Ads Top

SMK Insurance

สมรรถภาพทางกายคืออะไร? พร้อมวิธีทดสอบแบบง่ายๆ

เพราะสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่จะทราบได้อย่างไรว่า สุขภาพร่างกายของเรามีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด การตรวจสมรรถภาพร่างกาย (Physical Fitness test) จะช่วยเข้ามาตอบโจทย์ปัญหานี้ได้ เพื่อเสริมสุขภาพร่างกายให้ฟิตและเฟิร์มมากขึ้น สินมั่นคงประกันสุขภาพ มีข้อมูลเรื่องสมรรถภาพทางกายมากบอกต่อค่ะ

สมรรถภาพทางกายคืออะไร?

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (https://www.si.mahidol.ac.th/) ระบุว่า สมรรถภาพทางกาย หรือ ความฟิตของร่างกาย คือ ความสามารถของบุคคลที่จะใช้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำกิจกรรมใด ๆ ที่แสดงความสามารถทางด้านร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือได้หนักหน่วง เป็นเวลาติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ และสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่มีสมรรถภาพร่างกายที่ดีมักจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจร่าเริงแจ่มใส บุคลิกดี มีความมั่นใจในตัวเองสูง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมรรถภาพร่างกายตรวจเช็กได้อย่างไร

  1. การซักประวัติและตรวจร่างกาย เช่น วัดชีพจร ความดันโลหิต รวมถึงการซักประวัติของโรคที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสมรรถภาพ ซึ่งเป็นการประเมินเบื้องต้นหรือข้อควรระวังของการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
  2. วัดปริมาณไขมันในร่างกาย เป็นการวัดค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายโดยใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัดความหนาชั้นไขมันใต้ผิวหนังในจุดต่าง ๆ ของร่างกาย
  3. การวัดสมรรถภาพของระบบทางเดินหายใจ เป็นการวัดประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ที่มีสมรรถภาพของปอดดี จะทำให้มีความทนทานในการทำงาน ไม่เหนื่อยเร็ว ขณะเดียวกันถ้ามีสมรรถภาพของปอดลดลง ก็อาจบ่งบอกถึงการขาดการออกกำลังกาย
  4. การวัดความอ่อนตัวของร่างกาย เป็นการวัดสมรรถภาพของข้อต่อต่าง ๆ รวมทั้งเอ็นและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ ผู้ที่มีความอ่อนตัวของข้อต่อน้อย จะมีโอกาสบาดเจ็บจากการทำงาน หรือออกกำลังกายมากกว่าผู้ที่มีสมรรถภาพความอ่อนตัวดี ดังนั้น หากพบว่าร่างกายมีความอ่อนตัวหรือการยืดเหยียดของข้อต่อน้อย การปฏิบัติตนตามคำแนะนำเบื้องต้น จะช่วยป้องกันและลดการบาดเจ็บของร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และออกกำลังกายได้ดีขึ้น
  5. การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นการวัดแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น กำลังของกล้ามเนื้อแขน ขา เป็นต้น
  6. ตรวจสมรรถภาพของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด เป็นการวัดอัตราการใช้ออกซิเจนขณะออกกำลังกาย ซึ่งจะบ่งชี้ไปถึงประสิทธิภาพของหัวใจ ที่ใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย

  1. อายุและวัย จะมีผลต่อความเหมาะสมในการออกกําลังกายหรือเล่นกีฬา การเลือกกิจกรรม จึงมักแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย เช่น วัยรุ่นเล่นฟุตบอล วัยผู้ใหญ่เล่นเปตอง
  2. เพศ สมรรถภาพทางกายของเพศชายและเพศหญิง จะมีความแข็งแรงแตกต่างกัน
  3. สภาพร่างกาย จิตใจ และพรสวรรค์ เป็นเรื่องของตัวบุคคล เกิดผลมาจากกรรมพันธุ์สิ่งแวดล้อมและขนาดรูปร่างที่แตกต่างกัน
  4. อาหาร มีผลต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เช่น โปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรืออาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรตจะให้พลังงาน
  5. ภูมิอากาศ ส่งผลต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เช่น ในช่วงเช้าอากาศเย็นเหมาะสำหรับการฝึกความอดทน ส่วนการฝึกความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวเหมาะกับช่วงบ่าย
  6. เครื่องแต่งกาย ลักษณะของเสื้อ เช่น แขนสั้น แขนยาว เนื้อผ้า สีของผ้า จะมีผลต่อการออกกําลังกายในแง่ของความคล่องตัว การระบายความร้อน
  7. แอลกอฮอล์และบุหรี่ มีผลต่อสุขภาพโดยตรง เนื่องจากแอลกอฮอล์ที่สะสมอยู่ในเลือดจะกระตุ้นให้ประสาทส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหวด้อยประสิทธิภาพลง ส่วนควันบุหรี่มีสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย นิโคตินทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง คาร์บอนมอนอกไซด์ในควันบุหรี่ยังขัดขวางการจับออกซิเจนในเลือด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนโลหิตต่ำลง

วิธีออกกำลังเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย

การเพิ่มสมรรถภาพทางกาย มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 


  1. ความถี่ของการออกกําลังกาย ควรฝึกหรือออกกําลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์ หรือฝึกวันเว้นวัน
  2. ความเข้มของการออกกําลังกาย ควรให้อัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมายอยู่ระหว่าง 60-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ ในกรณีที่เป็นการออกกําลังกายแบบแอโรบิก ควรให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 70-85 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ
  3. ระยะเวลาของการออกกําลังกาย สามารถแบ่งได้ เป็น
    • การฝึกต่อครั้งควรใช้เวลาระหว่าง 5-30 นาทีต่อวัน แต่ถ้าเป็นการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพควรใช้เวลา 15-60 นาทีหรือมากกว่า
    • การฝึกต่อสัปดาห์ควรใช้ 3-5 วันต่อสัปดาห์หรือฝึกวันเว้นวัน
    • ระยะเวลาที่ใช้ฝึก ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเวลาที่กําหนดจะอยู่ระหว่าง 8-18 สัปดาห์ 
  4. รูปแบบของการออกกําลังกาย ควรคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อ ความต่อเนื่องของกิจกรรม ความเป็นจังหวะ และการใช้ออกซิเจนแบบธรรมชาติ เช่น ว่ายน้ำ วิ่งเร็วสลับวิ่ง รวมถึงการเล่นกีฬาต่างๆ ทุกชนิด (เดินขึ้น-ลงบันไดดีกว่าการใช้ลิฟท์อย่างไร https://www.smk.co.th/newsdetail/355) 

ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ...ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด... แข็งแรง (ฟิตกว่า) เสี่ยงป่วยน้อยกว่า เบี้ยประกันสำหรับคนฟิตกว่าจึงควรจ่ายน้อยกว่า พร้อมรับเบี้ยคืนอีกหากออกกำลัง (ก้าวเดิน) ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/1 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.