Ads Top

SMK Insurance

ข้อควรปฎิบัติในการจอดรถ



ปัญหาที่หนีไม่พ้นของเมืองใหญ่คือปัญหาที่จอดรถ ด้วยความแออัด ทำให้มีรถยนต์จำนวนมาก พื้นที่จอดรถที่จำกัด ปัญหาการจอดรถจึงเป็นปัญหาตามมา  แล้วเราจะมีวิธีการจอดรถอย่างไรให้ถูกวิธี ในสถานที่ต่างๆ มีวิธีมาแนะนำกันดังนี้

พื้นที่จอดรถสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. การจอดในพื้นที่จอดรถ ที่มีการแบ่งช่องจอด มีวิธีการปฎิบัติคือ

- การมองหาช่องจอด โดยเลือกช่องจอดให้เหมาะสม มีความสะดวก ปลอดภัย
- หากจะจอดช่องที่มีรถกำลังออก ให้เปิดไฟฉุกเฉินรอ
- หลังจากจอดรถแล้ว ควรเปิดประตูรถด้วยความระมัดระวังเสมอ เนื่องจากอาจจะโดนรถที่จอดด้านข้าง
- การจอดรถขวาง หรือ การจอดซ้อนคัน
          1).ไม่ดึงเบรกมือ  หรือ ล็อคเบรกมือ
          2). ปลดให้รถอยู่ในภาวะเกียร์ว่าง
- หากมีรถขวางที่จอดรถ แล้วเราต้องการขับรถออก ควรเข็นรถคันอื่นด้วยความระมัดระวัง
- อย่าจอดคร่อมสองช่องจอดหรือชิดเส้นช่องจอดจนคันอื่นเข้าไม่ได้



2. การจอดในทางขนานชิดขอบทาง บางพื้นที่ได้รับอนุญาตสามารถจอดรถริมถนนชิดขอบทางได้ตามกฎหมาย แต่ต้องจอดให้ชิดขอบทาง ตัวรถอยู่ในระยะ 25 ซ.ม. จากขอบทาง




พื้นที่ไม่ควรจอดรถ


1. ช่วงทางโค้ง เป็นจุดที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็น สิ่งที่อยู่ กลางหรือหลังโค้งได้ การจอดรถช่วงทางโค้ง มีความสุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูงมาก


2. บริเวณทางแยก ทางแยกไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะจอดในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากการจอดรถจะทำให้มุมเลี้ยวรถต้องแคบลง เพียงเพราะมีรถมาจอดขวาง การจอดตรงทางแยก อาจทำให้รถไม่สามารถเลี้ยวสวนกันได้ และสร้างปัญหาในคนในพื้นที่

3. บริเวณที่มืดหรือแสงสว่างไม่พอ การจอดรถในที่มืดหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ โดยเฉพาะรถสีดำ โทนเข้ม อาจทำให้รถเกิดอุบัติเหตุได้ เสี่ยงต่อการโจรกรรมอีกด้วย

4. จอดรถกีดขวางหน้าบ้านหรือทางเข้าออกคนอื่น ไม่สมควรอย่างยิ่ง แม้ว่าคุณจะจอดบนถนน แต่ทางเข้าออกบ้านเป็นเส้นทางส่วนบุคคล ซึ่งผู้อยู่อาศัยมีสิทธิใช้งานได้โดยสะดวก

5. พื้นที่ห้ามจอดอื่นๆ ในบางจุดจะมีการประกาศห้ามจอดเอาไว้อย่างชัดเจน คุณสมควรจะตรวจสอบให้ชัดเจนว่า จุดที่คุณจอดรถสามารถกระทำได้ โดยไม่ ผิดกฎหมาย หรือไม่เป็นจุดต้องห้ามตามกฎหมาย ได้แก่ ตู้ไปรษณีย์, หัวฉีดน้ำดับเพลิง และอื่นๆ ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ห้ามจอดรถ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจอดรถ

1. จอดรถไม่ชิดขอบทาง ปรับ 500 บาท


2. จอดรถในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตร บริเวณทางร่วมทางแยก ปรับ 500 บาท

3. จอดในที่มี เครื่องหมายห้ามจอด ปรับไม่เกิน 500 บาท

4. จอดรถในที่คับขัน ปรับไม่เกิน 500 บาท

5. จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับไม่เกิน 500 บาท

6. จอดรถขวางทางเข้าออกหน้าบ้าน ซึ่งการจอดรถขวางประตูทางเข้าออกบ้านผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นที่ส่วนบุคคล หรือที่สาธารณะถือเป็นการก่อความเดือด ร้อนรำคาญใจให้กับผู้อื่น มีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 397 โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท รวมทั้งสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ ตามมาตรา 420 และถ้าเป็นที่สาธารณะยังมีความโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่ง ยกรถได้ ทั้งนี้มีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ได้ด้วย

7. การนำกรวยและเก้าอี้ไปตั้งขวางพื้นที่ไม่ให้ใครมาสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจ หากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลสามารถทำได้ แต่หากเป็นที่สาธารณะ เช่น ถนน ไม่สามารถทำได้ เพราะจะขัด พ.ร.บ.รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย  มีโทษปรับไม่เกิน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท


เพราะการขับรถในเมืองกรุงมันยาก ขอแนะนำ สินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th
Photo source: pexels.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.