Ads Top

SMK Insurance

ขณะขับรถสมองไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นพร้อมกันได้



หลายคนคงเคยคิดว่าการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูเดี๋ยวเดียวขณะขับรถ คงไม่อันตราย หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นขณะขับรถ เช่น หยิบของ ดื่มน้ำ ฯลฯ แต่ผลจากการวิจัยพบสมองของเราไม่ได้สร้างให้สามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ โดยเฉพาะการขับรถ จึงได้รวบรวมข้อมูลมาบอกกันดังนี้


ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า 

- 22 % ของผู้หญิงยุคใหม่ในเอเชียแปซิฟิกมักถ่ายรูป หรือเซลฟี่ในขณะขับรถ ซึ่งเป็นเรื่องอันตราย เนื่องจากการขับรถที่ความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ไกลถึง 390 เมตรภายในเวลา 14 วินาที ซึ่งเป็นเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้สำหรับเซลฟี่นั่นเอง 

- 54 ของผู้ขับขี่พยายามจะไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถที่จะหยุดไม่ใช้โทรศัพท์ได้ 

- 59 ของผู้ขับขี่ยังใช้โทรศัพท์ขณะรถติด หรือเมื่อติดสัญญาณไฟ แม้ทราบดีว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

- สถิติองค์การอนามัยโลกในทุกปี มีผู้คนมากกว่า 1.25 ล้านคนต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังพบว่า 94 เปอร์เซ็นต์ของอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่เอง

- การพิมพ์ข้อความทางมือถือขณะขับขี่ ทำให้สายตาของผู้ขับขี่ต้องออกนอกเส้นทางเป็นระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 4.6 วินาที ซึ่งหากผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วประมาณ 88.5 กม./ชั่วโมง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าปกติ 23 เท่า ปฏิกิริยาตอบสนองต่อไฟเบรกของรถคันหน้าช้ากว่า ปกติ ถึง 1 ใน 5 และมักขับออกนอกเส้นทางเดินรถเป็นประจำ 

- การคุยโทรศัพท์มือถือระหว่างขับรถจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ 1.3 เท่า


ผลจากการวิจัยทางจิตวิทยาพบว่า

- การขับขี่เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูงมากเนื่องจากสถานะการณ์ต่างๆรอบตัวเปลี่ยนแปลงได้ในชั่วระยะเวลาอันสั้น ปกติต้องใช้พลังงานสมองมากถึง 85 เปอร์เซ็นต์

- เมื่อสมองของเราต้องใช้พลังงานการรับรู้ 85 เปอร์เซ็นต์ สมองของเราจะไม่มีความสามารถในการทำสิ่งอื่นได้แล้ว ไม่ว่าเราจะเป็นคนนักขับมืออาชีพ หรือเพิ่งหัดขับรถ 

- การส่งข้อความ การถ่ายรูป หรือแม้กระทั่งการพูดคุยกับผู้โดยสาร ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำได้ง่ายๆ แต่ผู้ขับขี่ต้องใช้พลังงานสมองเป็นอย่างมาก และหากสมองถูกใช้งานเกินความสามารถ ก็จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ในขณะขับขี่ 

- การวิจัยทางจิตวิทยาได้พิสูจน์ว่าสมองไม่ได้สร้างประสาทเชื่อมโยงเพื่อการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะขับรถ เมื่อสมองได้รับการโหลดข้อมูลให้ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันมากเกินไป จะส่งผลให้การทำงานแต่ละอย่างช้าลงไปด้วย 


ปัจจัยหลัก 4 ประการ ที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิและนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง มีดังนี้

1. การมองเห็น สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องละสายตาจากท้องถนน เช่น ดูโทรศัพท์ หรือแต่งหน้า

2. การได้ยิน  เสียงต่างๆ ที่ดังเกินไป เช่น การคุยโทรศัพท์หรือการฟังเพลง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้ขับขี่ไม่ได้ยินเสียงการจราจรอื่นๆ เช่น สัญญาณรถฉุกเฉิน

3. การทำกิจกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องละมือใดมือหนึ่งออกจากพวงมาลัย เช่น การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม

4. สติในการรับรู้ สมาธิที่ลดลงอันเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า จากยา หรือสิ่งที่รบกวนการรับรู้


วิธีการลดการเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่ มีดังนี้

1. มุ่งสมาธิไปที่การขับขี่ และหลีกเลี่ยงจากสิ่งรบกวนที่เป็นอันตรายขณะขับรถ 

2. มองไปข้างหน้าในระยะไกลขึ้น ขยายมุมมองในการขับขี่  โดยปกติคนทั่วไปมักจะมองไปแค่ที่รถคันข้างหน้าแทนที่จะมองและตรวจสอบรอบๆเส้นทาง 

3. หลีกเลี่ยงการขับขี่ขณะง่วงนอน 

4. ผู้ขับขี่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ต้องละสายตาออกจากการมองเส้นทาง

5. ไม่ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากการขับรถด้วยความเร็วสูงจะเพิ่มความเสียงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยความเร็วในการขับรถจะส่งผลต่อระยะในการมองเห็นของผู้ขับขี่ 


เพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์ของท่าน จากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..
วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th 




ที่มา: กรมการขนส่งทางบก
prachachat.net
Photo source: pexels.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.