มีวิธีตรวจเช็กและดูแลยางขอบประตูรถ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ลดกลิ่น และเสียง
สภาพอากาศที่ร้อนของบ้านเรา การจอดรถตากแดดเป็นประจำ หรือ รถที่มีอายุการใช้งานมานาน มีผลทำให้ยางขอบประตูเสื่อมสภาพได้ ซึ่งส่งผลให้เสียงหรือกลิ่นภายนอกเข้าสู่รถได้ โดยเฉพาะฝุ่นขนาดเล็กอาจเล็ดลอดเข้ามาในรถทางนี้ได้ด้วย ทำให้อากาศภายในรถไม่สะอาด ในช่วงหน้าฝนน้ำจากด้านนอกอาจรั่วเข้ามายังภายในรถได้ตรงขอบประตูรถ เราจะมี วิธีตรวจเช็กและดูแลยางขอบประตูรถอย่างไร? มีคำตอบมาแนะนำกันดังนี้
ยางขอบประตู แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ยางกระดูกงู อยู่ติดกับตัวถังรถบริเวณตรงข้ามประตูรถ ที่เรียกว่ายางกระดูกงู มาจากลักษณะของยางที่คล้ายกับกระดูกงู มีโครงที่แข็ง และด้านข้างมีนวมยางลักษณะเป็นวงกลม 1-2 ชั้น ยืดหยุ่นได้
2. ยางขอบประตู ติดที่บริเวณขอบประตู ไม่ใช่ที่ตัวรถ
หน้าที่ยางขอบประตู คือ
เมื่อยางขอบทั้ง 2 ส่วนข้างต้น ติดประกบกันไปกับตัวรถจะมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้น้ำจากด้านนอกรั่วเข้ามายังภายในรถ รวมไปถึงกันเสียงหรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาในห้องโดยสาร
วิธีเช็กขอบยางประตูรถยนต์ ว่าเสื่อมสภาพหรือยัง?
1. ตรวจสอบขอบ ประตูรถยนต์ ทุกๆ 4 เดือน
2. สังเกตเนื้อยางว่าคงรูปเดิมหรือไม่ มือเอามือบีบโดยไม่ควรแข็งหรือนิ่มยวบจนเกินไป
3. เมื่อปิดประตูขอบยางประกบแนบสนิทกับรถหรือไม่
4. ขอบยางปกติต้องไม่แข็งตัวหรือนิ่มจนเกินไป
5. ปราศจากรอยแตกปริ บริเวณขอบยาง
6. สังเกตเวลาปิดประตูจะปิดได้ง่าย เหมือนไม่มียางรองไว้ แสดงว่ายางเสื่อมแล้ว
7. มีกลิ่นและเสียง เข้ามาในห้องโดยสาร อาจเกิดจากยางเสื่อมได้
หากเกิดปัญหาขอบประตูเสื่อมต้องทำอย่างไร ?
ให้ไปติดต่อที่ศูนย์และให้ทางศูนย์เปลี่ยนของแท้สำหรับรถยี่ห้อนั้นให้จะเป็นการดีที่สุด เพราะจะมีความทนทานมากกว่าและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
วิธีการดูแลยางขอบประตูรถยนต์
1. ควรจะหลีกเลี่ยงการจอดรถในแสงแดดจัดเป็นเวลานานหรือบ่อยๆ ถ้าจำเป็นต้องไปจอดก็ให้ลดกระจกลงเล็กน้อยพอให้อากาศถ่ายเท
2. หมั่นดูแลยางขอบประตูด้วยการทำความสะอาดโดยใช้ฟองน้ำเช็ดทุกครั้งและใช้น้ำยาเคลือบเบาะหนังรถกับคอนโซลหน้ารถทุกครั้งที่ล้างรถ
รถยนต์ต้องหมั่นตรวจสอบให้สภาพของอุปกรณ์ต่างๆพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงการเลือกทำประกันภัยรถยนต์ ที่จะช่วยคุ้มครองรถและคุณ ในทุกการเดินทาง มั่นใจ และหมดกังวล เมื่อเกิดเหตุต่างๆ ที่ สินมั่นคงประกันภัย มีประกันภัยรถยนต์ให้เลือกหลากหลาย ราคาไม่แพง สามารถตรวจสอบเบี้ยได้ง่าย
แค่คลิก www.smk.co.th/premotor.aspx หรือ โทร 1596
ไม่มีความคิดเห็น: