Ads Top

SMK Insurance

Q & A แผนการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โควิด



1. ถาม : ทำไมบริษัทฯ จึงเสนอแผนจ่ายเงินสด 15% ไม่จ่ายเต็มทุนประกัน ?

ตอบ : การชำระด้วยเงินสด 15% บริษัทฯ กำหนดจากจำนวนเงินที่บริษัทฯ จะได้รับจากนักลงทุน เนื่องจากมูลค่าของบริษัทฯ (จากยอดขายและกำไร) มีมูลค่าประมาณราคา 5,500 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวน 4,500 ล้านบาท ส่วนแรกจะนำมาชำระหนี้เคลมโควิด ส่วนที่ 2 เงินจำนวน  1,000 ล้านบาท นำมาเพิ่มเงินกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด 


ทั้งนี้ หากถึงวันที่ศาลฯ เห็นชอบแผน และบริษัทฯ สามารถเพิ่มเงินจากนักลงทุนได้สูงกว่า 5,500 ล้านบาท บริษัทฯ จะนำเงินส่วนที่ได้เพิ่มทั้งหมดมาชำระเพิ่มให้กับเจ้าหนี้โควิดที่ยังไม่ได้รับเงินเลย



2. ถาม : บริษัทฯ ได้ผู้ร่วมทุนหรือยัง ?

ตอบ : ในขณะนี้บริษัทฯ ได้มีการเจรจากับผู้ร่วมทุนที่สนใจแล้ว โดยเงินลงทุนจากผู้ร่วมทุนจะนำมาชำระเงินสด 15% ให้กับเจ้าหนี้ ภายใน 1 ปี (ขยายได้ไม่เกิน 6 เดือน) และชำระหนี้ส่วนที่เหลือเป็นหุ้นบุริมสิทธิ



3. ถาม : ทำไมต้องรอเงินจากผู้ร่วมทุนถึง 1 ปี และขยายเวลาต่อไปอีกถึง 6 เดือน ?

ตอบ : หลังจากศาลฯ มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฯ ผู้ร่วมทุนต้องมีระยะเวลาและขั้นตอนในการดำเนินการยื่นศาลฯ เพื่อขออนุญาตจดทะเบียนลดทุนและเพิ่มทุน รวมถึงขออนุญาต คปภ. เรื่องการจดทะเบียนหุ้นบุริมสิทธิและสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุน และยื่นเอกสารต่างๆ ต่อกระทรวงพาณิชย์ และตลาดหลักทรัพย์



4. ถาม : หุ้นบุริมสิทธิคืออะไร และมีสิทธิพิเศษอะไรบ้าง ?

ตอบ : หุ้นบุริมสิทธิ คือ หุ้นที่มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เจ้าหนี้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ มีสิทธิพิเศษที่จะได้รับเงินปันผลพิเศษจากการฟ้องร้องคดีปกครอง มูลค่าตามฟ้อง 43,587 ล้านบาท  


โดยบริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการชนะคดีมาชำระให้กับเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เจ้าหนี้โควิดมีโอกาสจะได้รับเงินครบ 100% เต็มทุนประกัน 


โดยบริษัทฯ เชื่อว่า มีโอกาสสูงที่จะได้รับเงินปันผลพิเศษจากค่าเสียหายในคดีปกครอง เพราะข้อกฎหมายที่ใช้ในการยื่นฟ้องค่อนข้างมีน้ำหนัก โดยกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง มีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาของแผนฯ 



5. ถาม : ถ้าไม่รับแผนของบริษัทฯ และจะไปรอรับเงินจากกปว.แทน ต้องใช้ระยะเวลาถึง 56 ปีจริงหรือ ?

ตอบ : จากงบการเงินของกปว. ปี 2565 มีเจ้าหนี้ของบริษัทประกันวินาศภัย 14 บริษัทที่ปิดตัวไประหว่างปี 2552-2565 ค้างอยู่ประมาณ 55,350 ล้านบาท ในขณะที่กปว. มีรายได้ประมาณ 1,370 ล้านบาทต่อปี ซึ่งภายใต้สภาพคล่องและรายรับเช่นนี้ หากเจ้าหนี้โควิดของสินมั่นคงประกันภัยต้องไปต่อคิวเจ้าหนี้เดิม จึงอาจต้องรอนานถึง 56 ปีกว่าจะได้เงินจากกปว.



6. ถาม : เจ้าหนี้จะมั่นใจได้อย่างไรว่า บริษัทฯ จะจ่ายหนี้โควิดให้ตามแผนฯ ที่เสนอ ?

ตอบ : กรอบระยะเวลาการชำระหนี้ที่กำหนดในแผน จะถูกตรวจสอบและดูแลโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลล้มละลายกลางว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนหรือไม่ โดยแผนฯ มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี



ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.