Ads Top

SMK Insurance

ตรวจสอบ! และ ข้อควรระวัง! การใช้งานรถที่มีถุงลมนิรภัย (AIRBAG)




ถุงลมนิรภัย อุปกรณ์ป้องกันภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ เพื่อไม่ให้ศีรษะของผู้ขับขี่และผู้โดยสารกระทบกับวัตถุจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ก็มีข้อควรระวังสำหรับการใช้งาน รถที่ติดตั้งแอร์แบกควรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วย เพื่อความปลอดภัยด้วย มีข้อมูลมาแนะนำกันดังนี้



ถุงลงนิรภัย (AIRBAG) เป็นอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยที่จำเป็นและสำคัญสำหรับรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุถุงลมนิรภัยจะทำหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทก บริเวณหน้าอกและศีรษะไม่ให้เกิดความรุนแรงกึงแก่ชีวิต ซึ่งถุงลมนิรภัยจะติดตั้งไว้หลายจุด ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านข้าง ม่านถุงลม ที่ขาและเข่า และพื้นใต้เท้า จุดที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยรถยนต์ จะสังเกตเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ติดไว้ว่า “SRS (Supplemental Restraint System )” 


ถุงลมนิรภัยทำมาจาก ถุงไนลอนหรือโพลีเอไมด์ที่บรรจุแก๊สไนโตรเจนไว้ภายใน โดยทั่วไปจะบรรจุแก๊สได้ประมาณ 60-70 ลิตร ซึ่งจะพองตัวอย่างรวดเร็วเมื่อมีแรงกระแทกเกิดขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าแก๊สปริมาณมากขนาดนั้นถูกเก็บไว้ตรงส่วนไหนของรถยนต์ แต่ในความจริงแล้วแก๊สไนโตรเจนที่ใช้บรรจุในถุงไม่ได้ถูกเก็บไว้ในรูปของแก๊ส แต่อยู่ในรูปของของแข็งที่ชื่อว่าโซเดียมเอไซด์ (sodium azide, NaN3) ที่บรรจุไว้ในส่วนที่เรียกว่า inflator ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาสลายตัวกลายเป็นโลหะโซเดียมและแก๊สไนโตรเจนเมื่อได้รับความร้อนจากตัวตรวจจับการชน (crash sensor)



ข้อควรระวังสำหรับการใช้งานรถที่มีถุงลมนิรภัย




1. ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ทั้งคนขับและผู้โดยสาร
ในรถรุ่นใหม่ ถ้าไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ระบบจะไม่สั่งให้แอร์แบกทำงาน เพื่อยึดร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ แอร์แบกจึงจะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์


2. ปรับตำแหน่งเก้าอี้นั่งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่าไปชิดพวงมาลัยจนเกินไป ให้ลองเหยียบคันเร่งจนสุด และกดเบรกให้สุด ถ้าไม่สามารถกดได้สุด แปลว่าเรานั่งห่างเกินไป แต่ถ้ากดได้สุดแล้วขายังงออยู่มากก็ให้ลองเลื่อนเบาะถอยหลังไปอีก


3. ปรับความสูงของเบาะที่เหมาะสม คือ จุดที่เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว สายเข็มขัดพาดผ่านหัวไหล่ ไม่ใช่คอ
    

4. ท่านั่งหลังต้องชิดเบาะเพื่อล็อคตำแหน่งให้กระชับที่สุด เมื่อปรับเบาะแล้วก็จัดท่านั่งของตัวเองให้ถูกหลายคนปรับเบาะมาดีแต่นั่งไถลตัวมาข้างหน้ามากเกินหลังไม่ชิดเบาะ
   

5. ปรับพวงมาลัยตำแหน่งที่เหมาะที่สุด คือ เลื่อนต่ำ เล็งศูนย์กลางของพวงมาลัยให้พุ่งไปที่กลางลำตัว ไม่ใช่ที่คาง ส่วนความห่างของพวงมาลัยที่เหมาะสม หลังจากปรับเบาะแล้ว นั่งให้กระชับ แล้วปรับพวงมาลัย พอปรับเสร็จ ให้ยื่นข้อมือไปวางที่ส่วนบนของวงพวงมาลัย ตำแหน่ง 12 นาฬิกาโดยที่หลังของคุณต้องชิดเบาะ ถ้ายื่นข้อมือไปแล้วเลยวงพวงมาลัย แปลว่าปรับพวงมาลัยไว้ใกล้เกินไป


5. จับพวงมาลัยให้ถูกต้อง อย่าจับพวงมาลัยผิดท่า เช่น เอามือขวาไปจับด้านซ้ายของวงพวงมาลัย ส่วนอีกมือจับเกียร์ ถ้าเกิดถุงลมทำงาน อาจทำให้แขนหักได้

  
6. อย่านำเด็กมานั่งบนตัก ไม่ว่าจะเป็นคนขับหรือคนนั่งก็ตาม เพราะระบบเซ็นเซอร์น้ำหนักที่เบาะ ไม่สามารถแยกออกได้ว่านั่นคือน้ำหนักใคร ยิ่งน้ำหนักบนเบาะมาก ระบบยิ่งสั่งให้ถุงลมพองแรงและเร็วสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวคนนั่ง อาจทำให้เด็กหายใจไม่ออกเสียชีวิตได้ได้ สำหรับเด็กควรให้จัดให้ใส่ Car Seat บนเบาะหลัง หันไปด้านหน้ารถเพื่อความปลอดภัยขณะแอร์แบกทำงาน 


7. อย่านำสิ่งของกีดขวางการทำงานของถุงลม เช่น เอารถที่มีถุงลมที่เบาะ ไปหุ้มหนัง ไปหุ้มผ้าลายลูกไม้ เอาพรมกันร้อนไปแปะทับแดชบอร์ดตรงฝาเปิดของถุงลมนิรภัย บางคนเอาเครื่องลาง วางไว้ด้านบน เวลาถุงลมมันระเบิด สิ่งของจะพุ่งมาใส่ตัวเราก่อนถุงลมได้


ข้อจำกัดของถุงลมนิรภัย

1. เมื่อถุงลมนิรภัยถูกใช้งานแล้ว ไม่สามารถใช้ซ้ำได้

2. ลักษณะการชนของรถมีผลต่อการทำงานของถุงลม
หากเป็นการปะทะแบบหน้าตรง แรงกระแทกจะกระทำในลักษณะย้อนสวนทางรถวิ่งแบบตรงๆ ในลักษณะนี้ถุงลมก็จะทำงาน แต่ถ้าเป็นการปะทะแบบทแยงมุม ถุงลมนิรภัยก็อาจไม่ทำงาน

3. กรณีที่รถของเรามุดเข้าไปใต้ท้องรถบรรทุก ส่วนที่จะรับแรงปะทะ คือส่วนบนของฝากระโปรงกับเสาหน้าซึ่งส่งผลต่อระบบความปลอดภัย อาจทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน

4..ถุงลมนิรภัยและระบบความปลอดภัยต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน หากมีการผิดพลาดกับระบบไฟฟ้า ถุงลมอาจไม่ทำงานได้

5. เราสามารถตรวจสอบว่ารถของเราเข้าข่ายต้องแก้ไขชุดถุงลมนิรภัยหรือไม่ ง่ายๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.checkairbag.com โดยใช้หมายเลขตัวถัง ในการตรวจสอบ สามารถเปลี่ยนได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย





เพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์ของท่าน จากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว 
โทร 1596 หรือ www.smk.co.th 


ที่มา : autodeft.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.