Ads Top

SMK Insurance

ค่าตรวจสุขภาพโรงพยาบาลรัฐบาล ราคาเท่าไร? แพงไหม?

“ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลรัฐฯ” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มงานใหม่และจำเป็นจะต้องตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน หรืออาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายแต่อยากประหยัดค่าใช้จ่าย แล้วค่าตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลของรัฐมีราคาเท่าไร? แต่ละแห่งมีให้บริการอะไรบ้าง? สินมั่นคงประกันสุขภาพมีข้อมูลมาฝากค่ะ

ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลรัฐ ที่ไหนบ้าง?

  • โปรแกรมมาตรฐาน 1,370 บาท
  • โปรแกรม Premium ชาย 1,900 บาท
  • โปรแกรม Premium หญิง 2,480 บาท
  • โปรแกรม Economic ตรวจ 12 รายการ 1,000 บาท
  • โปรแกรมตรวจสำหรับผู้มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ตรวจ 19 รายการ 1,770 บาท
  • โปรแกรมตรวจสำหรับผู้มีอายุ 30-40 ปี ตรวจ 25 รายการ 2,420 บาท
  • โปรแกรมตรวจสำหรับผู้มีอายุ 40 ปี ตรวจ 28 รายการ 2,773 บาท
  • โปรแกรม Premium ตรวจ 35-36 รายการ 7,093 บาท
  • โปรแกรมที่ 1 ตรวจสุขภาพทั่วไป 4 รายการ สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี 410 บาท
  • โปรแกรมที่ 2 สำหรับผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจ 10 รายการ 1,180 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน 11 รายการ 1,490 บาท
  • สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี 975 บาท
  • สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 35-50 ปี 1,460 – 2,050 บาท
  • สำหรับผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป 2,130 – 2,300 บาท
  • สำหรับผู้ที่อายุระหว่าง 15-35 ปี 730 บาท
  • สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 35-45 ปี 1,560 บาท
  • สำหรับผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป 1,860 บาท
  • โปรแกรม 1 (สำหรับผู้ที่มีอายุ 15-30 ปี) 2,490 บาท
  • โปรแกรม 2 (สำหรับผู้ที่มีอายุ 31-40 ปี) 2,640 – 3,810 บาท
  • โปรแกรม 3 (สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป) 6,640 – 11,990 บาท

ตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง?



1. ตรวจสุขภาพกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี 
  • ตรวจสุขภาพช่องปาก ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันจากทันตแพทย์หรือทันตภิบาลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจการได้ยิน ควรได้รับการตรวจการได้ยินด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ถูกันเบา ๆ ห่างจากรูหูประมาณ 1 นิ้ว ปีละ 1 ครั้ง
  • ประเมินสภาวะสุขภาพ ทั้งความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะซึมเศร้า การติดนิโคตินในผู้สูบบุหรี่ (ตรวจเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่) การดื่มแอลกอฮอล์ (ตรวจเฉพาะผู้ที่ดื่ม) การใช้ยาและสารเสพติด (ตรวจเฉพาะผู้ที่ใช้สารเสพติด)
  • การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) : ช่วยตรวจหาวัณโรค โรคปอดเรื้อรังบางชนิด หรือรอยโรคผิดปกติอื่น ๆ ในปอด (เฉพาะคนที่มีความเสี่ยง เช่น คนที่ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรือมีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นวัณโรค และมะเร็งปอด)
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) : ช่วยในการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง รวมทั้งอาจตรวจพบความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด : ควรตรวจระดับไขมันในเลือดทุก 5 ปี เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด : อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 ปี เพื่อช่วยตรวจกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ( หากมีเครื่องตรวจเบาหวานเป็นของตนเอง ควรตรวจเป็นประจำทุกเดือน 
  • ตรวจปัสสาวะ : เพื่อช่วยตรวจคัดกรองโรคไตบางชนิด
  • ตรวจอุจจาระ : บุคคลตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจอุจจาระ เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจวัดระดับกรดยูริก : เพื่อช่วยประเมินระดับกรดยูริกซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเกาต์หรือนิ่วกรดยูริก (ตรวจเฉพาะคนที่มีอาการปวดข้อ มีอาการข้ออักเสบ หรือข้อพิการ ซี่งสุ่มเสี่ยงเป็นโรคเกาต์เท่านั้น)
  • การตรวจการทำงานไต : เพื่อเช็กสมรรถภาพการทำงานของไต
  • การตรวจการทำงานตับ : เพื่อเช็กการทำงานของตับ
  • ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) : เฉพาะคนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 ควรได้รับการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) โดยตรวจเพียงครั้งเดียว
2. ตรวจสุขภาพเพิ่มเติมสำหรับเพศหญิง
  • ตรวจเต้านม : ผู้หญิงในช่วงอายุ 30-39 ปี ควรได้รับการตรวจเต้านมทุก ๆ 3 ปี จากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข ที่ได้รับการฝึกอบรม และอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปี
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วย Pap’s smear ทุก 3 ปี หรือวิธีป้ายหาความผิดปกติโดยใช้กรดอะซิติก (VIA) ทุก 5 ปี ทว่าหากมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยวิธี Pap’s smear แม้ว่าจะเคยหรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็ตาม
3. ตรวจสุขภาพ ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • การตรวจตา : บุคคลอายุ 60-64 ปี ควรได้รับการตรวจตาโดยทีมจักษุแพทย์ทุก 2-4 ปี แต่สำหรับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจตาโดยทีมจักษุแพทย์ทุก 1-2 ปี
  • ตรวจอุจจาระ : ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจอุจจาระ เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ปีละ 1 ครั้ง
  • การประเมินภาวะสุขภาพ : โดยจะประเมินจากภาวะโภชนาการ ความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน การทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน และหากอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับการประเมินสมรรถภาพการทำงานของสมองเพิ่มเติม
  • ตรวจระดับไขมันในเลือดทุก 5 ปี
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกปี
  • ตรวจระดับครีอะทินีน (Creatinine) ในเลือดทุกปี เพื่อประเมินภาวะการทำงานของไต
  • ตรวจปัสสาวะทุกปี
  • หากอายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ทุกปี
4. ตรวจสุขภาพเพิ่มเติมสำหรับเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ตรวจเต้านม : ผู้หญิงวัย 60-69 ปี ควรได้รับการตรวจเต้านมทุกปีโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรม และสำหรับผู้สูงวัยเพศหญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป ควรตรวจตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการตรวจสุขภาพ
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : เพศหญิงอายุ 60-64 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Pap smear ทุก ๆ 3 ปี ส่วนหญิงสูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการตรวจสุขภาพ
 

การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นจะช่วยให้รู้สภาวะปัจจุบันของร่างกาย เพื่อหาทางป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพให้มีร่างกายที่แข็งแรง บรรเทาอาการเจ็บป่วยหรือรักษาได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้คุณจากโรคร้าย ประกันภัยโรคมะเร็งจากสินมั่นคงประกันภัย จ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ให้ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก ไม่จำกัดวิธีการรักษา สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.