Ads Top

SMK Insurance

10 ข้อดีของการ เดินขึ้น-ลงบันได แทน การใช้ลิฟท์



ปัจจุบันมีหลายสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จึงขอแนะนำการออกกำลังแบบง่ายๆในที่ทำงาน โดยการขึ้นบันไดที่สามารถทำได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน การขึ้นบันไดมีข้อดีอย่างไร มีมาบอกกันดังนี้




10 ข้อดี ของการออกกำลังแบบขึ้น-ลงบันได

1. สามารถออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะในที่ทำงาน

2. เพิ่มสมรรถภาพความแข็งแรงและทนทานของระบบหัวใจ หลอดเลือด และปอด เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

3. เพิ่มความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อ 

4. เป็นการออกกำลังกายที่เก็บสะสมได้จนเท่ากับการออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน

5. การขึ้นบันไดสามารถเผาผลาญพลังงานส่วนเกินได้ ถึง 8 – 11 กิโลแคลอรีต่อนาที ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับการออกกำลังกายทั่วไป ส่วนการลงบันไดจะใช้พลังงานประมาณ 1 ใน 3 ของการขึ้นบันได




วิธีการคำนวณแคลอรี่ที่เผาผลาญ 

มีวิธีง่ายๆ ดังนี้
การขึ้นบันได 1 ขั้น ร่างกายจะเผาผลาญพลังงาน = 0.0033 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ตัวอย่าง 
สมมุติเรามีน้ำหนักตัว 60  กิโลกรัม
ถ้าขึ้นบันได 1 ขั้น จะเผาผลาญได้ 0.0033 x 60 = 0.1980 กิโลแคลอรี่

ถ้าขึ้นบันได 20 ขั้น (ขึ้นจากชั้น1ไปชั้น2) 
จะเผาผลาญได้ 0.1980 x 20 = 3.96 กิโลแคลอรี่

ถ้าขึ้นบันไดจากชั้น 1 ไปถึงชั้น 3 มีจำนวนขั้นบันได 40 ขั้น 
จะเผาผลาญได้ 0.1980 x 40 = 7.92 กิโลแคลอรี่

แล้วถ้าในหนึ่งวันขึ้นลงบันได 3 ครั้ง ก็เผาผลาญได้ถึง 23.76 กิโลแคลอรี่


การเทียบเป็นเวลา

ขึ้นบันได 1 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ 10 กิโลแคลอรี่ คูณจำนวนเวลา ก็จะได้จำนวนแคลอรี่ที่เผาผลาญ

แต่ถ้าเราขึ้นลิฟท์ 1 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ 1.5 กิโลแคลอรี่ เท่านั้น แตกต่างกันถึง 10 เท่า

6. มีรายงานว่า การขึ้นบันไดเฉลี่ยวันละ 2 ชั้น สามารถลดน้ำหนักได้ 2.7 กิโลกรัมในเวลา 1 ปี

7. มีหลักฐานยืนยันว่า การขึ้นลงบันไดสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

8. มีหลักฐานยืนยันว่า สามารถลดปริมาณไขมันในร่างกาย และเพิ่มปริมาณ High-density lipoprotein (HDL) ซึ่งเป็นไขมันชนิดดีได้

9. ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องการอุปกรณ์พิเศษใดๆ

10. เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับการใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อน




ทำไมการเดินขึ้นบันไดถึงเหนื่อยกว่าการเดินลง

การที่เรารู้สึกเมื่อยล้าตอนเดินขึ้นบันไดหรือขึ้นที่สูงนั้นก็เพราะแรงโน้มถ่วงของโลก การก้าวขึ้นบันไดเป็นการเดินสวนทางกับแรงโน้มถ่วงของโลก  

เมื่อเดินขึ้นบันไดกล้ามของพวกเราทำงานมากขึ้น เพื่อยกน้ำหนักของเราให้พ้นแรงดึงดูดของโลก หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ปอดก็จะทำงานมากขึ้นเพื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาและรับก๊าซออกซิเจนเข้าไปแทนที่ พวกเราก็เลยหายใจหนักขึ้นแล้วก็อ่อนเพลียขึ้นด้วย ในขณะที่การเดินลงบันไดจะไปในแนวทางตามแรงดึงดูดของโลกกล้ามก็เลยไม่ต้องออกแรงต้าน การเดินลงบันไดจึงใช้พลังงานเพียงแค่ 1 ใน 3 ของการเดินขึ้นบันได

มีการทดลองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังโดยเดินขึ้นบันไดไว้ดังนี้

การทดลองแรก ในประเทศฟินแลนด์

โดยนักวิจัยแกล้งทำให้ลิฟท์ในสถานที่ทำงานในอาคาร 11 ชั้นเสีย ทุกคนจำเป็นต้องขึ้นลงบันไดวันละหลายๆ ครั้ง เมื่อทำการศึกษาไปพบว่า ผู้ที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้นที่สุด เป็นผู้ที่ต้องขึ้นบันไดวันละ 25 ชั้นขึ้นไป ถ้าหากน้อยกว่านี้ก็แข็งแรงลดลงไปตามส่วนงานวิจัยชิ้นนี้นับเฉพาะการเดินขึ้นบันไดขาขึ้น ไม่นับขาลง

การทดลองที่สอง โดย อาจารย์ดอกเตอร์ฟิลิปป์ เมย์ จากมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ 

ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 69 คนโดยคัดเลือกอาสาสมัครประเภทไม่ค่อยออกแรง-ออกกำลัง ได้แก่ ออกกำลังน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เดินขึ้นลงบันไดน้อยกว่า 10 ขั้น หรือ 10 ก้าวต่อวัน

การศึกษาโดยให้กลุ่มทดลองไม่ใช้ลิฟต์เลยเป็นเวลา 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ทำให้อาสาสมัครจะต้องขึ้นหรือลงบันไดเฉลี่ย 5-23 ชั้นต่อวัน เมื่อทำการตรวจร่างกายอาสาสมัครหลังครบ 3 เดือนแล้ว ปรากฏว่า อาสาสมัครเปลี่ยนไปจากเดิมดังต่อไปนี้

-  ความจุปอด (lung capacity) เพิ่มขึ้น
-  ความดันเลือด ลดลง
- ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลรวมลดลง
-  น้ำหนักตัว ลดลง
- ไขมันส่วนลึกในช่องท้อง ลดลง
-  เส้นรอบเอว  ลดลง
-  ความฟิตแบบแอโรบิค (aerobic fitness)  เพิ่มขึ้น
-  การคำนวณโอกาสตายก่อนวัยอันควรลดลง 15%


แล้วสุขภาพของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึง เพียงการขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์ ช่วยทั้งการออกกำลังกายและเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินของร่างกายอีก ด้วย  “SMK Health" แอปพลิเคชันเพื่อคนรักสุขภาพที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จากประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ..ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด.. พร้อมรับเบี้ยคืน หากก้าวเดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด คลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx หรือ โทร 1596
สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.