Ads Top

SMK Insurance

พุงแต่ละชั้น..ช่วยประเมินสุขภาพของเราได้ !?






อย่างที่ทราบกันดีว่าไขมันหน้าท้องเป็นตัวการทำไปสู่โรคต่างๆได้  แต่จะมีวิธีการประเมินสุขภาพเบื้องต้นของเราจากไขมันหน้าท้องหรือพุงแต่ละชั้นได้อย่างไร มีคำแนะนำดังนี้


พุงหรือไขมันหน้าท้องสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ดังนี้


ชั้นที่ 1 เป็นไขมันใต้ผิวหนัง 

มีวิธีการวัดได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าจะวัดด้วยวิธีง่ายๆคือ การลองจับไปที่แขน ขา หรือพุงของเรา เมื่อจับได้แล้วลองบีบและขยับไปมาจะรู้สึกได้ว่าไขมันใต้ผิวหนังนั้นจะแยกออกมาจากกล้ามเนื้อ ซึ่งยิ่งหยิบติดมือมาได้หนาเท่าไรก็หมายความว่าเรามีไขมันใต้ผิวหนังมากเท่านั้น หรืออาจจะประเมินคร่าวๆด้วยสายตา
โดยปกติผู้ชายจะมีไขมันประมาณ 20% และผู้หญิงมี 30 %


ชั้นที่ 2 กล้ามเนื้อ 

การมีหน้าท้องแบนราบ โดยกล้ามเนื้อช่วงลำตัวของเรานั้นเรียกรวมๆว่า Core muscle มีหน้าที่หลักก็คือ
การพยุงให้ร่างกายตั้งตรงได้ ไม่ค่อมไม่โค้งไม่เอียง ซึ่งส่วนมากจะทำงานร่วมกัน  ฉะนั้นใครที่มีกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่แข็งแรงก็จึงเหมือนใส่สเตย์ย้วยๆ ไม่สามารถพยุงอะไรได้ พอมีอะไรตกถึงท้องหน่อยก็ต้องปล่อยให้ป่องออกมา ฉะนั้นถ้าเราฝึกให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้แข็งแรงขึ้น สเตย์เราก็จะสามารถรักษาทรงให้หน้าท้องเราแบนราบได้อยู่เสมอ






การทดสอบและวิธีฝึกความแข็งแรงของสเตย์ธรรมชาติของเรา กล้ามเนื้อช่วงลำตัว ด้วยท่าไม้กระดาน (Plank)




- เริ่มจากการนอนคว่ำ ใช้ท่อนแขนดันตัวขึ้นดังรูป พยายามกระจายน้ำหนักไปทั้งแขน เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดที่ข้อศอกหรือข้อมือเพียงที่เดียว

- ข้อศอกควรอยู่ระดับเดียวกับหัวไหล่

- ทั้งตัวควรตรงเป็นไม้กระดาน ก้นไม่โด่ง หลังไม่แอ่น ยกสะโพกและเข่าขึ้นพ้นพื้น

- ใช้ปลายเท้ารับน้ำหนัก ไม่ใช่นิ้วเท้า

- พยายามทำให้ได้นานที่สุด

- ระหว่างไม่ควรกลั้นหายใจ ควรหายใจเข้าออกลึกๆ

ถ้าทำได้ไม่ถึง 15 วินาทีแสดงว่าโคม่า ถ้าไม่ถึง 30 วินาทีแสดงว่าต่ำกว่าเกณฑ์ กล้ามเนื้อลำตัวไม่แข็งแรง

เกณฑ์สำหรับคนทั่วไปคือ 30-60 วินาที ถ้าเกิน 1 นาทีนี่แสดงว่าดีมาก ยิ่งถ้าเกิน นาทีครึ่ง ถือว่ามีความแข็งแรง


การทดสอบพุงชั้นที่ 3 ไขมันในช่องท้อง

โดยใช้ส่วนสูงหารสอง หรือคนเราไม่ควรมีรอบพุงเกินครึ่งของความสูงของตนเอง 

เช่น ถ้าผู้ที่สูง 160 ก็ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 160/2 = 80 เซนติเมตร หรือ  ผู้ที่สูง 180 ก็ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 180/2 = 90 เซนติเมตร

ส่วนวิธีการวัดรอบพุงนั้น ต้องใช้สายวัด วัดรอบพุงโดยวัดผ่านสะดือ วัดในช่วงหายใจออก โดยให้สายวัดแนบกับลำตัวไม่รัดแน่นและให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น

ซึ่งใครที่มีรอบพุงเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูงตนเองจะถือว่าลงพุงแต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 อย่าง ต่อไปนี้ จะถือว่าเป็นโรคอ้วนลงพุง

1. ความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป

2. น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป

3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป

4. ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้ชาย หรือ น้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง


หลังจากตรวจเช็คกันแล้ว ถ้ารอบพุงเกินเกณฑ์ก็ควรหันมาดูแลสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วย แอปพลิเคชัน SMK Health และ "ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว" ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด ประกันสำหรับคนที่ฟิตกว่าควรจ่ายน้อยกว่า พร้อมรับเบี้ยคืนสูงสุด 10% หากก้าวเดินได้ตามกำหนด เริ่มดูแลสุขภาพพร้อมรับส่วนลดค่าเบี้ยประกัน 
คลิก www.smk.co.th/PreHealth.aspx หรือ โทร. 1596 




ที่มา: fit-d.com
ขอบคุณภาพจาก : pexels.com, freepik.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.