Ads Top

SMK Insurance

หากคอเลสเตอรอลเกิน + 200 ควรทำอย่างไรดี ? อันตรายไหม?





สำหรับหลายคนที่รับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องมีการตรวจค่าคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย หลายคนทราบดีว่าค่าคอเลสเตอรอลไม่ควรเกิน 200 แต่หากผลการตรวจของเราออกมา เกินค่ามาตราฐาน 200 นี้ จะมีอันตรายไหม และควรทำอย่างไร มีคำตอบมาบอกกันดังนี้







มารู้จัก..คอเลสเตอรอลคืออะไร ?

คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของ น้ำดีอีกด้วย ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลทั้งจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเราก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย โดยคอเลสเตอรอลจะอยู่ในเลือดของร่วมกับสารกลุ่มโปรตีน 




คอเลสเตอรอลประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

สาร 3 ชนิด คือ HDL, LDL, และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งถ้าจะมาดูว่าคอเลสเตอรอลสูงอันตรายหรือไม่ก็ต้องดู สัดส่วนสารทั้ง 3 ชนิดนี้

- HDL คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดีต่อหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดีไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/dl  การมีระดับไขมันดีต่ำเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ( มีการคำนวณอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลเทียบกับระดับไขมันดีด้วย คือ เอาค่าระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดของคุณหารด้วยระดับไขมันดี โดยทั่วไป อัตราส่วนนี้ควรต่ำกว่า 4 หากมีอัตราส่วนสูงขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้นตามลำดับ)

- LDL คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันที่ไม่ดี ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง สาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โดยปกติไม่ควรเกิน 120 mg/dl

- ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากทั้งการสังเคราะห์ในร่างกายของเรา และรับจากการรับประทานอาหาร แต่ถ้าสะสมมากเกินไปจะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยปกติไม่ควรเกิน 150 mg/dl




หากผลตรวจพบคอเลสเตอรอลเกิน 200 ควรทำอย่างไร ?

ถ้าผลรวมคอเลสเตอรอลออกมาสูงอย่าเพิ่งตกใจ ให้วิเคราะห์ดูองค์ประกอบของ HDL,LDL และไตรกลีเซอไรด์ก่อน ตัวเลขคอเลสเตอรอลจากการตรวจวัด  เป็นผลรวมของคอเลสเตอรอลทั้งหมด 3 ชนิด  ต้องดูค่าตัวเลขทั้ง 3 ตัว

ถ้าในผลตรวจคอเลสเตอรอลของเรามี HDL มาก มี LDL และ ไตรกลีเซอไรด์น้อย แม้จะมีผลรวมคอเลสเตอรอลสูงก็ถือว่าสุขภาพดี เช่น จากผลรวมคอเลสเตอรอล 220 ประกอบด้วย HDL 104, LDL 70, ไตรกลีเซอรไรด์ 46 แบบนี้ถือว่าสุขภาพดี


ระดับคอเลสเตอรอลสูง ไม่ทำให้เกิดอาการโดยตรง แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณและนำไปสู่โรคหรือภาวะอันตรายต่างๆ  เพราะคอเลสเตอรอลสามารถฝังและอุดตันตามผนังหลอดเลือดได้ ทำให้จำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ สมอง และส่วนที่เหลือของร่างกาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดภายในร่างกายส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

- โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
- โรคหัวใจวาย (heart attack)
- โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
- ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (transient ischaemic attack: TIA)
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease: PAD)


แล้วเราควรดูแลร่างกายในภาวะคอเลสเตอรอลสูงอย่างไร ?

หากได้ผลตรวจว่ามีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ควรเปลี่ยนแปลงอาหารและเพิ่มการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน ดังนี้

- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาหาร รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยและคอเลสเตอลต่ำ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และหนัง ไข่ขาว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน

- ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารทะเล (ยกเว้นปลา) หนังสัตว์ เนย เนยแข็ง นมไม่พร่องมันเนย

 - รับประทานอาหารทีมีกากใยเช่น ผักและผลไม้

- หยุดสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่ม LDL และลด HDL

- การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น สามารถช่วยเพิ่มระดับ HDL และลด LDL ได้ โดยควรทำอย่างต่อเนื่องนาน 20-40 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์

หลังจากการปรับอาหารและเพิ่มการออกกำลังกายเป็นเวลา 2 – 3 เดือนแล้ว หากระดับคอเลสเตอรอลของคุณไม่ลดลง อาจต้องได้รับยาลดคอเลสเตอรอล ตามคำแนะนำของแพทย์  


การตรวจสุขภาพประจำปีอยู่สม่ำเสมอ จะช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในเบื้องต้นได้ แต่อย่าลืมวางแผนสุขภาพก่อนล่วงหน้ากันด้วย การทำประกันสุขภาพจะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อยามเจ็บป่วย สินมั่นคง ประกันสุขภาพ พร้อมดูแล ด้วยแผนประกันที่หลากหลาย แค่คลิก www.smk.co.th/PreHealth.aspx หรือ โทร 1596  สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..



Photo source: freepik.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.