Ads Top

SMK Insurance

เช็คสถานที่รับบริจาคโลหิตทั่วกรุงเทพฯ พร้อมเตรียมตัวก่อนบริจาค


สำหรับใครที่กำลังมองหาสถานที่รับบริจาคโลหิต หากต้องเดินทางไปถึงสภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน หลายท่านอาจไม่สะดวกในการเดินทาง เพื่อให้ท่านที่อยู่รอบนอกกรุงเทพฯ สามารถร่วมบริจาคโลหิตได้สะดวกมากขึ้น จึงได้รวบรวมสถานที่รับบริจาคทั่วกรุงเทพฯ มาแนะนำกันดังนี้ 


ในทุกๆ วันจะมีผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้โลหิตในปริมาณมาก ทำให้บางช่วงโลหิตในคลังของสภากาชาดไทยมีไม่เพียงพอ ปริมาณของโลหิตในคลังที่เพียงพอจึงเป็นเรื่องจำเป็น หากเราทุกคนร่วมกันบริจาคโลหิตกันเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้ 

การบริจาคโลหิตนอกจากเราจะเป็นผู้ให้แล้ว ยังเป็นผู้รับอีกด้วย เพราะการบริจาคโลหิตช่วยกระตุ้นการทำงานของไขกระดูก ให้สร้างเม็ดโลหิตใหม่ๆ ที่มีคุณภาพมาหมุนเวียนใช้บำรุงร่างกาย เป็นการเปลี่ยนถ่ายเลือดเก่า เลือดใหม่ได้อย่างมีประโยชน์ และปลอดภัยที่สุด เมื่อเราได้เปลี่ยนถ่ายโลหิต ส่งผลให้เลือดใหม่ที่ไปหล่อเลี้ยงตามร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสยิ่งขึ้นอีกด้วย




ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต 
ผู้ที่บริจาคต้องมีคุณสมบัติและเตรียมตัวดังนี้

1. อายุระหว่าง 17 ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุ 17 ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
2. ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55  – 60 ปี ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และพยาบาล
3. น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัม ขึ้นไป
4. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิต
5. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต
6. ไม่มีประวัติการเจ็บป่วย ด้วยโรคหัวใจ โรคตับ  โรคปอด โรคเลือด โรคมะเร็ง หรือมีภาวะโลหิตออกง่ายและหยุดยาก
7. ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา
8. ไม่ใช่สตรีที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
9.น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
10. หากรับประทานยาแอสไพริน, ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน
11. ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรัง, วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ
12.ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง, ไทรอยด์,โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
13. หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน หรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ
14. หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน, ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 7 วัน
15.ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
16. ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือหากเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี
17. หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา โดยใช้เครื่อมือร่วมกัน หรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำ อาจติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต จึงควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญ และเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว เว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน
18. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี
19. หากมีประวัติเป็นมาลาเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้
20. หากเคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตของผู้อื่นที่ประเทศอังกฤษในระหว่างปีพ.ศ.2523-2539 งดรับบริจาคโลหิตถาวร
21. หากเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษรวมระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539 หรือ เคยพำนักในยุโรปรวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523-ปัจจุบัน งดรับบริจาคโลหิตถาวร
22. หากเคยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค หรือเคยรับเซรุ่ม ระยะเวลาที่งดรับบริจาคโลหิตขึ้นกับชนิดขอบวัคซีน หรือเซรุ่ม
23. สตรีอยู่ระหว่างมีรอบเดือน ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นสุขภาพแข็งแรง มีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคโลหิตได้
24. ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่างๆ เป็นต้น



ขั้นตอนการบริจาคโลหิต เมื่อมาถึงสถานที่บริจาค

1. กรอกเอกสาร "ใบสมัครผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย





2. ตรวจสอบความดันเลือด โดยความดันเลือดปกติอยู่ที่ 120/80 (ระดับความดันปกติ ) หากความดัน 140/90 ถือว่าความดันสูง และระดับ 90/50 ถือว่าความดันต่ำ

3. เข้าจุดคัดกรอง เจ้าหน้าที่จะตรวจความเข้มข้นของโลหิต และจะถูกสัมภาษณ์ก่อนบริจาคเลือดจริงๆ อีกครั้ง

4. ทำการบริจาคเลือด ใช้ระยะเวลา 15 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการเจาะที่เส้นโลหิตดำ บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก ( BLOOD BAG ) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร ( ซี.ซี. ) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

5. พักผ่อนก่อนออกเดินทาง 

เมื่อโลหิตเข้าไปอยู่สภากาชาดไทยแล้ว จะมีการตรวจเช็คคุณภาพอีกครั้ง หากไม่สามารถบริจาคได้ ทางสภากาชาดไทยจะส่งจดหมายชี้แจงปัญหาทางด้านสุขภาพอีกครั้ง



สถานที่บริจาคโลหิตในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร


1. ห้องบริจาคโลหิต อวัยวะ และดวงตา สภากาชาดไทย เดอะมอลล์งามวงศ์วาน







2. กองบริการโลหิต สายไหม







3. ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค





4. ศูนย์บริจาคเลือด โรงพยาบาลศิริราช






5. ศูนย์บริการโลหิตสภากาชาดไทย ซี.พี. แลนต์





6. ศูนย์บริจาคเลือด สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า




7. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช




8. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ Big C นวนคร





นอกจากนี้ยังสามารถเช็คปฏิทินการรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ ได้ที่ www.redcross.or.th/calendar อีกด้วย 

บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนการบริจาคโลหิต เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและพนักงานร่วมกันบริจาคโลหิตทุกๆ 3 เดือน ณ สำนักงานใหญ่สินมั่นคงประกันภัย หากใครที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงานใหญ่สินมั่นคงประกันภัย ก็สามารถเข้าร่วมบริจาคโลหิตกันได้ในเดือน มีนาคม, มิถุนายน, กันยายน, ธันวาคม ของทุกปี สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2378-7000




สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมเบี้ยประกันที่ไม่แพง คลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx หรือ โทร. 1596 สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.