Ads Top

SMK Insurance

ยาเสพติดประเภท 2 เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และผู้ป่วยมะเร็ง

ภายหลังจากที่มีราชกิจจานุเบกษา ได้ออกมาเผยแพร่กฎกระทรวง ที่ได้อนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (เช่น โคเคน-มอร์ฟีน-ฝิ่น ฯลฯ) เพื่อใช้ในการรักษา การศึกษา และประโยชน์ทางราชการ (อ่านประกาศฉบับเต็ม คลิก) ก็เกิดการตั้งคำถามในสังคมว่า ประกาศฉบับนี้จะส่งผลดีหรือร้ายต่อสังคมโดยรวมอย่างไร ใครคือผู้ได้รับประโยชน์ แล้วสุดท้าย จะยิ่งทำให้ยาเสพติดเกิดการแพร่กระจายไปในวงกว้างได้ง่ายกว่าเดิมหรือไม่ วันนี้ สินมั่นคงประกันสุขภาพเก็บข้อมูลมาฝากกันค่ะ

ทำความรู้จักกับยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2

“ยาเสพติด” หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรืออาจเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดผลทั้งต่อร่างกาย จิตใจ และเกิดการเสพติดได้ หากมีการใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แบ่งยาเสพติดออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่

  1. ประเภท1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่มีใช้ในทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า
  2. ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น มอร์ฟีน โคเคน
  3. ประเภท 3 ยาเตรียมที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอผสมไอโอดีน
  4. ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดประเภท 1 หรือ 2 เช่น สารที่ใช้ในการผลิตเฮโรอีน
  5. ประเภท 5 ยาเสพติดที่ไม่จัดอยู่ในประเภท 1-4 เป็นพืช ได้แก่ กัญชา พืชฝิ่น พืชกระท่อม พืชเห็ดขี้ควาย

ยาเสพติดประเภทที่ 2 เอามาใช้ทางการแพทย์อย่างไรได้บ้าง

ก่อนจะมาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 2 ยาเสพติดส่วนใหญ่จะได้รับการสกัดมาจากยางของผลฝิ่น ซึ่งมีส่วนประกอบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ไม่ว่าจะเป็น

  1. ใช้เป็นยาระงับอาการปวดหลัง หรือการผ่าตัดกรณีกระดูกหัก อาการปวดจากแผลไฟไหม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ระงับปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรคมะเร็ง
  2. ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสงบ ระงับปวด ง่วงซึมเซาและรู้สึกสบาย
  3. ยับยั้งการทำงานของศูนย์ควบคุมการไอได้ จึงใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว
  4. ทำให้รู้สึกตื่นตัว พูดมาก เมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้มึนงง นอนไม่หลับ สมองตื่นตัวตลอดเวลา

แม้จะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากได้รับสารเสพติดในปริมาณมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของสารเคมีในสมองและระบบประสาท จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมการใช้งานอย่างเคร่งครัด

ยาเสพติดประเภท 2 อนุญาตให้มีไว้ครอบครองและจำหน่าย กรณีใดบ้าง

เจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตจะพิจารณาออกใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขออนุญาตเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ได้ เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

  1. เพื่อการรักษาหรือป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในทางการแพทย์
  2. เพื่อการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
  3. เพื่อประโยชน์ของทางราชการ

นอกจากนี้ ผู้ขออนุญาตสามารถยื่นขอใบอนุญาตหากมีความประสงค์ที่จะครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติดประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย)
  2. เพื่อเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษา
  3. เพื่อการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
  5. เพื่อใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือหรือเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร

ทั้งนี้ การขอรับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ (1) ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 20 ใน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายออกมาอนุญาตให้มีการจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อเหตุผลทางการแพทย์ได้แล้ว แต่ผลิตผลส่วนใหญ่ที่ได้จากฝิ่นและแตกแขนงสู่ยาเสพติดหลากหลายรูปแบบ ก็ก่อให้เกิดผลเสียแก่เยาวชนและผู้ที่หลงตกอยู่ในวังวนของยาเสพติดได้ในวงกว้างมากกว่าจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างที่ควรจะเป็น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่จะช่วยกันสอดส่องดูแลให้ยาเสพติดถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่กำลังทรมานจากความเจ็บปวดของมะเร็งระยะสุดท้าย

ประกันภัยโรคมะเร็งจากสินมั่นคงประกันภัย ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยบริษัทจะจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก ผู้เอาประกันภัยสามารถนำไปใช้เพื่อ เป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา เช่น ธรรมชาติบำบัด ชีวจิต ฯลฯ เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย

สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6   โทร.1596 หรือ Line : @smkinsurance

สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.