายความร้อนในการทำงาน ชุดเกียร์อัตโนมัติจึงต้องการน้ำมันเกียร์หล่อลื่นสม่ำเสมอ ระดับของน้ำมันก็มีความสำคัญมาก ระดับที่มากเกินไป นอกจากจะทำให้เกิดฟองตามมาแล้ว อาจทำให้เกิดการรั่วไหลในบริเวณซีลได้อีกด้วย และยังมีผลให้การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันในครั้งต่อไปไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายได้มากเป็นปกติ ทำให้มีน้ำมันเก่าตกค้างได้มาก หากมีน้ำมันน้อยเกินไป เกียร์จะเกิดความร้อนและสึกหรอง่ายกว่า ซึ่งบางครั้งปริมาณที่น้อยลงไป อาจเกิดเพราะมีรอยรั่ว จึงต้องรีบป้องกันแก้ไข

2. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะ

น้ำมันเกียร์มีระยะการเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 40,000 กิโลเมตร และอาจจะมากกว่านั้นตามคำแนะนำของผู้ผลิต การถ่ายน้ำมันเกียร์ เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากชุดเกียร์ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้มีความร้อนสะสมในเนื้อน้ำมัน เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน จะทำให้น้ำมันเริ่มเสื่อมคุณภาพได้ การเปี่ยนน้ำมันตามระยะทางที่กำหนด ช่วยลดปัญหา น้ำมันเสื่อมคุณภาพได้อย่างดี และช่วยให้ชุดเกียร์ใช้งานได้นานขึ้น

3. ใช้งานให้เหมาะสมกับความเร็ว

ปกติรถเกียร์อัตโนมัติจะขับสบายกว่าเกียร์ธรรมดา เมื่อกดคันเร่งแบบนุ่มนวล ก็จะเปลี่ยนช่วงรอบเครื่องประมาณ 2,500-3,500 รอบต่อนาที และตำแหน่งจะเปลี่ยนอัตโนมัติ ลงมาอย่างเหมาะสม ม่สิ้นเปลืองน้ำมัน แต่หากต้องบรรทุกหนักหรือต้องขึ้นทางชันควรเลื่อนตำแหน่งเกียร์มาที่เกียร์ต่ำ เพื่อรักษารอบเครื่องให้คงที่ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์และระบบเกียร์ทำงานหนักไป

ทั้งนี้ แม้เกียร์บางรุ่นจะมีระบบป้องกัน แต่ก็ห้ามทดลองใส่เกียร์ต่ำในช่วงความเร็วสูงมาก เพราะเครื่องยนต์จะถูกความเร็วของล้อและเพลาขับ กระชากให้หมุนอย่างรุนแรง ทำให้นอกจากล้อขับเครื่องอาจล๊อค แล้วชิ้นส่วนในห้องเกียร์ต้องรับภาระสูงเกิดพิกัดอีกด้วย


4. การใส่เกียร์เมื่อจอดรถ

เมื่อจะจอดรถต้องให้เกียร์อัตโนมัติอยู่ในตำแหน่ง P เท่านั้น และควรขึ้นเบรกมือด้วย แม้ว่าตำแหน่ง P จะป้องกันไม่ให้รถไหลก็ตาม ยกเว้นการจอดรถที่อาจกีดขวางทางผู้อื่น สามารถใช้ตำแหน่ง N ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้รถไหลได้เอง ส่วนผู้ที่ใช้รถแบบถอดลูกกุญแจได้ในจังหวะ ควรปรับให้อยู่ใน P และจอดในที่ไม่กีดขวางผู้อื่น ไม่ควรใช้กุญแจสำรองเสียบคาไว้ เพราะรถยนต์อาจจะโดนโจรกรรม

กรณีดังกล่าว ต้องรอให้รถหยุดสนิทก่อน ถึงจะใส่เกียร์ตำแหน่ง P เพราะเป็นการลอคด้วยรูปทรงของกลไก ไม่ใช่อาศัยแรงเสียดทานเหมือนผ้าเบรก


5. การดูแลรักษาทั่วไปเมื่อจำเป็น

สิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ชุดเกียร์อัตโนมัติก็ต้องการการดูแลรักษาเหมือน ชุดเกียร์อื่นๆ ทั่วไป การใช้งานไม่ควรรุนแรง กล่าวคือ การกดคันเร่งอย่างนุ่มนวล สามารถลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ากดคันเร่งเร็วและลึกอย่างใจร้อน ลากรอบเครื่องยาว ขับรถกระชากกระชั้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันผิดปกติมากกว่าที่ควรจะเป็น และการออกตัวแบบกระโชกอย่างรวดเร็วเกินไป ก็จะทำให้เกียร์สึกหรอเร็ว และผ้าคลัตช์ไหม้หรือลื่นก่อนเวลาอันสมควร

สำหรับกรณีที่ขับรถแล้ว รู้สึกว่าชุดเกียร์ทำงานไม่เหมือนเดิม มีเสียงติดขัดระหว่างขึ้นเกียร์ หรือกลิ่นแปลกๆ ควรรีบนำรถไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบการทำงานของชุดเกียร์ ก่อนจะเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่



นอกจากนั้นแล้ว การลดความเสี่ยงในการขับขี่ก็ทำได้จากการเลือกทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทที่ไว้วางใจได้...สินมั่นคงประกันภัย โทร 1596 หรือ คลิก www.smk.co.th สินมั่นคงประกันภัย ..ประกันรถ ประกันเวลา..



Photo source: istockphoto.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.