Ads Top

SMK Insurance

ชาร์จแบตมือถือในรถยนต์ อันตรายแค่ไหน?

เมื่อโทรศัพท์มือถือ หรือ สมาร์ตโฟน ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์สำคัญของผู้คนยุค 5G ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในทุกกิจกรรมประจำวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นเช้ายันเข้านอน ทำให้แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โทรศัพท์สามารถใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา นอกเหนือไปจากการพกพาเครื่องสำรองไฟติดตัวไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ที่ชาร์จแบตในรถยนต์ยังเป็นอีกหนึ่งทางออกสำคัญที่จะช่วยชาร์จแบตเตอรี่ให้กับโทรศัพท์ได้เป็นอย่างดี (https://www.smk.co.th/newsdetail/2851 ที่ชาร์จแบตในรถยนต์มี่กี่แบบ? เลือกที่ชาร์จแบตในรถยนต์อย่างไร?) แต่การชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ในรถยนต์จะก่อให้เกิดอันตรายหรือสร้างความเสียหายให้กับรถยนต์ได้หรือไม่ สินมั่นคงประกันรถยนต์มีข้อมูลมาฝากค่ะ

ข้อเสียของการชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือในรถยนต์

1. ผลเสียสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์

ปกติแล้วระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์จะอยู่ที่ประมาณ 2 ปี แต่การชาร์จแบตมือถือในรถยนต์ จะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลงเหลือประมาณ 15-18 เดือน และเมื่อแบตเสื่อมก็จะทำให้สตาร์ตรถติดยากขึ้น โดยเฉพาะหากมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือระหว่างที่กำลังชาร์จอยู่ โทรศัพท์มือถือก็จะดึงกระแสไฟฟ้าจากรถยนต์มาใช้เป็นจำนวนมาก ทำให้แบตเสื่อมเร็วขึ้น

2. ผลเสียสำหรับโทรศัพท์มือถือ

ส่วนมากแล้ว USB ในรถยนต์ถูกออกแบบมาให้จ่ายกระแสไฟได้น้อยอยู่ที่ราวๆ 0.5A เพื่อไว้ใช้สำหรับฟังและดาวน์โหลดเพลงมากกว่าจะไว้ใช้สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่โดยตรง จึงทำให้ชาร์จได้ช้ากว่าการเสียบที่จุดบุหรี่มาตรฐาน เพราะกระแสไฟฟ้าที่ถูกปล่อยผ่านที่จุดบุหรี่นั้นสามารถจ่ายไฟได้ถึง 1A หรือ 2.1A ซึ่งมีปริมาณมากพอจะไปเลี้ยงแบตเตอรี่มือถือได้ อย่างไรก็ตาม ระบบไฟฟ้าที่ถูกจ่ายผ่านแบตเตอรี่รถยนต์นั้นค่อนข้างจะผันผวนไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดการกระชากเมื่อระบบแอร์ทำงาน หรือหยุดชะงักได้ 

การชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือในรถยนต์ อันตรายหรือไม่?

ตามปกติแล้วระบบไฟฟ้าในรถยนต์จะต้องผ่านฟิวส์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจรขึ้น หากชาร์จแบตจนเต็มแล้วยังไม่เอาออก หรืออุปกรณ์ชาร์จไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ฟิวส์ขาด หรือหนักกว่านั้นคือ ที่ชาร์จแบตมือถือ เกิดการหลอมละลายทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ลามไปจนถึงเกิดไฟไหม้รถได้ 

วิธีชาร์จโทรศัพท์มือถือในรถยนต์ให้ปลอดภัย

การชาร์จโทรศัพท์มือถือในรถยนต์สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ด้วยวิธีการดังนี้

1. สตาร์ตรถก่อนเสียบที่ชาร์จ

ในการสตาร์ตรถจะมีกำลังไฟฟ้าเข้ามาในรถเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับกระแสไฟฟ้าที่มีพลังงงานสูงเสียหายได้ ดังนั้น ควรเสียบที่ชาร์จมือถือเข้ากับรถหลังจากสตาร์ตรถเรียบร้อยแล้ว 

2. เสียบที่ชาร์จเข้ากับที่จุดบุหรี่

หลังจากที่สตาร์ตรถ ถือว่าปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการเสียบอุปกรณ์ชาร์จไฟหลังจากรถสตาร์ตรถเรียบร้อย จะช่วยถนอมรักษาอุปกรณ์ให้ใช้ได้นานและรับไฟได้กำลังที่ถูกต้องอยู่เสมอ

3. นำสายเสียบกับมือถือ

การเสียบมือถือก่อนแล้วค่อยเสียบปลั๊กเข้าทั้งไฟบ้านและรถนั้นทำให้ไฟฟ้ากระชากและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ดังนั้นควรเสียบปลั๊กจากตัวรับไฟให้เรียบร้อยแล้วค่อยเสียบที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ

4. ไม่ควรเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถหลาย ๆ อย่างขณะชาร์จ

แม้ว่าที่ชาร์จจะเป็นของแท้และมีการันตีเรื่องป้องกันการช็อต ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าความดันไฟจะเสถียรตลอดเวลาที่ชาร์จ เพราะส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ก็ต้องการไฟฟ้าเช่นกัน เมื่อมีการจ่ายไฟออกไปในส่วนต่าง ๆ หลาย ๆ จุด โอกาสที่แรงดันไฟฟ้าจะไม่สม่ำเสมอก็มีสูง ซึ่งทำให้ตัวเครื่องกับแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่สั้นลงได้

5. ดึงที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือออกจากที่เสียบก่อนดับเครื่อง

เมื่อต้องการจะดับเครื่องยนต์ ควรดึงที่ชาร์จออกทุกครั้ง ก่อนที่จะดับเครื่อง เพราะเหตุผลเดียวกันกับสตาร์ตรถ นั่นคือกระแสไฟฟ้าอาจจะหายไปทันที และอาจจะทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายได้หากใช้งานระยะเวลาที่ยาวนาน

6. ควรเลือกที่ชาร์จที่ได้มาตรฐาน

การเลือกที่ชาร์จแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐานสามารถดูได้จากอุปกรณ์ที่มียี่ห้อน่าเชื่อถือ หรือมีคุณสมบัติการรับไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม ต้องมีรายละเอียดข้อมูลครบถ้วนและชัดเจน เช่น รองรับการจ่ายไฟกี่ Amp โดยสังเกตจากหน้ากล่องจะมีเครื่องหมายบอก เช่น 1A จะสามารถชาร์จไฟกับมือถือรุ่นปกติได้ แต่จะใช้เวลานาน 2.1A ชาร์จไฟกับมือถือรุ่นใหม่ ๆ หรือ Tablet ส่วนใหญ่ได้ เพราะถ้าเลือกมากไปนั้นผลเสียคือ เครื่องชาร์จจะมีความร้อนสูงและเป็นอันตราย ยกเว้นบางรุ่นที่มีระบบควบคุมการจ่ายไฟจะทำให้เกิดความปลอดภัยได้ แต่หากอุปกรณ์ที่รองรับการชาร์จได้มากกว่า 1 ช่องเสียบจะต้องรองรับไฟมากกว่า 2A ขึ้นไป ทั้งนี้ไม่ต้องห่วงว่าแบตเตอรี่รถจะหมดเร็วเมื่อชาร์จกับอุปกรณ์เหล่านี้ เพราะไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปส่วนมากจะรองรับแค่ 5V โดยรถยนต์จะจ่ายไฟได้สูงสุด 120V (โวลล์) เท่านั้นและที่สำคัญที่สุดคือ สายชาร์จมือถือ หรือที่ชาร์จมือถือ หากใช้งานแล้วพบว่ากระแสไฟจ่ายไม่เต็มที่ควรจะเปลี่ยนสาย หรืออุปกรณ์ชาร์จ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายจนลัดวงจร

การพกพาแบตเตอรี่สำรองติดตัวไว้ ก็นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการชาร์ตแบตโทรศัพท์มือถือในรถยนต์ แต่ก็ไม่ควรวางแบตเตอรี่สำรองทิ้งไว้ในรถยนต์เช่นกัน เพราะอาจเกิดอันตรายจากแบตเตอรี่สำรองระเบิดเมื่อต้องจอดรถตากแดดทิ้งไว้นาน ๆ ได้ 

ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์  ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ ที่เบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับข้อมูลผู้ซื้อประกัน และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) ผู้ที่มีโปรไฟล์ดี หรือความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันรถยนต์ก็จะยิ่งถูกตามไปด้วย ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกเรื่อง ทั้งความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม เช็กโปรไฟล์ของคุณได้ที่นี่ https://smkall.smk.co.th/ และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.