เลือกตั้ง 66 ห้ามทำอะไรบ้าง? ติดโควิดเลือกตั้งได้หรือไม่?
โค้งสุดท้ายเลือกตั้งปี 66 กำลังเดินทางมาถึงแล้วในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ หลายคนเริ่มออกเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมตั้งแต่วันนี้ เพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งครั้งใหญ่ของประเทศ แต่การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีข้อห้ามอย่างไรบ้างที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด รวมไปถึงหากติดเชื้อโควิดจะสามารถไปเลือกตั้งได้หรือไม่ สินมั่นคงประกันเดินทางมีข้อมูลมาฝากค่ะ
ข้อห้ามสำคัญวันเลือกตั้ง
เว็บไซต์ iLaw (https://ilaw.or.th) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังทั้งก่อนการเลือกตั้งและระหว่างการเลือกตั้งไว้ดังนี้
- ห้ามโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัคร ส.ส. หรือพรรคการเมือง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 (วันก่อนเลือกตั้งหนึ่งวัน) จนจบวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 กฎหมายเลือกตั้งกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ใด โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองก็ตาม เช่นใส่เสื้อ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ฯลฯ ที่มีสัญลักษณ์โลโก้พรรคการเมือง หรือมีสีและหมายเลขพรรคการเมืองโพสต์ข้อความ อัปโหลดภาพหรือคลิปที่มีเนื้อหาหาเสียงให้พรรคการเมือง ลงบนโซเชียลมีเดีย แจกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหาเสียง บริเวณใกล้หน่วยเลือกตั้ง หรือที่อื่นๆ
- ห้ามจำหน่าย-แจกสุราในเขตเลือกตั้ง ในระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เวลา 18.00 น. ไปจนถึง 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 18.00 น.
- ห้ามพนันขันต่อผลการเลือกตั้ง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้เล่นมีกำหนด 10 ปี และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้จัดให้มีการเล่น
- ห้ามเปิดเผยโพลสำรวจความเห็นช่วง 7 วันก่อนเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการออกเสียงลงคะแนน (7 พฤษภาคม 2566 ถึง 14 พฤษภาคม 2566) หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ห้ามซื้อสิทธิ-ขายเสียง โดยการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีดังนี้
·
จัดทำ ให้ เสนอให้
สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน
หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
·
ให้ เสนอให้
หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา
สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
·
ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง
ๆ ยกเว้นการใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน
หาเสียงให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดงมหรสพ
·
เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
·
หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ
ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
7. ห้ามผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง เอาบัตรประชาชนของคนอื่น/ปลอมแปลง ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งกฎหมายเลือกตั้ง ห้ามไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง พยายามจะใช้สิทธิเลือกตั้งโดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่เป็นของคนอื่น หรือที่ปลอมแปลงขึ้นมา ต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (มาตรา 94) ได้แก่
·
ผู้ที่อายุยังไม่ถึง 18
ปี ในวันเลือกตั้ง
·
เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต
หรือนักบวช
·
อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
·
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
·
วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
9. ห้ามนำบัตรเลือกตั้ง ออกไปจากหน่วยเลือกตั้ง
10. ห้ามทำเครื่องหมายเป็นจุดสังเกตในบัตรเลือกตั้ง
11. ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว
12. ห้ามโชว์บัตรเลือกตั้งที่กาแล้วให้คนอื่นเพื่อให้ทราบว่าเลือกใคร
13. ห้ามขัดขวาง-หน่วยเหนี่ยว ไม่ให้คนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
14. ห้ามนายจ้าง ขัดขวางไม่ให้ลูกจ้างไปเลือกตั้ง
ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใช้สิทธิเลือกตั้งได้หรือไม่
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19
และผู้มีความเสี่ยงสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้เช่นกัน โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- เตรียมอุปกรณ์ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เจลแอลกอฮอล์ ปากกา
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ แนะนำให้เดินเท้าหรือใช้รถยนต์ส่วนตัว
- เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร
- เข้าคูหาที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เท่านั้น
- ทำการหย่อนบัตรด้วยตนเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่
- เมื่อเสร็จจากการเลือกตั้งกลับที่พักทันที
เจ็บป่วยและไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ต้องทำอย่างไร?
กกต.เปิดช่องทางอุทธรณ์สิทธิ
แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผ่าน 2 ขั้นตอน ดังนี้
- ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน ขอรับแบบ ส.ส.28 หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ และให้ระบุเลขประจําตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
- ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยสามารถยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่น หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งทางอินเทอร์เน็ต
ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลระยะสั้นให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางของผู้เอาประกันภัยซึ่งอยู่ระหว่างการท่องเที่ยว คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันภัยที่เดินทางรายเดี่ยวหรือเป็นหมู่คณะทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีกำหนดการเดินทางที่แน่นอนโดยให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลาเดินทางตามที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งไว้ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น: