Ads Top

SMK Insurance

วิธีดูแลเบรกรถยนต์ด้วยตนเอง




ช่วงวันหยุดยาวสิ้นปี หลายคนอาจต้องใช้รถยนต์ขับขี่เป็นระยะทางไกล อย่าลืมตรวจเช็คระบบเบรกของรถยนต์กันด้วย เพราะมีความสำคัญอย่างมากในการใช้รถ ช่วยให้การขับขี่ปลอดภัย ดังนั้นเราควรจะทราบถึงวิธีการดูแล สังเกต และการตรวจเช็คเบรกแบบง่าย ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลมาแนะนำกันดังนี้

การดูแลรักษาเบรกรถยนต์

-  ควรเปลี่ยนผ้าเบรกทุก 25,000 กม. สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ หรือ เมื่อผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 4 มม หรือเหลือผ้าเบรกน้อยกว่า 30% ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากเป็นรถที่มีการบรรทุกน้ำหนักมาก หรือการขับขี่ในเมืองที่มีการเบรกบ่อยๆ อายุผ้าเบรกจะสั้นลง 

- ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกควรทุก 40,000 กม.




การตรวจเช็คน้ำมันเบรก

- ตรวจระดับน้ำมันเบรก ต้องมีระดับไม่ต่ำกว่า Min และไม่เกินระดับ Max ระวังอย่าเติมให้เกินระดับ Max

- ถ้าน้ำมันเบรกมีสีดำแสดงว่าลูกยางเบรกเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกใหม่และควรเปลี่ยนลูกยางเบรกใหม่

- สำรวจล้อตรงเบรกแต่ละข้างว่ามีคราบน้ำมันเบรกซึมออกมาหรือไม่  อาจมีการรั่วซึมของระบบเบรกได้

การทดสอบระบบเบรก
ทดสอบโดยขับรถที่ความเร็วประมาณ 40 กม.ต่อชั่วโมง จับพวงมาลัยหลวมๆ แล้วทำการเหยียบเบรกลงไปทันที แล้วสังเกตการหมุนของพวงมาลัย ถ้าไม่หมุนแสดงว่าปกติ แต่ถ้าพวงมาลัยหมุนควรไปตรวจเช็คระบบเบรกอย่างละเอียด

การสังเกตเบรกว่ามีปัญหาหรือไม่

- ถ้ามีเสียงขณะเหยียบเบรก 
    - หากเบรกแล้วเกิดเสียง "เอี๊ยด" เป็นสัญญาณเตือนของ ผ้าเบรก กับ จานเบรก ที่น่าจะเสียดสีกัน จนทำให้เกิดเสียงขึ้นมา หากใช้ต่อไปอาจทำให้จานเบรกเป็นรอย เมื่อจานเบรกถูกขูดเป็นรอยลึกมากๆ อาจไม่สามารถเจียได้ อาจต้องเปลี่ยนจานเบรกใหม่
    - หากเบรกแล้วเกิดเสียง"ครืด" อาจเป็นไปได้ว่า ผ้าเบรก กับ จานเบรก สกปรก อาจจะเกิดจากฝุ่นหรือหินหลุดเข้าไปเสียดสีกัน แต่ถ้าดังหลังจากที่เพิ่งขับรถลุยน้ำมา เป็นเพราะสาเหตุผ้าเบรกเปียกน้ำ  เมื่อขับไปสักพักเสียงก็จะหายไปเอง
     -  เกิดเสียงคล้ายเหล็กขูดกัน และสั่นแรงถึงแป้นเบรกลักษณะนี้เป็นสัญญาณบอกว่าผ้าเบรกหมดเกลี้ยงแล้ว นั่นคือตัวผ้าเบรกเหลือน้อยต่ำกว่ามาตรฐานหรืออาจหมดเกลี้ยงจนถึงแผ่นโลหะที่ยึดผ้าเบรก จึงเกิดการเสียดสีระหว่างเหล็กกับเหล็ก และเกิดเสียงดังขึ้น 

- การดึงเบรกหากเราต้องดึงขึ้นสูงกว่าปกติ นี่ก็เป็นสัญญาบอกอย่างหนึ่งว่าเราอาจจะต้องเปลี่ยน ผ้าเบรก ได้แล้ว

- การเหยียบเบรกในแต่ละครั้งจะต้องเหยียบลึกกว่าปกติ ควรเข้าศูนย์ซ่อมเพื่อตรวจเช็ค

- สังเกตจากไฟสัญญานเตือนขึ้นที่หน้าปัดรถ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการตรวจเช็คเบื้องต้นที่สามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง  ไม่ควรละเลยระบบเบรกเพราะมีส่วนสำคัญอย่างมากในขับขี่ให้ปลอดภัย



การทำประกันภัยรถยนต์เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น...เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th/premotor.aspx


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.