ฝึกทำข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ 2565 ออนไลน์ พร้อมเฉลย
จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ส่งผลให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีมาตรการ Social Distancing รักษาระยะห่างและจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ รวมถึงการเปิดให้บริการด้านใบขับขี่ของกรมขนส่งทางบกทั้งการจองคิวใบขับขี่รถยนต์ทั้งแบบ 2 ปี และ 5 ปี (อบรมสอบใบขับขี่ออนไลน์ 2564 (5 ปี เป็น 5 ปี) จองคิวยังไง? ) และการอบรมสอบใบขับขี่ (อบรมต่ออายุใบขับขี่ทางออนไลน์ รู้ผลทันที) ที่ต้องปรับเปลี่ยนการให้บริการไปอยู่ในระบบออนไลน์ ปัจจุบันนี้จึงมีผู้ให้บริการแนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการสอบขอใบอนุญาตขับขี่ได้ฝึกซ้อมก่อนวันสอบจริงในรูปแบบ PDF แต่ก็มีหลายเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการฝึกทำข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ฟรี ผ่านเว็บไซต์ พร้อมแนวข้อสอบเบื้องต้น มีที่ไหนกันบ้าง สินมั่นคงประกันรถยนต์มีข้อมูลมาบอกค่ะ
1. ข้อสอบใบขับขี่.blogspot.com
เว็บไซต์ที่รวบรวมแนวข้อสอบใบขับขี่ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เตรียมตัวสอบใบขับขี่ อาทิเช่น ใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ แนวทางการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และความรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกฎหมายจราจรที่สำคัญ และใบขับขี่ชนิดอื่นๆ เช่น ใบขับขี่รถบรรทุก และรถลากจูง เป็นต้น พร้อมด้วยแบบทดสอบออนไลน์ปีย้อนหลัง ให้ฝึกทำพร้อมเฉลย
2. TDl
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับแบบทดสอบใบขับขี่ เป็นสื่อหรือตัวอย่างแนวข้อสอบให้ทบทวนก่อนไปลงสนามจริง สามารถเลือกทำแบบทดสอบของแต่ละหมวดหรือจะทำแบบทดสอบแบบร่วมทุกหมวดได้ หลังทำข้อสอบเสร็จมีการประเมินผลว่าสอบผ่านหรือไม่ คิดเป็น % ของข้อสอบ ซึ่งตามที่กรมขนส่งทางบกกำหนดไว้คือ 90% ของข้อสอบ พร้อมรูปภาพเครื่องหมายจราจรให้ศึกษา และเลือกอ่านข้อสอบในรูปแบบไฟล์ Pdf
3. https://thaidriveexam.com/
โปรแกรมฝึกทำแบบทดสอบใบขับขี่ออนไลน์ ทั้งแบบรถจักรยานยนต์ และแบบรถยนต์ พร้อมเฉลย รวมถึงแบ่งข้อสอบออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ให้ฝึกทำ หรืออาจเลือกข้อสอบแบบสุ่มได้
แนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ อัพเดต 2565
แนวทางของข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ประกอบด้วย
- เอกสารประจำตัวของผู้ขับรถยนต์ที่ต้องใช้ควบคู่กับใบขับขี่ คือ สำเนาทะเบียนภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า สำเนาทะเบียนรถ) รถยนต์ที่นำมาใช้บนท้องถนนควรมีสำเนาทะเบียนรถติดไว้ เพื่อป้องกันการโจรกรรม และการติดตามตัวเจ้าของรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- ความผิดเมื่อกระทำผิดตามกฎหมายจราจรทางบก เมื่อได้รับใบสั่งจากเจ้าพนักงาน ต้องชำระค่าปรับภายใน 7 วัน
- เมื่อใบขับขี่หมดอายุ จะต้องยื่นคำร้องขอทำใหม่ใน 15 วัน
- หากผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถ จะมีความผิดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ขับรถใช้ใบอนุญาตขับรถที่สิ้นอายุ มีความผิดปรับไม่เกินสองพันบาท
- ผู้ขับรถที่ต้องการจะเลี้ยวรถ ต้องชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อให้ผู้ที่ร่วมใช้ถนนได้สังเกตเห็น
- การหยุดรถบริเวณทางแยก จะต้องหยุดหลังเส้นแนวหยุด
- บริเวณทางโค้งรัศมีแคบห้ามแซง
- การจอดรถ จะต้องจอดไม่เกินขอบทาง 25 เซนติเมตร
- รถที่นำมาใช้บนทางถนนได้จะต้องเป็นรถที่จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว มีสภาพมั่นคงแข็งแรง ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด มีระดับเสียงเครื่องยนต์ระดับ 80 เดซิเบล
- รถจักรยานยนต์ที่มีอายุครบ 5 ปี จะต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
- รถที่จดทะเบียนแล้วหากต้องการจะเปลี่ยนสีรถ ต้องแจ้งนายทะเบียนใน 7 วัน
- หากประสงค์จะย้ายรถ เจ้าของรถยนต์จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
- การตรวจสอบรถดับน้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์ จะต้องตรวจสอบหลังดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 10 นาที
- รถที่ไม่ได้เสียภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระเพิ่มร้อยละ 1 บาท ต่อเดือน
- เมื่อถึงทางรถไฟ และมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่จะต้องหยุดให้ห่างจากรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร
- บริเวณที่มีป้ายห้ามหยุดรถ จอดรถไม่ได้
- ผู้ขับขี่ควรขับรถในอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด
- บริเวณ โรงเรียน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ห้ามใช้เสียงแตร
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่หลบหนีให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิด
- เสียงแตรใช้ได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
- เมื่อผู้ขับขี่ต้องการกลับรถ ต้องกลับรถในช่องทางที่มีป้ายจราจรอนุญาตให้กลับรถ และกลับรถเข้าช่องทางที่ถูกต้อง
- รถจักรยานยนต์ต้องขับในช่องเดินรถทางซ้ายสุด
- ในช่องทางเดินรถที่มีช่องทางตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับรถจักรยานยนต์จะต้องขับในช่องทางซ้ายสุด
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชนิด 5 ปี ต่ออายุล่วงหน้า 3 เดือน
- เมื่อกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และได้รับคำสั่งผู้ตรวจการรถยนต์ให้ไปรายงานตัว ผู้ขับขี่จะต้องไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน
- ผู้ขับขี่จะต้องขับรถห่างจากคันหน้าในระยะที่สามารถหยุดรถได้ปลอดภัยเมื่อมีความจำเป็น
- ผู้ขับขี่ที่ต้องการจะเลี้ยวซ้าย จะต้องขับรถในช่องทางซ้ายก่อนถึงทางเลี้ยว 30 เมตร
- ผู้ขับขี่จะต้องเปิดไฟหน้า หรือไฟท้าย ให้รถคันอื่นเห็นในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
- ห้ามมิให้ผู้ขับขี่แซงรถคันอื่นในขณะที่มีหมอก ฝุ่น ฝน หรือควัน ในระยะ 60 เมตร
- คนเดินเท้า ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ให้สัญญาณจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2532
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จะต้องมีระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
- โทษการดื่มแอลกอฮอล์เมื่อพบปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เมื่อต้องการจะเปลี่ยนช่องทางทุกครั้ง ต้องให้สัญญาณไฟหรือสัญญาณแตร
- ในการถอดขั้วแบตเตอรี่ควรถอดขั้วลบก่อน
- น้ำบาดาลไม่ควรนำมาเติมในถังพักหม้อน้ำ
- การขับรถผ่านบริเวณน้ำท่วม ห้ามใช้เบรกอย่างเด็ดขาด
- ผู้ขับขี่รถ เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด
- ภายหลังรถออกตัวระยะ 3 - 4 เมตร ควรทดสอบระบบเบรกก่อน
- ก่อนออกจากรถไหล่ทางด้านซ้าย ผู้ขับขี่รถต้องมองกระจกด้านขวา เปิดไฟเลี้ยวขวา พร้อมกับหันศีรษะมองข้ามไหล่ขวาไปทางด้านหลังก่อนออกรถ
- หากเกิดฝนตกจนมองเห็นทางไม่ชัด ผู้ขับขี่ควรจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย แล้วเปิดไฟหน้ารถ และไฟฉุกเฉิน
- ผู้ขับขี่ต้องการเลี้ยวขวาและมีรถทางขวาสวนมา จะต้องหยุดรอให้รถทางตรงสวนมาก่อนจึงเลี้ยวได้
- หากมีรถเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวาพร้อมกันในเส้นทางเดียวกัน ผู้ที่จะเลี้ยวซ้ายต้องหยุดให้ทางแก่รถที่เลี้ยวมาจากทางขวาก่อน
- การเข้าเกียร์ถอยหลังขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง จะทำให้เข้าเกียร์ยาก และเกียร์เสียเร็วกว่าปกติ
- ลมยางควรตรวจสอบเมื่อยางรถยังเย็นอยู่ ไม่ควรตรวจขณะรถบรรทุกของหนักและใช้งานเพิ่งเสร็จ
- สัญญาณไฟฉุกเฉิน ควรใช้เมื่อรถเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ
- เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนขวาท่อนล่าง ตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านหน้าของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ
- การให้สัญญาณด้วยแขน โดยผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกตัวรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง ผู้ขับขี่นั้นต้องการลดความเร็วของรถ
- ลมยางหน้าอ่อน จะส่งผลต่อการสึกหรอ พวงมาลัยหนัก และรถกินน้ำมัน
- ทบทวนความรู้เรื่องเครื่องหมายจราจรต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น: