“เช็กทะเบียนรถ” ว่าใครเป็นเจ้าของรถทำอย่างไร?
“เช็กทะเบียนรถ” คือ การขอตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลเจ้าของรถจากทะเบียนรถ ในกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องต้องใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาคดีความ หากเป็นกรณีอื่นๆ นายทะเบียนจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป ตามเหตุผลและความจำเป็นของผู้ขอ สามารถยื่นคำขอได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่รับผิดชอบ และต้องมีเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานราชการยื่นร่วมด้วย
หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลทะบียนรถจากการให้บริการรับเช็กทะเบียนรถ หรือรับสืบทะเบียนรถโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จะมีโทษทั้งจำเเละปรับตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 สินมั่นคงประกันภัยรถยนต์ รวบรวมวิธีเช็กทะเบียนรถเพื่อตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าของรถอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาฝาก
1. หลักเกณฑ์การยื่นและพิจารณาคำขอเพื่อ “เช็กทะเบียนรถ”
การเช็กทะเบียนรถเพื่อตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลเจ้าของรถ จะเปิดให้ยื่นคำขอเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรถเเละต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปประกอบการพิจารณคดีความเท่านั้น หากผู้ยื่นคำขอต้องการนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นายทะเบียนจะพิจารณาตามเหตุผลและความจำเป็นของผู้ยื่นคำขอเป็นรายกรณีไป มีรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจาณาคำขอเพื่อเช็กทะเบียนดังนี้
1) ผู้ยื่นคำขอจะต้องเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ขอตรวจสอบ
2) กรณีขอรับรองสำเนารายการจดทะเบียนรถและรายการชื่อเจ้าของรถต้องยื่นคำขอ ณ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
3) ผู้ที่ประสงค์จะเข้าตรวจดูหรือขอถ่ายสำเนาข้อมูลข่าวสารต้องแนบหลักฐานตามกรณี ดังนี้
- ศาล ต้องมีหมายศาลหรือคำสั่งศาล
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องมีหนังสือนำส่งเรื่องจากหน่วยงาน เพื่อขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสาร
- ทนายความ ต้องมีสำเนาใบอนุญาตทนายความและสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ หรือสำเนาใบแต่งทนาย
- บริษัทประกันภัย ต้องมีสำเนาหนังสือแต่งตั้งเป็นตัวแทนบริษัทประกันภัย สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
2. เอกสารหลักฐานประกอบการ “เช็กทะเบียนรถ”
ผู้ยื่นคำขอเช็กทะเบียนรถเพื่อตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลเจ้าของรถ ต้องยื่นเอกสารหลักฐานแสดง ความเกี่ยวข้องหรือแสดงวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบข้อมูลประกอบการพิจารณา โดยมีรายละเอียดเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้
1) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง เเละสำเนา พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน)
2) หนังสือรับรองนิติบุคคล (ฉบับจริง เเละสำเนา พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนามให้ครบทุกคน) กรณีสำเนาต้องลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้ครบถ้วนพร้อมประทับตรานิติบุคคลในเอกสารทุกฉบับ (ถ้ามี) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนามทุกคน
3) หนังสือนำส่งเรื่องของหน่วยงานของรัฐขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร (ฉบับจริง) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร
4) สำเนาหนังสือแต่งตั้งเป็นตัวแทนบริษัทประกันภัย พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน กรณีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร
5) สำเนาใบอนุญาตทนายความ หรือสำเนาใบแต่งทนาย กรณีทนายความเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร
6) สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจที่เกิดเหตุ (ฉบับจริง และสำเนา พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน)
3. ขั้นตอนการ “เช็กทะเบียนรถ”
การเช็กทะเบียนรถจะเป็นการดำเนินการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว โดยระยะเวลาดำเนินการจะเริ่มนับตั้งแต่รับคำขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ไม่รวมระยะเวลารอคอย และไม่นับรวมกรณีระบบหรืออุปกรณ์ขัดข้อง คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 ชั่วโมง
1) รับคำขอ
2) ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอ
3) พิจารณา
4) อนุมัติ
5) รับชำระค่าธรรมเนียม
6) ออกใบเสร็จรับเงิน
7) รับรองสำเนาข้อมูลทะเบียนรถหรือสำเนาต้นทะเบียนรถ
8) จ่ายเรื่อง
4. ค่าธรรมเนียมในการ “เช็กทะเบียนรถ”
ค่าใช้จ่ายในการเช็กทะเบียนรถจะเเตกต่างกันตามประเภทรถที่ต้องการตรวจสอบข้อมูล มีรายละเอียดค่าธรรมเนียมดังนี้
1) ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท
2) ค่าขอค้นเอกสาร ครั้งละ 50 บาท (รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท, รถอื่น นอกจากรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 50 บาท)
3) ค่ารับรองสำเนา แผ่นละ 20 บาท
5. ช่องทางบริการเพื่อ “เช็กทะเบียนรถ”
การยื่นคำขอเพื่อเช็กทะเบียนรถสามารถดำเนินการได้ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานขนส่งประจำจังหวัด มีรายละเอียดช่องทางบริการยื่นคำขอเช็กทะเบียนรถดังนี้
1) พื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร ตามเเต่ละเขตพื้นที่รับผิดชอบ
2) กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 (จตุจักร) ติดต่อที่อาคาร 2 กรมการขนส่งทางบก
- ประเภทรถจักรยานยนต์ ติดต่อได้ที่อาคาร 2 ชั้น 1
- ประเภทรถเก๋ง ติดต่อได้ที่อาคาร 2 ชั้น 2
- ประเภทรถกระบะ ติดต่อได้ที่อาคาร 2 ชั้น 3
3) พื้นที่ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด
6. ความผิดตามกฎหมายหาก “เช็กทะเบียนรถ” โดยมิชอบ
หากพนักงานของรัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล นำข้อมูลดังกล่าวออกมาเผยเเพร่โดยมิชอบ จะมีความผิดดังต่อไปนี้
1) พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2) ความผิดเพิ่มในฐานะพนักงานของรัฐ ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
7. ช่องทางติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อ “เช็กทะเบียนรถ”
สามารถติดต่อสอบถามและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
1) กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 5 (จตุจักร) โทรศัพท์ 0-2271-8888
2) สายด่วนศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน โทรศัพท์ 1584
3) สายด่วยศูนย์บริการประชาชน สานักปลัดสานักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 1111
“เช็กทะเบียนรถ” เพื่อตรวจสอบเจ้าของรถคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับบุคคลทั่วไป เเต่จะดีกว่าไหม? ถ้าจะมีตัวแทนจากบริษัทประกันภัยช่วยดูแลทุกความวุ่นวายใจให้คุณ ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม “ประกันภัยรถยนต์คนกรุง” ก็พร้อมช่วยดูแลคุณด้วยเบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท เบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ราคาคงที่เท่ากันทุกปี คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี มาพร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางรถยนต์ (Roadside Assistance Service) สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/premotor.aspx
สินมั่นคงประกันรถยนต์ ..ประกันรถ ประกันเวลา..
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น: