Ads Top

SMK Insurance

รับมือกับพายุอย่างไรให้อุ่นใจ ปลอดภัยได้ทั้งบ้านและคน

เป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติที่ต้องพบเจอเป็นประจำทุกปีกับพายุฝนฟ้าคะนองที่เคลื่อนผ่านเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งในปีนี้ด้วยอิทธิพลจากพายุซินลากู ทำให้ต้องพบเจอกับปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลันและน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมหลายพื้นที่ ทั้ง 10 จังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างความเสียหายและผลกระทบให้กับบ้านเรือนกว่า 1,399 ครัวเรือน รวมถึงทรัพย์สินต่าง ๆ ก็ได้ถูกน้ำพัดหายไปจนทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน แล้วเราควรมีวิธีรับมือกับพายุอย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาบอกกันค่ะ 



รับมือได้ทัน ไม่หวั่นแม้วันพายุมา

ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่ "พายุซินลากู" จะพัดเข้ามายังประเทศไทย ได้มีการพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าด้วยเทคโนโลยีมาแล้ว แต่การแจ้งเตือนไปยังประชาชนในระดับพื้นที่ยังไม่สามารถทำได้ ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนแบบไม่ทันตั้งตัว สิ่งที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก คือ ชุมชนต้องพัฒนาระบบเตือนภัยของตัวเองและสร้างความเข้มแข็งให้กับส่วนท้องถิ่น เพื่อที่จะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นล่วงหน้าในพื้นที่ได้ดีมากขึ้น ด้วยการเผยแพร่ความรู้ให้กับส่วนท้องถิ่น เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีกได้ในอนาคต ดังรายละเอียดต่อไปนี้
  1. คอยติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์อย่างสม่ำเสมอ
  2. รวบรวมและจัดเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  3. ประเมินระดับความปลอดภัยของบ้าน รวมทั้งโรงรถและต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะส่งผลอันตรายต่อตัวบ้านและชีวิตคนในบ้านหรือไม่
  4. เรียนรู้แผนฉุกเฉินประจำสถานที่ที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน มหาวิทยาลัย สถานศึกษา โรงเรียน หรือ ศูนย์เด็กเล็ก
  5. เตรียมพร้อมสำหรับการดูแลกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เช่น คนพิการ คนชรา หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่อยู่ในความดูแล ด้วยการขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ หรือสัตวแพทย์ในการดูแลสัตว์เลี้ยงหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
  6. เรียนรู้วิธีใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบื้องต้น หรืออุปกรณ์ยังชีพอื่น ๆ ที่จำเป็น
  7. เติมน้ำประปาสำรองใส่ถังน้ำหรืออ่างอาบน้ำสำหรับใช้ในห้องน้ำและทำอาหาร เผื่อเอาไว้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
  8. ชาร์จแบตฯ มือถือให้เต็มและเตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีคนได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า



ระหว่างเกิดฟ้าผ่าพายุฝน อยู่ในบ้านทำอะไรได้บ้าง

  1. แม้ช่วงเวลานี้พายุซินลากูจะอ่อนกำลังลงแล้ว แต่ประเทศไทยก็อาจจะยังได้รับอิทธิพลจากพายุลูกอื่นๆ ได้อีก แล้วควรทำอย่างไรหากต้องอยู่ภายในบ้านระหว่างเกิดพายุ
  2. ตั้งสติให้มั่น อย่าตกใจจนเกินกว่าเหตุ ค่อยๆ คิดหาวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยและช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
  3. ปิดหัวเตาขณะทำอาหารเมื่อไฟฟ้าดับและปิดอุปกรณ์ที่ใช้แก๊สทุกชนิด
  4. ถ้าต้องอยู่ภายในบ้านหรือในอาคาร เคลื่อนตัวให้ห่างออกจากหน้าต่างหรือวัตถุอื่น ๆ ที่อาจหล่นลงมาจนได้รับอันตราย และควรลงไปอยู่บริเวณชั้นล่างของบ้านหรือของอาคารแทน
  5. หากอยู่นอกตัวบ้าน ควรเข้าไปอยู่ในบ้านหรืออาคาร หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่ขาด เสาไฟฟ้า และต้นไม้
  6. หากกำลังขับขี่ ควรจอดรถ และหยุดอยู่ในบริเวณที่ห่างจากต้นไม้ ถ้าเป็นไปได้ให้วิ่งเข้าไปอยู่ในอาคารที่ปลอดภัย และอยู่ให้ห่างจากสะพานลอย เสาไฟฟ้า และสิ่งอันตรายอื่น ๆ
  7. คอยรับฟังข่าวสารทางวิทยุหรือช่องทางอื่นๆ ที่เป็นไปได้อยู่อย่างเสมอ

หลังพายุสงบแล้ว ต้องทำอย่างไร? ฟื้นตัวให้ได้ไว ทั้งบ้านและคน

  1. ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตัวท่านและบุคคลรอบข้าง
  2. อพยพจากอาคารที่ได้รับความเสียหายและห้ามเข้าไปในอาคารดังกล่าวจนกว่า ทางราชการจะประกาศรับรองความปลอดภัย
  3. โทรแจ้ง 191 เฉพาะกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  4. ถ้าได้กลิ่นแก๊สหรือได้ยินเสียงวัสดุเสียดสีกัน ให้รีบปิดถังแก๊สและเปิดหน้าต่างแล้วหนีจากอาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ไม้ขีดไฟ จุดเทียน จุดไฟ หรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้าในอาคาร
  5. ให้ความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน หากภายในตัวบ้านมีเด็ก คนชรา หรือ ผู้พิการ
  6. ติดต่อขอความช่วยเหลือโดยใช้โทรศัพท์ทางไกลและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ระดับพื้นที่
  7. คอยติดตามรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งหรือรับแจ้งว่าพายุได้สงบลงแล้ว โดยปกติสถานีวิทยุจะแจ้งสถานที่หลบภัยฉุกเฉิน สถานที่ให้บริการด้านสุขอนามัยและรายงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้น



สินมั่นคงประกันภัย ขอร่วมส่งกำลังใจให้กับพี่น้องชาวไทยในทุกพื้นที่ทีกำลังได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในครั้งนี้ และขอให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติได้ในเร็ววัน

ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน จากสินมั่นคงประกันภัย ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.