Ads Top

SMK Insurance

ทำไมหมวดอักษรทะเบียนรถยนต์ออนไลน์บางหมวดถึงข้ามไป?

แม้ว่าการจองเลขทะเบียนรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในแต่ละรอบจะมีกำหนดการจองของตัวอักษรประจำหมวดและเลขทะเบียนที่จะเปิดจองแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หลายครั้งที่หมวดอักษรของทะเบียนรถยนต์ที่หมายตาไว้กลับถูกข้ามและไม่เปิดให้มีการจอง จนทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่าทำไมบางหมวดถึงไม่เปิดให้มีการจองผ่านระบบออนไลน์? สินมั่นคงประกันรถยนต์ รวบรวมข้อมูลหมวดอักษรที่อาจไม่เปิดให้จองเลขทะเบียนรถผ่านระบบออนไลน์มาฝาก



1. หมวดอักษรทะเบียนรถเฉพาะประเภทรถ

หมวดอักษรทะเบียนรถยนต์เฉพาะกลุ่มประเภทรถ ตัวอย่างเช่น หมวด ฮฮ (ประเภทรถตู้), มก (ประเภทรถการเกษตร, รถพ่วงเล็ก, รถบด และรถไถ), ทก (ประเภทรถ Taxi) หรือ บก (รถกระบะ) โดยการจองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จะเปิดให้จองหมายเลขทะเบียนรถยนต์ เฉพาะรถในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง หรือรถกระบะ 4 ประตู), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะบรรทุก หรือรถกระบะ 2 ประตู) สำหรับป้ายทะเบียนกรุงเทพเท่านั้น จึงอาจเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถจองหมวดตัวอักษรประจำหมวดและเลขทะเบียนที่หมายตาไว้ผ่านระบบออนไลน์ได้


ฉะนั้น ก่อนการจองเลขทะเบียนผ่านเว็บไซต์ทุกครั้งต้องไม่ลืมตรวจสอบประเภทรถ เเละจังหวัดที่จะใช้จดทะเบียน เนื่องจากการจองเลขทะเบียนออนไลน์จะเป็นการจองสำหรับรถที่ประสงค์ใช้ป้ายทะเบียนกรุงเทพฯ เท่านั้น


2. หมวดอักษรทะเบียนรถสำหรับเทียบหมวดอักษรป้ายทะเบียนรุ่นเก่า

หมวดอักษรทะเบียนรถยนต์สำหรับใช้เทียบเลขทะเบียนให้กับทะเบียนรถยนต์แบบเก่า (ตัวเลข 1 หลักผสมกับตัวอักษร) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวอักษรประจำหมวดหมวดของป้ายทะเบียนรถยนต์รุ่นเก่า ได้แก่ ก, ข, ค, ง, จ, ฉ, ช, ธ, ว, อ, ฮ, ฐ, ศ, ฬ, ษ, และ ณ เช่น 1ก, 2ก, 1ข, 1ค, หรือ 1ง เป็นต้น โดยรูปแบบการเทียบหมวดสำหรับรถในแต่ละประเภทได้ถูกกำหนดไว้แล้ว และรอเจ้าของทะเบียนเก่านำมาเปลี่ยนเป็นทะเบียนรุ่นใหม่ในรูปแบบของป้ายทะเบียนที่จะใช้ตัวเลขนำหน้าตัวอักษร 2 ตัว และตามด้วยหมายเลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น หากมีทะเบียนรุ่นเก่า 4ช-0089 เมื่อนำมาแจ้งเปลี่ยนป้ายทะเบียนจะได้รับการเทียบหมวดใหม่เป็น จค89


ทั้งนี้ สามารถดูประกาศเรื่องกำหนดตัวอักษรบอกหมวดนำหน้าหมายเลขทะเบียนสำหรับเทียบทะเบียนรุ่นเก่าสำหรับรถในแต่ละประเภทได้ ที่นี่


3. หมวดอักษรทะเบียนรถสำหรับการประมูล

หมวดอักษรทะเบียนรถยนต์สำหรับการประมูล คือ ตัวอักษรประจำหมวดและตัวเลขทะเบียนรถยนต์ที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตัวอักษรที่มีความหมายพิเศษและตัวเลขที่มีผลรวมที่มีความหมายดีตามความเชื่อด้านศาสตร์แห่งตัวเลข หรือตัวเลขที่มีลักษณะพิเศษ ตัวอย่างเช่น

กลุ่มเลขเดี่ยว (8), กลุ่มเลขคู่ (88), กลุ่มเลขตอง (888), กลุ่มเลขตองสี่ (8888), กลุ่มเลขคู่สลับ (8800), กลุ่มเลขพัน (8000) หรือกลุ่มเลขหาบ (8008) โดยตัวอย่างหมวดอักษรที่อยู่ในกลุ่มทะเบียนประมูล เช่น 8กก, 8กค, 1กร, 4กก, 7กพ หรือ 7กร


ทั้งนี้ รายได้จากการประมูลทั้งหมดจะถูกนำเข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อสนับสนุนส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดการเข้าร่วมประมูลป้ายทะเบียนสวยได้ ที่นี่ หรือสามารถตรวจสอบเลขทะเบียนประมูลได้ที่ http://www.tabienrod.com/



4. หมวดอักษรทะเบียนรถที่มีความหมายเชิงลบ

หมวดอักษรทะเบียนรถยนต์ที่เมื่อผสมพยัญชนะเเล้วมีความหมายลบ ไม่สุภาพ หรือพ้องเสียงกับกลุ่มคำที่มีความหมายไม่เหมาะสมในข้างต้น กรมการขนส่งทางบกจะไม่นำกลุ่มอักษรดังกล่าวมาใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวด จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเลื่อนหมวดอักษรไปไม่ให้จองร่วมกับเลขทะเบียนรถยนต์ได้ เช่น ตด, งง, จน, ชน, ศพ (สพ, ศบ)


5. หมวดอักษรทะเบียนรถที่มีลักษณะไม่ชัดเจน

หมวดอักษรทะเบียนรถยนต์ที่เมื่อมองจากระยะไกลแล้วไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นตัวอักษรใดแน่ เนื่องจากมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกัน เช่น พผ (ฝ), มฆ หรืออาจรวมไปถึงหมวดอักษรทะเบียนรถยนต์ที่สามารถอ่านออกเสียงเป็นคำที่มีความหมาย เช่น นม, กอ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่มีจำนวนของผู้จดแจ้งทะเบียนรถยนต์เพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้กรมการขนส่งเริ่มพิจารณาใช้งานตัวอักษรประจำหมวดนี้เพิ่มมากขึ้นตามความเหมาะสม


นอกจากนั้นแล้ว การที่มีผู้สนใจจองทะเบียนออนไลน์ในหมวดอักษรบางหมวดเป็นจำนวนมาก อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีการเปิดให้จองหมวดอักษรถัดไปอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดความเข้าผิดใจได้ว่าหมวดอักษรและตัวเลขทะเบียนในบางหมวดไม่เปิดให้จองก็เป็นได้ ดังนั้นแล้ว ผู้ที่สนใจจะต้องคอยหมั่นติดตามประกาศการจองเลขทะเบียนรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้พลาดหมวดอักษรเเละเลขทะเบียนที่หมายตาไว้


อย่าลืม!!! เมื่อจองเลขทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เลือกความคุ้มครองให้รถคุณด้วยประกันรถยนต์ตามเวลา ให้ความคุ้มครอง 6 และ 12 เดือน ด้วยเบี้ยเบาๆ จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพื่อความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง เบี้ยเริ่มต้นที่ 969 บาท คลิก www.smk.co.th/premotor


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.