Ads Top

SMK Insurance

ไขมันทรานส์อันตรายในอาหาร



หลังจากที่รอกันมานานสำหรับกฎหมายการห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2562 แล้ว ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำใบรับรองเพื่อยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าไม่มีการปนเปื้อนไขมันทรานส์ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับ 5,000-20,000 บาท  ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียน  เนื่องจากการบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และการอุดตันของหลอดเลือด พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปี การขจัดไขมันทรานส์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมาก จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ ไขมันทรานส์ มาบอกกันดังนี้


ไขมัน เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายและช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และแคโรทีนอยด์  เมื่อกินไขมันเท่าที่จำเป็นจะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและช่วยรักษาสุขภาพ  แต่ทุกวันนี้เรากินไขมันมากเกินไป ออกกำลังกายน้อย ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินไปสะสมในร่างกาย  


ไขมันในอาหารมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ 

-ไขมันอิ่มตัว 

-ไขมันไม่อิ่มตัว

-ไขมันทรานส์




ไขมันทรานส์ คืออะไร ?

ไขมันทรานส์ ถูกใช้ในการผลิตอาหารในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้แทนเนย ไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการผลิตโดยทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวด้วยการเติมไฮโดรเจน (Partially Hydrogenated Oils, PHOs) ทำให้อาหารที่ใช้ไขมันทรานส์นั้นยืดอายุ (การขาย) ได้นาน เพิ่มความคงตัวของรสชาติ ที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่าไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว  อาหารหลายชนิดที่ใช้ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยขาว เนยเทียมหรือมาการีน คุกกี้ อาหารว่าง อาหารทอด และขนมอบ เป็นต้น





ไขมันทรานส์มีโทษต่อร่างกายอย่างไร ?

ไขมันทรานส์มีผลเหมือนไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลทำให้ระดับ LDL (โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย) ในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ยังลดระดับ HDL (โคเลสเตอรอลชนิดดี) ในเลือดอีกด้วย ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้น




องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า "การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  "  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปี การลดการบริโภคไขมันทรานส์จะช่วยลดการเกิดหัวใจวายและการเสียชีวิตได้ 

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ หรือไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน และควรพบความเข้มข้นในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค

หลายประเทศได้ขจัดการใช้ไขมันทรานส์ จากอุตสาหกรรมเกือบสิ้นเชิง เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่จำกัดการใช้ไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณของไขมันทรานส์ในอาหารลดลงอย่างชัดเจน และอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศ OECD (สมาชิกประเทศยุโรปตะวันตก 19 ประเทศ) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่ออกกฎหมายการห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร  ห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย ไขมันทรานส์ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกเป็นจำนวนมาก


สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมเบี้ยประกันที่ไม่แพง   คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596  สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..



ที่มา: นพ.ประพจน์ เภตรากาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.