Ads Top

SMK Insurance

ไฟไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันได้ ปลอดภัยทั้งครอบครัว

ไฟฟ้าลัดวงจร มักเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของเหตุเพลิงไหม้ในหลากหลายพื้นที่ จากประกายไฟเพียงเล็กน้อยก็อาจลุกลามใหญ่โตไปสู่เหตุเพลิงไหม้ที่เผาวอดวายสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินได้มากมาย (ไฟไหม้บ้าน ขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน? คลิก) การดูแลรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารให้อยู่ในสภาพปกติ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้ มีวิธีการและขั้นอย่างไร สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาบอกค่ะ

ไฟฟ้าลัดวงจร คืออะไร?

ไฟฟ้าลัดวงจร คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่อยู่นอกวงจรไฟฟ้าตามปกติ โดยแต่ละจุดอาจมีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน หรือนำไฟฟ้าในประจุตรงข้ามกัน หรือเป็นสื่อนำไฟฟ้าลงดิน ส่งผลให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจำนวนมาก ขณะที่ไฟดูดหรือไฟฟ้าช็อต คือคำที่ใช้เรียกเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน แต่มักจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่มนุษย์หรือสิ่งอื่นที่ไม่อยู่ในระบบไฟฟ้าไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้าโดยตรง หรือการสัมผัสกับสื่อนำไฟฟ้าอย่างโลหะหรือน้ำที่กำลังมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ก็จะถูกไฟฟ้าช็อตหรือถูกไฟดูด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต


 ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ได้อย่างไร

ปกติแล้วในวงจรไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแล้วในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ฟิวส์ เบรกเกอร์ หรือเครื่องตัดไฟรั่ว ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออก แต่หากอุปกรณ์ป้องกันดังกล่าวไม่ทำงาน ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่เป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดประกายไฟและความร้อน เมื่อความร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยก็จะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเกิดหลอมละลาย กลายเป็นแหล่งเกิดเพลิงไหม้ได้นั่นเอง (เกิดเหตุเพลิงไหม้ต้องทำอย่างไร...ตั้งสติได้ก่อน ปลอดภัยกว่า คลิก) เนื่องจากครบองค์ประกอบการเกิดเพลิงไหม้ทั้ง 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อนหรือประกายไฟ


ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไร? ปลอดภัยไม่ลัดวงจร

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ให้คำแนะนำไว้ในเบื้องต้นว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร หรือสำนักงาน หากมีอายุการใช้งานนานจนเสื่อมสภาพ อาจทำให้ได้รับอันตรายและเกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย จึงต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ก่อนใช้งาน ควรอ่านฉลากคำแนะนำให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
  2. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สายไฟฟ้าไม่มีสีดำคล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าไม่ชำรุด ไม่มีรอยฉีกขาด ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่มีรอยไหม้ ไม่มีรอยกัดแทะของสัตว์ และไม่มีรอยสิ่งของหนักกดทับ
  3. เลือกใช้ขนาดของสายไฟให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้าและการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดหรือมีจุดเชื่อมต่อบริเวณปลั๊กไฟไม่แน่น อาจทำให้อุณหภูมิของปลั๊กและสายไฟอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ จนเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้
  4. หมั่นตรวจสอบสายไฟนอกอาคารหรือผนังใต้ฝ้าเพดานเป็นพิเศษ โดยเฉพาะจุดต่อและข้อต่อสายไฟ หากมีมดและแมลงอาศัยอยู่หรือมีรอยน้ำรั่วซึม ให้แจ้งช่างผู้ชำนาญการมาซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที
  5. ปรับแก้หรือย้ายสายไฟที่อยู่ในจุดเสี่ยงอันตราย เช่น ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี สารไวไฟ แสงแดดส่องถึง ฝนสาดหรือวางของหนักกดทับสายไฟ เพราะอาจทำให้ฉนวนไฟฟ้าชำรุดเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้



เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ต้องทำอย่างไร?

สิ่งที่ควรทำเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร คือ ควรรีบตัดกระแสไฟฟ้าจากจุดที่เกิดการลัดวงจรทันที หรือหากเกิดประกายไฟ ไม่ควรใช้นำสาดเข้าไปดับไฟโดยทันที เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าดูด และหากมีคนที่ถูกไฟดูดไม่ควรสัมผัสกับผู้ถูกไฟดูดโดยตรง ควรตัดกระแสไฟบริเวณดังกล่าวก่อน หรือถ้าหากตัดไฟไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ดึงรั้ง และผลักผู้ถูกไฟดูดออกมา

ประกันอัคคีภัยจากสินมั่นคงประกันภัย ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ทั้งสังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งทรัพย์สินที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ที่เกิดความสูญเสียหรือเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance

สินมั่นคงประกันภัย ..เราประกัน คุณมั่นใจ..

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.