Ads Top

SMK Insurance

ถังดับเพลิงมีสีอะไรบ้าง ถังดับเพลิงใช้อย่างไร

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องโทรเรียกเจ้าหน้าที่ให้มาระงับเหตุและหาทางดับไฟอย่างรวดเร็ว การมีถังดับเพลิงติดไว้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีติดไว้ตามบ้านหรืออาคารสำนักงาน เพื่อการช่วยดับไฟในเบื้องต้นก่อนเจ้าหน้าที่จะมาถึง (เลือกถังดับเพลิงอย่างไร? พร้อมวิธีใช้และตรวจสอบคุณภาพถัง https://www.smk.co.th/newsdetail/3006) แล้วถังดับเพลิงจริงๆ แล้วมีทั้งหมดกี่สี กี่ประเภท และมีวิธีตรวจสอบถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งานได้อย่างไร สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ

ถังดับเพลิงมีกี่สี อะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว จะพบเห็นว่า ถังดับเพลิงมีหลายสี ซึ่งสีของถังดับเพลิงส่วนใหญ่จะเป็นสัญลักษณ์บอกว่าเป็นถังดับเพลิงประเภทใด ซึ่งอุปกรณ์ดับเพลิงในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สี ได้แก่ ถังดับเพลิงสีแดง สีเขียว สีฟ้า สีเงิน และสีเหลือง โดยแต่ละสีมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

1. ถังดับเพลิงสีแดง

ถังดับเพลิงสีแดงเป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยม และสามารถพบได้ทั่วไปตามอาคาร บ้านพัก และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถังดับเพลิงสีแดง คือ ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) และ ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งถังดับเพลิงทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติในการดับเพลิงและสถานที่ใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้

  • ถังดับเพลิงชนิดผงเคมี : เหมาะสำหรับติดตั้งทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกอาคาร 
  • ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ : เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงงาน และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

2. ถังดับเพลิงสีเขียว

ถังดับเพลิงสีเขียว คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคาร ห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเมื่อฉีดออกมาสารเคมีจะระเหยไปในอากาศจะไม่ทิ้งคราบตกค้าง ช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาด และที่สำคัญถังดับเพลิงสีเขียวไม่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน 

3. ถังดับเพลิงสีน้ำเงินหรือสีฟ้า

ถังดับเพลิงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน คือ ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงชนิดละอองน้ำแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับติดตั้งภายในบ้านพัก อาคารสำนักงาน ทั้งนี้นอกจากถังดับเพลิงสูตรน้ำแล้ว บางยี่ห้อถังดับเพลิงสีฟ้าอาจจะคือถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยที่มีส่วนประกอบของ HCFC-123 ด้วย 

4. ถังดับเพลิงสีเงิน

ถังดับเพลิงสีเงิน คือ ถังดับเพลิงชนิดโฟม โดยตัวถังจะเป็นสแตนเลส เนื่องจากภายในถังบรรจุน้ำที่เป็นส่วนประกอบหลัก AR-AFFF เหมาะสำหรับติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน  ข้อควรระวังของถังดับเพลิงชนิดโฟม คือ ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เพราะโฟมเป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า 

5. ถังดับเพลิงสีขาว

ถังดับเพลิงสีขาว คือ ถังดับเพลิงที่บรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate เหมาะสำหรับติดตั้งในร้านอาหาร โรงอาหาร ห้องครัว เป็นต้น 

6. ถังดับเพลิงสีเหลือง

ถังดับเพลิงสีเหลือง คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ที่มีส่วนผสมของสารฮาโลตรอน (Halotron) ที่มีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง แต่มีข้อเสียเนื่องจากสารฮาโลตรอนเป็นสาร CFC ที่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้ในปัจจุบันถูกระงับการจำหน่าย และเปลี่ยนมาใช้ถังดับเพลิงสีเขียวแทน

ประสิทธิภาพของถังดับเพลิง

หากกำลังตัดสินใจที่จะซื้อถังดับเพลิง และไม่ทราบว่าถังดับเพลิงมีกี่ชนิด (10 อันดับ ถังดับเพลิง ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 รวมแบบ CO2 ผงเคมีแห้ง https://my-best.in.th/51263) อาจใช้วิธีสังเกตสัญลักษณ์ที่ติดอยู่ข้างถัง ไม่ว่าจะเป็น 2A-2B, 4A-10B, หรือ 10A-40B ซึ่งจริงๆ แล้วตัวเลข 1 2 3 หรือ A และ B คือการบอกประสิทธิภาพในการดับเพลิงของถังดับเพลิง หรือ Fire Rating ซึ่งถูกกำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ที่ได้กำหนดให้ Fire Rating เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อควบคุมคุณภาพของถังดับเพลิงและความปลอดภัยของผู้บริโภค โดย มอก. 332-2537 ได้กำหนดสมรรถนะของถังดับเพลิงไว้เพื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่างของประสิทธิภาพในการดับเพลิง เพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม โดยโดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. A คือ ประสิทธิภาพในการดับเพลิงไหม้ประเภท A เช่นไม้ กระดาษ ผ้า พลาสติก เป็นต้น Fire Rating ไฟประเภท A ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งสามารถดับไฟกองไม้ได้ใหญ่มากขึ้น
  2. B คือ ประสิทธิภาพในการดับเพลิงไหม้ประเภท B ที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมัน ก๊าซติดไฟ เป็นต้น
  3. ตัวเลข 1 2 3 4 หมายถึง ประสิทธิภาพในการดับเพลิงจะมากขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียวกัน 


ประกันอัคคีภัย ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินคุณจากเหตุเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับสำหรับทำแสงสว่าง หรือใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย ความเสียหายอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จากน้ำ หรือจากสารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิง รวมทั้งความเสียหายที่เกิดจากควัน เขม่า เกรียม อันเนื่องมาจากอัคคีภัย สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันอัคคีภัย หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.