Ads Top

SMK Insurance

กัญชาและกัญชงต่างกันอย่างไร กัญชาถูกกฎหมายมีเงื่อนไขอย่างไร?

“กัญชา” และ “กัญชง” กลับมาเป็นที่กล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อการปลดล็อกเสรีเริ่มมีผลบังคับใช้ทางการแพทย์ สามารถปลูกเพื่อดูแลสุขภาพตนเองในครัวเรือนและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและประเทศทั้งที่เคยถูกบรรจุให้เป็นสารเสพติดมาก่อน (ยาเสพติดประเภท 2 เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และผู้ป่วยมะเร็ง https://www.smk.co.th/newsdetail/1689) แล้วกัญชาและกัญชงแตกต่างกันอย่างไร? กัญชาถูกกฎหมายมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง? สินมั่นคงประกันสุขภาพมีข้อมูลมาฝากค่ะ  

กัญชาและกัญชง ต่างกันอย่างไร?

ทั้งกัญชาและกัญชงเป็นพืชชนิดเดียวกัน มีลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่สามารถสังเกตในเบื้องต้นได้คือ กัญชงมีใบแคบเรียวและสีเขียวอ่อนกว่า มีลำต้นสูงและแตกกิ่งก้านน้อยกว่า ช่อดอกมียางน้อยกว่ากัญชา จึงมีการนำกัญชงไปใช้เป็นพืชเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้าและเยื่อกระดาษ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กัญชา 

  • กัญชามีชื่อภาษาอังกฤษ เรียกว่า Marijuana
  • ลำต้นมักจะมีลักษณะเตี้ยและเป็นพุ่ม ต้นกัญชาจะแตกกิ่งก้านค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกัญชง ส่วนใบก็สีเขียวจัดจะมีประมาณ 5-7 แฉก
  • ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
  • มีสารให้ความเมา THC (Tetrahydrocannabinol) มากกว่า 1% ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด ลดอาการปวด รักษาโรคลมชัก ช่วยผ่อนคลาย
  • สารแคนนาบินอล (Cannabinol : CBD) มีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบของแผล ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

2. กัญชง 

  • กัญชงมีชื่อภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hemp 
  • ต้นกัญชงมักจะสูงกว่า ในส่วนของใบกัญชงจะมีขนาดใหญ่กว่ากัญชา มีการเรียงสลับของใบที่ห่างกัน ลักษณะของใบกัญชงจะมีประมาณ 7-11 แฉก โดยสีของใบกัญชงจะเป็นเขียวอ่อน
  • กัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย 
  • กัญชง มีสารสำคัญ ทั้ง THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabinol ) ต่ำมาก จึงไม่ได้จัดอยู่ในประเภทยาเสพติด 
  • มีเส้นใยคุณภาพสูงมักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูป เช่น เสื้อผ้า, เยื่อกระดาษ, เชือก เป็นต้น โดยมีความแข็งแรงของเส้นใยมากกว่าฝ้ายถึง 2 เท่า

ปลดล็อกกัญชงและกัญชาเสรีในประเทศ


ภายหลังจากลมีการลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ไปแล้วเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. เป็นวันแรก ทำให้ กัญชาและกัญชง ไม่มีสถานะเป็นยาเสพติดอีกต่อไป ยกเว้นสารสกัดที่มี THC มากกว่า 0.2% จะต้องมีการขออนุญาตเพื่อนำไปใช้ให้ถูกเจตนารมณ์ของกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้จัดทำแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th โดยแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android เพื่อออกใบรับจดแจ้ง โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. ลงทะเบียน ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ"
  2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ 
  3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนและแหล่งที่ปลูกกัญชา และกัญชงทั่วประเทศ 

ประชาชนสามารถจดแจ้งขอปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ "ปลูกกัญ" เพื่อขอรับใบรับจดแจ้งปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการแสวงหาวัตถุดิบและนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาด เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล โดยมีรายงานสถิติการเข้าใช้งานเฉพาะแอปพลิเคชันปลูกกัญ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน เวลา 16.50 น. พบว่า มีจำนวนคนลงทะเบียน 152,860 คน จำนวนการออกใบรับจดแจ้งกัญชา 121,218 ใบ จำนวนการออกใบรับจดแจ้งกัญชง 5,430 ใบ และจำนวนเข้าใช้งานระบบ 9,633,374 ครั้ง 

เปิดเสรีกัญชา ภายใต้กฎระเบียบและข้อยกเว้น

การถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดเป็นเรื่องภายในประเทศ ซึ่งการนำเข้า หรือ ส่งออกจึงมีกฎเกณฑ์ และข้อห้าม ไม่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยประเทศไทยเป็นประเทศนำร่องอาเซียนในการเปิดเสรีกัญชาเป็นประเทศแรกเพื่อให้ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพและการรักษาอาการเจ็บป่วย โดยหลังจากนี้ กรมอนามัย จะออกกฎระเบียบและข้อยกเว้นภายใต้ประกาศของกระทรวง ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าควบคุมการใช้กัญชา กัญชง ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • การก่อให้เกิดความรำคาญ
  • การไม่ให้สูบในที่สาธารณะ 
  • ไม่ให้สูบขณะขับขี่ยานพาหนะ 
  • ช่อกับดอกกัญชา หากนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต้องขออนุญาตและขึ้นทะเบียนกับ อย. ไม่ต่างกับการขึ้นทะเบียนอาหาร หรือ ขึ้นทะเบียนยา

หากมีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและมีความเข้าใจที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง กับประกันภัยโรคมะเร็ง พร้อมจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 Line : @smkinsurance หรือ https://smkinsurance.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.