Ads Top

SMK Insurance

ประกันสุขภาพ: 4 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อรู้สึกวิตกกังวล


ความรู้สึกวิตกกังวล และไม่สบายใจ เป็นลักษณะธรรมชาติที่เกิดขึันได้กับมนุษย์เรา ถ้าไม่มากจนทำให้การดำรงชีวิตยุ่งยากก็ถือว่าไม่มีปัญหา แต่หลายครั้งกิจกรรมบางอย่างทำไปแล้วกลับเพิ่มความรู้สึกวิตกกังวลนั้นมากขึ้นจนไม่มีความสุข และทำลายสุขภาพกาย สุขภาพใจในที่สุด สินมั่นคงประกันภัย ประกันสุขภาพ จึงนำข้อแนะนำที่ไม่ควรทำเมื่อรู้สึกวิตกกังวลได้ไปปฏิบัติกัน เพื่อจัดการสภาวะทางอารมณ์ให้เหมาะสม ดังนี้

1) อย่ารีบพยายามลดความวิตกกังวลให้หมดไปทันที
การควบคุมและสั่งการให้ความกังวลหมดไปทันที เพียงเพราะความต้องการส่วนตัวนั้นยากที่จะทำได้ เพราะความกลัวและความวิตกกังวลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและร่างกายในการมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรวดเร็วอัตโนมัติเพื่อหลบหนีจากสิ่งที่อันตราย เพื่อความอยู่รอด ทำให้การหยุดความวิตกกังวลทันทีจะขัดกับวงจรตามสัญชาตญาณ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจมีผลเสียในการปรับตัวต่อมา

2) อย่าพยายามค้นหาการรับรอง และความสมบูรณ์แบบ
หลายคนอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความวิตกกังวลและความห่วงใยโดยพยายามแสวงหาข้อมูลอย่างกระวนกระวาย เพื่อหวังที่จะพบคำตอบที่ชัดเจนหรือวิธีการที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยและควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ แต่การหาข้อมูลที่ชัดเจนมายืนยันสำหรับปัญหาที่ซับซ้อนของชีวิต ไม่ใช่เรื่องง่ายและถูกต้องทั้งหมด แต่อาจเพิ่มความกดดัน และรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นไปอีก เพราะหาข้อสรุปที่ทำให้ตนเองสบายใจไม่ได้ เช่น การค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตแล้วพอทราบว่าอาการปวดเมื่อยไม่ได้เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ แต่ว่าเป็นอาการของโรคร้าย ทั้งที่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์ ความกังวลอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นต่อไป พยายามเติมเต็มความเชื่อให้สมบูรณ์ถูกต้องเสมอ ก็ยิ่งกลุ่มใจกังวลหาความสมบูรณ์แบบตลอดเวลา

3) อย่าพยายามวิเคราะห์ และคาดเดาไปต่างๆ นานา
การพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ และคาดเดาผลที่จะเกิดไปต่างๆ นานา มากไปจนไม่อยู่บนฐานของความจริง ซึ่งเหตุการณ์ยังไม่เกิด ข้อมูลก็ยังไม่แน่ชัด เมื่อทำซ้ำๆ ตามธรรมชาติของการคิดมนุษย์เราก็ยิ่งจะคิดไปทางลบมากขึ้น ยิ่งทำให้กังวลมากขึ้นไปอีก สุขภาพกายและจิตแย่ลงไปอีก

4) อย่าพยายามหลีกเลี่ยง จนไม่กล้าเผชิญกับความจริง
เมื่อเกิดกังวลใจ มนุษย์เราจะตอบโต้ โดยการเผชิญหน้าสู้ หรือ การหลีกหนีให้ไกล ถ้าใช้กลไลหลบหนีมากเกินไป ก็ยากที่จะเผชิญปัญหาที่แท้จริง และแก้ไขได้ถูกต้องเหมาะสม แม้ว่าจะรู้สึกอาจดีขึ้นในระยะสั้น แต่ความวิตกกังวลนั้นก็ไม่หายไปไหน เพราะปัญหาที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากไปไม่ได้ถูกจัดการอย่างเหมาะสม

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำ คือ ต้องยอมรับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นว่าอาจไม่สามารถทำให้หายไปได้ทันที และการพยายามหลีกเลี่ยงจะทำให้เลวร้ายลง ดังนั้นควรเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกับความวิตกกังวล เรียนรู้การประเมินความรู้สึกนั้นอย่างเป็นกลาง และวางแผนการตอบสนองโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ อย่างชาญฉลาด แต่ถ้าไม่สามารถทำอะไรให้ดีขึ้นได้เลย ก็ควรหยุดพักสักระยะ ไม่ให้ความวิตกกังวลขยายมากขึ้น ไปออกกำลังกาย ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือระบายความรู้สึกให้กับคนที่ไว้ใจได้

นอกจากนี้ควรใส่ใจการดูแลสุขภาพ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เลือกทำประกันสุขภาพ เพื่อเป็นหลักประกันให้คุณและคนที่คุณรัก สนใจทำประกันสุขภาพกับสินมั่นคง โทร1596 หรือ www.smk.co.th สินมั่นคงประกันภัย ..เราประกัน คุณมั่นใจ..

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.