Ads Top

SMK Insurance

กระจกร้าว กระจกแตก หินหล่นใส่ ทำอย่างไรดี !?




กระจกเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของรถยนต์ ทั้งกระจกหน้ารถ กระจกหลัง กระจกด้านข้าง กระจกด้านบน หรือ ซันรูฟ  แต่หากกระจกเกิดมีปัญหาขึ้นมา เช่น ขับรถอยู่ดีๆ เศษหิน หรือ กรวด อาจกระเด็นใส่กระจกหน้ารถเรา ทำให้กระจกหน้ารถรถแตก หรือเกิดรอยร้าวได้ สถานการณ์เฉพาะหน้าแบบฉับพลันนี้ เราจะรับมืออย่างไร จึงได้รวบรวม ข้อมูล สาเหตุ การป้องกัน และการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกระจกรถยนต์ มาแนะนำกันดังนี้


สาเหตุที่กระจกรถยนต์แตกนั้นเกิดจาก ?

1. โดนของแข็งกระแทกอย่างรุนแรง เช่น เศษหินหรือวัตถุต่างๆ 

2.  การแตกโดยไม่ทราบสาเหตุ เรียกสาเหตุนี้ว่า “Stress Crack”  จะเกิดได้กับกระจกรถทุกบาน เพราะเป็นTempered Glass ยกเว้นกระจกบังลมบานหน้าที่เป็น Laminated Glass

กระจกรถยนต์แตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack) คือ การที่กระจกยนต์รถยนต์ของเราแตกโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วเราจะทราบอย่างไรว่าเป็นการแตกร้าวเนื่องจากความเค้น สังเกตง่ายๆ ก็คือ ถ้ากระจกรถยนต์ที่แตกไม่มีร่องรอยของจุดกระทบหรือจุดประทะ นั่นคือการแตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack)



สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด การแตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack) 

- อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน เช่น อากาศร้อนสูงจัด แล้วเราล้างรถด้วยน้ำเย็น หรือบางกรณีเจอกับฝนตกกระทันหัน ก็จะสามารถทำให้กระจกร้าว/แตกได้ 

- แรงดันเปลี่ยนแปลง  เช่น การระเบิดทำให้เกิดคลื่นกระแทก (shockwaves) ซึ่งเปลี่ยนแรงดันในชั้นบรรยากาศในวงกว้างอย่างเฉียบพลัน ทำให้กระจกของรถยนต์ที่จอดอยู่ในระยะห่างหลายกิโลเมตรสามารถแตกหรือร้าวได้

- จุดบกพร่องจากการประกอบ  เช่น  เมื่อกระจกถูกหลอมให้อ่อนตัวแล้วทำให้เย็นลงในระหว่างขั้นตอนการผลิต  “Residual Stresses” หรือ ความเค้นตกค้าง ก็มักจะพบได้ที่ขอบกระจก  จะทำให้ขอบกระจกเป็นจุดที่บอบบางมากที่สุด และสามารถทำให้เกิดการแรงร้านได้ในที่สุด


สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อกระจกแตกร้าว

1. ตั้งสติ ควบคุมรถ และลดความเร็ว เปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อเป็นสัญญาณให้กับรถคันอื่นได้ระวัง และค่อยๆ ขับรถเข้าข้างทางหาที่ปลอดภัยจอด อย่าฝืนขับต่อไปเพราะอาจเกิดอันตรายได้

2. เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินให้ผู้ใช้ถนนคันอื่นมองเห็น 

3. เมื่อจอดรถแล้วให้สังเกตว่ากระจกแตกเฉพาะจุดหรือแตกละเอียดทั้งบาน 



กรณีที่แตกร้าวจนมองไม่เห็น 

หากสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ จำเป็นต้องเอากระจกออก 

1. ให้เอาผ้า หรือผ้ายางรองพื้นรถมารองไว้บริเวณคอนโซล พื้นรถ และบริเวณกระโปรงหน้ารถ เพื่อเก็บเศษกระจกได้ง่าย และป้องกันรถเป็นรอยจากเศษกระจก

2. ใช้ไม้หรือวัสดุแข็งดันกระจกที่ร้าว ดันกระจกจากด้านนอกรถเพื่อป้องกันเศษกระจกโดนตัวเรา โดยให้เอาออกให้หมด

3. ใช้ผ้าชุบน้ำ ซับเศษกระจกที่ตกหล่น ห้ามใช้มือหยิบหรือปัดทำความสะอาดโดยตรงเด็ดขาด 

4. หากต้องไปต่อขับรถอย่างช้าๆ และใส่แว่นตา จะช่วยป้องกันเศษกระจก ดินและหินจากรถคันอื่นเข้าตา และพยายามหาร้านเปลี่ยนกระจกที่ได้มาตรฐาน 

5. ถ้าเป็นกระจกด้านข้างแตก ให้ลดกระจกหน้าต่างลง เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้กระจกแตกลงมาอีก



กรณีกระจกแตก บิ่นหรือเป็นรอยร้าว เล็กน้อย

1. เมื่อเห็นรอยบาดแผลของการแตก บิ่นหรือร้าวของกระจกอย่าทิ้งไว้นาน เพราะร่องรอยอาจลุกลามและขยายวงกว้าง จนสุดท้ายไม่สามารถซ่อมได้  เนื่องจากเมื่อกระจกเกิดการแตกร้าว ยิ่งปล่อยละเลย  อากาศที่ปะทะกับกระจกขณะขับรถจะมีแรงอัดของอากาศแทรกเข้าไปตามร่องที่มีรอยแตกหรือร้าวทำให้รอยแตกจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไป  และเศษฝุ่นอาจะเข้าไปอุดดันรอยที่แตกจนยากที่ช่างจะทำความสะอาดได้ และเมื่อซ่อมเสร็จสีตำแหน่งของรอยตกที่ซ่อมอาจไม่ใสเหมือนเดิม 

2. ไม่ควรเปิดแอร์ความเย็นแรงสุดเป่าใส่กระจกรถในทันที เพราะกระจกที่มีรอยร้าวอยู่เล็กน้อยจะไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วได้ จึงเกิดรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ขึ้นได้ 

3. ให้ช่างผู้ชำนาญซ้อมได้ แต่อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน การซ่อม กระจกรถแตกร้าวช่างจะฉีดน้ำยาเรซิ่นชนิดพิเศษและฉายให้แข็งตัวด้วยแสงยูวี และเมื่อเรซิ่นแห้ง กระจกจะมีลักษณะใสและเป็นเนื้อเดียวกัน น้ำยาเรซิ่นส่วนเกินจะ
ถูดกำจัดและขัดเพื่อให้พื้นผิวกระจกกรถยนต์กลับมาเรียบใสอีกครั้ง



วิธีการป้องกันกระจกแตกร้าวจากของแข็ง

หลีกเลี่ยงการขับตามหลัง หรืออยู่รถใกล้รถบรรทุกวัสดุก่อสร้าง เช่น หิน, กรวด, ทราย, เหล็ก ที่ไม่มีผ้า หรือวัสดุปกคลุม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็หาจังหวะแซงไปไกลๆ หรือเกิดเหตุสุดวิสัย



วิธีป้องกันกระจกรถยนต์แตกร้าวเอง 

1. จอดรถในที่ร่ม หรือ เมื่อจำเป็นต้องจอดตากแดดให้ลดกระจกลงเล็กน้อยเพื่อถ่ายเทความร้อนสะสมภายในรถ 

2. การถ่ายเทความร้อนสะสมที่กระจกเป็นเรื่องสำคัญ  ควรติดฟิล์มที่มีเทคโนโลยีถ่ายเทความร้อน

3. หลีกเลี่ยงการจอดรถในพื้นที่เสี่ยงกับการระเบิด เช่น เหมือง การทำลายตึก การซ้อมรบ หรือฐานปล่อยจรวด แม้แต่การจอดรถใกล้กับรันเวย์หรือสนามฝึกซ้อมเครื่องบินขับไล่ที่มีการระเบิดของคลื่นเสียง 




เพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์ของท่าน จากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว 
โทร 1596 หรือ www.smk.co.th 




ที่มา : Autoinfo Online

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.