Ads Top

SMK Insurance

อาหารติดคอ อาหารติดหลอดลม อาจเสี่ยงเสียชีวิต แก้อย่างไร?

หลายครั้งที่อุบัติเหตุมักเกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดหรือความประมาทเล็กๆ น้อยๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม ไม่เว้นแม้แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะรับประทานอาหาร อย่างกรณีเศษอาหารติดคอและหลอดลม จนเป็นสาเหตุทำให้ขาดอากาศหายใจจนถึงขั้นเสียชีวิต แล้วอาหารติดคอสามารถทำให้เกิดกาเสียชีวิตได้อย่างไร? จะมีวิธีปฐมพยาบาลอย่างไร? หากต้องอยู่คนเดียว หรือแม้แต่ต้องเจอกับคนที่มีอาการอาหารติดคอ สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝาก

 


อาหารติดคอหรือหลอดลมเสียชีวิตได้อย่างไร?

การกลืนอาหารตามปกติ อาหารจะผ่านโคนลิ้นเข้าสู่ลำคอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร สิ่งแปลกปลอมจึงสามารถติดได้ตลอดทางเดินอาหาร ไล่มาตั้งแต่โคนลิ้น ต่อมทอนซิล ฝาปิดกล่องเสียง หลอดอาหารช่วงในคอ และส่วนที่อยู่ในช่องหน้าอก ซึ่งทางเดินหายใจจะมีช่องว่างที่อยู่ร่วมกับทางเดินอาหารบริเวณคอ โดยมีฝาปิดกล่องเสียง และกล่องเสียงขวางอยู่ด้านหน้าของหลอดอาหาร 

เมื่อกลืนอาหารตามปกติ กล่องเสียงจะถูกยกขึ้นมาชิดกับฝาปิดกล่องเสียง ในเวลาเดียวกับการกลั้นหายใจ เป็นการป้องกันไม่ให้อาหารตกลงในกล่องเสียงและหลอดลม สิ่งแปลกปลอมจึงอาจหลุดรอดเข้าไปในทางเดินหายใจจากการสำลักอาหาร การพูด สะอึก ไอ จาม หรือหัวเราะ ในระหว่างที่อาหารอยู่ในปาก เนื่องจากฝาปิดกล่องเสียงจะเปิดพร้อมกับการหายใจเข้าอย่างแรง พาเอาสิ่งแปลกปลอมเข้ากล่องเสียง ติดในกล่องเสียงหลอดลม หรือในปอด

 


อาการเมื่อมีเศษอาหารติดคอ

อาการของผู้ป่วยที่มีเศษอาหารติดคอ จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเศษอาหารเข้าไปติด

1. ในทางเดินอาหาร

มีอาการเจ็บคอ โดยเฉพาะเวลาพูดหรือกลืนอาหารจะเจ็บมาก เจ็บแปลบๆ ในคอ ถ้าเป็นของชิ้นโตจะกลืนอาหารลำบาก หรือกลืนไม่ลงเลย น้ำลายออกมาก อาเจียนหลังกลืนอาหาร และเจ็บบริเวณหน้าอก

2. กล่องเสียง

ถ้าชิ้นโตจะอุดแน่นหายใจไม่ออก หอบ ตัวเขียว ทุรนทุราย ภายในเวลาไม่กี่นาที ถ้าชิ้นเล็กจะมีอาการเจ็บคอ ไอ เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง

3. หลอดลม

อาการเริ่มแรกจะไออย่างรุนแรงเสียงดัง หายใจเสียงดัง หายใจลำบากคล้ายหอบหืด ไอมีเสมหะปนเลือดหรือหนอง หากมีเศษอาหารติดคอเป็นเวลานานจะมีอาการของโรคแทรกซ้อน คือ อาการของโรคปอดบวม ปอดแฟบ ถุงลมโป่งพอง อากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด ฝีในปอด หนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด ฝีหรือหนอง มีอาการเหมือนกับโรคของระบบทางเดินอากาศหายใจได้ทุกโรค

ปฐมพยาบาลอย่างไร? เมื่ออาหารติดคอ

การสำลักมักเกิดจากอาหารหรือสิ่งแปลกลอมอื่นๆ เข้าไปอุดตันคอ หรือ หลอดลม ผู้ที่สำลัก มักไม่สามารถพูด ไอ หรือหายใจได้ และมักมีลักษณะเฉพาะคือใช้มือจับไปที่คอของตนเอง เนื่องจากหายใจไม่ออก หากช่วยไม่ทันภายใน 4 นาที สมองจะเริ่มขาดออกซิเจนและทำให้เสียชีวิตได้ โดยมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นดังนี้

1. วิธีปฐมพยาบาลผู้อื่น

หากพบเห็นผู้ที่กำลังสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม สิ่งแรกที่ควรกระทำคือการประเมินความรุนแรง หากยังมีสติดี และสามารถไอได้ด้วยตัวเอง ให้ผู้ป่วยพยายามไอออกมาด้วยตัวเอง ระหว่างนั้นเฝ้าสังเกตอาการ หากไม่สามารถไอออกมาได้ หรือไม่มีแรงไอออก หรือเริ่มมีอาการของการขาดอากาศหายใจ เช่น สีของใบหน้า เริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ให้ขอความช่วยเหลือด้วยการตามรถพยาบาล และเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยทันที

ในกรณีที่ไม่สามารถไอได้ด้วยตนเอง หรือได้ลองให้พยายามไอแล้วไม่ได้ผล หากผู้ป่วยหมดสติไปแล้ว ให้โทรแจ้งสายด่วน 1669 และเริ่มทำการกู้ชีวิต (CPR, ปั๊มหัวใจหากมีหัวใจหยุดเต้น) ทันที หากยังไม่หมดสติ ให้เรียกรถพยาบาล และทำการตบแรงๆ ที่บริเวณหลังของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอ สามารถทำซ้ำได้ 5 ครั้ง หากสิ่งแปลกปลอมยังไม่ออก ให้ทำ Heimlich Maneuver (ใช้ในผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ) ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  • ขั้นที่ 1 ให้ผู้ป่วยยืนขึ้น
  • ขั้นที่ 2 ยืนข้างหลังผู้ป่วย โดยให้ขาข้างหนึ่ง อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย เพื่อพยุงผู้ป่วยในกรณีที่หมดสติ
  • ขั้นที่ 3 แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า เรากำลังจะให้ความช่วยเหลือ 
  • ขั้นที่ 4 ใช้แขนทั้ง 2 ข้าง โอบรอบเอวผู้ป่วย อย่าให้แขนอยู่บริเวณกระดูกซี่โครง เนื่องจากอาจมีผลทำให้ซี่โครงหักได้
  • ขั้นที่ 5 กำมือข้างหนึ่ง โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ชิดกับตัวผู้ป่วย ในบริเวณที่เหนือสะดือขึ้นมาเล็กน้อย และอยู่ใต้ต่อกระดูกแผงหน้าอก 
  • ขั้นที่ 6 ใช้มืออีกข้างจับมือข้างที่กำเอาไว้
  • ขั้นที่ 7 ออกแรงดันมือที่กำไว้ขึ้นมาทางด้านบนอย่างรวดเร็ว
  • ขั้นที่ 8 ออกแรงให้มากพอที่จะดันสิ่งแปลกปลอมออกมา
  • ขั้นที่ 9 ระลึกไว้ว่า การออกแรงดัน จะทำให้กระบังลมดันให้อากาศออกมาจากปอดของผู้ป่วย ทำให้เกิดลักษณะที่คล้ายกับการไอ
  • ขั้นที่ 10 ออกแรงพยุงผู้ป่วยไว้ เนื่องจากผู้ป่วยอาจหมดสติหาก ไม่ได้ผล
  • ขั้นที่ 11 ทำซ้ำ สามารถทำได้ถึง 5 ครั้ง หากไม่ได้ผลต้องรีบทำการกู้ชีพทันที

2. วิธีปฐมพยาบาลเมื่ออยู่คนเดียว

อ.พญ.ภัทรานิษฐ์ ภัทรพรเจริญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (อาหารติดคอ ปฐมพยาบาลอย่างไร? | พบหมอมหิดลhttps://www.facebook.com/mahidolchannel/videos/412948664082468 ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ 

  • หาวัตถุ หรือ เครื่องเรือนที่มีความโค้งมน
  • โน้มตัวบริเวณกึ่งกลางลิ้นปี่ และ สะดืออยู่ที่วัตถุนั้น 
  • ออกแรงกระแทกจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา

ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ด้วยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) หากต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/2

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.