เสวนาวิชาการประกันภัย "เหลียวหลังแลหน้า ธุรกิจประกันภัยไทย" กับธุรกิจประกันวินาศภัย
สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย และ นิตยสารไทยแลนด์อินชัวรันส์ ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการประกันภัยหัวข้อ "เหลียวหลังแลหน้า ธุรกิจประกันภัยไทย" เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของนิตยสารไทยแลนด์อินชัวรันส์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีรายละเอียดการเสวนาดังต่อไปนี้
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มาเป็นองค์ปาฐกถาบรรยายพิเศษในบทบาทของผู้กำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย โดยได้กล่าวถึง การประกันว่า มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทั้งประกันอุบัติเหตุหรือภัยจากโรคร้ายต่างๆ ประกันยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงระบบคดีความที่ระบบประกันจะเข้ามาดูแลก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
ซึ่ง คปภ. มีแผนพัฒนาแผนการประกันภัย หรือ แผนประกันภัยแห่งชาติ ต่างๆ ดังนี้
แผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 1 มีเป้าหมายปรับการกำกับดูแลทำให้อุตสาหกรรมมีมาตรฐานสากล , เปลี่ยนจากกรมการประกันภัยเป็นองค์กรอิสระที่มีชื่อว่า คปภ. , มีการปฏิรูปกฎหมายพระราชบัญญัติประกันชีวิตและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย
แผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 2 พัฒนาการกำกับและตรวจสอบตามความเสี่ยง, มีเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง, พัฒนาฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย, มีระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าทำให้ระบบประกันภัยมีความมั่นคง และการจัดตั้งสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
ซึ่งปัญหาอุทกภัย ปี 2554 ที่ผ่านมา ที่สร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจไทย ถือเป็นการทดสอบระบบประกันภัย ซึ่งระบบประกันภัยก็สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าวได้
แผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 3 เริ่มปี 2559 สิ้นสุดในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงระบบเศรษฐกิจใหม่ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะโครงสร้างระบบทางการเงิน อาจทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบ รวมถึงโครงสร้างของประชากรของไทย ซึ่งจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอนาคต ทั้ง Insurtech และ Fintech
คปภ.จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เป็น 4 ด้าน ได้แก่
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัย
เป้าหมาย : บริษัทประกันภัยมีความมั่นคง เข้มแข็งทางการเงิน มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพ และเป็นที่เชื่อมั่นไว้วางใจของประชาชน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเสริมสร้างความรู้และการเข้าถึงการประกันภัย
เป้าหมาย : ประชาชนมีความรู้ และเข้าใจสิทธิ สามารถเข้าถึงการประกันภัย และเลือกใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม เช่น โครงการอบรมความรู้ประกันภัย , โครงการ คปภ.เพื่อชุมชน, การประกันภัยสำหรับรายย่อย (Micro Insurance) สำหรับผู้มีรายได้น้อย
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน
เป้าหมาย : บริษัทประกันภัยมีขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมรับสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นพลวัตรสูง
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านประกันภัย
เป้าหมาย : บริษัทประกันภัยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย ผลักดันกฎหมายใหม่ และการยกเลิกกฎหมายบางตัวที่ไม่จำเป็น
ทิศทางและนโยบายการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 4
1. การส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ( Sustainable Growth )
2. การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน
3. การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยมีศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน
จากผลการประเมินทางการเงินของอุตสาหกรรมประกันภัยของโลก ในทวีปเอเชียเราได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นรองแค่ประเทศสิงคโปร์เท่านั้น
คุณอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ระบุว่า ปัจจุบันอัตราการเติบโตของประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประกันอัคคีภัยและประกันภัยทางเรือยังมีการเติบโตในอัตราทรงตัว เป็นการเติบโตที่ต่ำกว่า GPD และแนวโน้มสัดส่วนในแต่ละช่องทางในอนาคต การขายตรงและการขาย Online มีโอกาสในการเติบโตสูงขึ้น
ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจประกันภัยเหลือเพียง 59 บริษัท โดยบริษัทขนาดใหญ่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 67% มีจำนวน 12 บริษัท, บริษัทขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดรวม ลดลง 30% มีจำนวน 24 บริษัท และบริษัทขนาดเล็กที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเหลือเพียง 3% มีจำนวน 23 บริษัท ซึ่งอยู่สถานการณ์ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
บริษัทประกันวินาศภัยไทยในปัจจุบัน เริ่มประกอบธุรกิจนอกเหนือจากประกันรถยนต์ และมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น มีการปรับเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น กลุ่มไหนที่ปรับเบี้ยสูงขึ้นและบางกลุ่มที่ต้องปรับเบี้ยลดลง เช่น การเลือกรับประกันรถยนต์บางรุ่นที่สามารถให้ลูกค้ารับเบี้ยในราคาประหยัด หรือผู้ใช้รถยนต์บางกลุ่มอาจต้องคิดเบี้ยประกันสูงขึ้น
เทคโนโลยีด้าน Fintech จะช่วยให้การชำระเบี้ยประกันดีขึ้น ทันสมัยมากขึ้น, โครงสร้างกฎหมายต้องกำหนดให้เหมาะสม ตามการชำระเบี้ยประกันจากรายปีเป็นรายเดือนหรือรายวัน ซึ่งต้องมีกฎหมายมารองรับ กลุ่มวินาศภัยไทย สามารถขยายการประกันไปยังกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มสุขภาพได้มากขึ้น เช่น กลุ่มเกษตรกรถือเป็นกลุ่มใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่ยังต้องให้ความรู้
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทรับประกันวินาศภัย เป็นบริษัทแรกที่ได้รับความไว้วางใจให้จดทะเบียนภายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้บริการรับประกันวินาศภัย 4 ประเภท คือ การประกันภัยทางรถยนต์ ,การประกันอัคคีภัย, การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง และ
การประกันภัยเบ็ดเตล็ด เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันการเดินทาง เป็นต้น
สินมั่นคงประกันภัย ..เราประกัน คุณมั่นใจ..
โทร. 1596 หรือ คลิก www.smk.co.th
ไม่มีความคิดเห็น: