แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร? ป้องกันตัวอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว?
เหตุธรณีพิบัติอย่าง “แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติที่มักไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเท่าไรนัก แต่มักสร้างผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวของประเทศเพื่อนบ้าน ที่ล่าสุดได้เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณสาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา ขนาด 6.4 ความลึก 3 กิโลเมตร ห่างจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 87 กิโลเมตร และพบว่า พื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ได้รับความรู้สึกสั่นไหวต่อเนื่องหลายครั้ง (แผ่นดินไหวเมียนมา วันเดียว 52 ครั้ง แรงสุดขนาด 6.4 สั่นสะเทือนถึงเชียงราย) แล้วหากมีเหตุไม่คาดฝันอย่าง “แผ่นดินไหว” เกิดขึ้น จะต้องมีการเตรียมรับมือเพื่อป้องกันภัยได้อย่างไร? และแผ่นดินไหวมีสาเหตุจากอะไร สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาเล่าให้ฟังค่ะ
แผ่นดินไหว เกิดจากอะไร?
ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/) ระบุว่า แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยการเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
- เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่
- เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 แนวคิดคือ
- แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
- แผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม
ภัยจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง?
ภัยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น
- ความสูญเสียทางตรง ได้แก่ พื้นดินแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทะลายเนื่องจากแรงสั่นไหว ไฟไหม้ ก๊าซรั่ว คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางคมนาคมเสียหาย โรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
- ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดหรือขัดข้อง การคมนาคมทางบก ทางอากาศชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก มีผลต่อการลงทุนและการประกันภัย เป็นต้น
ส่วนไหนของประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว?
แผ่นดินไหวส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในแนวของรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ส่วนประเทศไทยนั้นไม่มีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหวเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว แต่นักธรณีวิทยาก็พบว่า ยังมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวรอยเลื่อนใหญ่อีกหลายแนวที่ยังไม่มีลักษณะคาดว่าจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้หรือไม่
ปัจจุบันอันตรายที่เกิดขึ้นจากภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยมักเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดกลาง โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่
- บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย
- บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหว เป็นระยะเวลานาน ๆ บริเวณนั้นจะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก
- บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา เช่น บริเวณที่ลุ่ม หรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น
ริคเตอร์ มีความหมายอย่างไร?
ริคเตอร์ คือ การวัดขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็นปริมาณที่สัมพันธ์กับพลังงานแผ่นดินไหว คำนวณขนาดได้จากความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เพื่อบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิดหรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์กลางแผ่นดินไหว” ซึ่งในทางทฤษฎีจะไม่มีขีดจำกัดของความรุนแรง แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีแผ่นดินไหวใดเกิดขึ้นเกินกว่า 9.0 ริคเตอร์
ก่อนเกิดแผ่นดินไหวเตรียมตัวอย่างไร?
- เตรียมไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายา
- เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
- อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ
- ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
- ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
- สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว...ต้องระวังอะไรบ้าง!
- อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติ อย่าตื่นตระหนก
- กรณีอยู่ในบ้าน ให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
- กรณีอยู่ในอาคาร หาที่หลบที่ปลอดภัย เช่น หมอบใต้โต๊ะ หรือจุดที่มีโครงสร้างแข้งแรง
- ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา อาคาร และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ
- อย่าใช้สิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
- หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัย
- ห้ามในลิฟต์โดยเด็ดขาด ขณะเกิดแผ่นดินไหว
- กรณีอยู่ชายทะเล หากสังเกตเห็นน้ำทะเลลดระดับรวดเร็ว ให้รีบหนีขึ้นที่สูง เพราะอาจเกิดสึนามิ
หลังเกิดแผ่นดินไหว…ปฏิบัติตัวอย่างไร?
- หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนรอบข้างได้รับบาดเจ็บหรือไม่
- หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
- หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที
- ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส
- หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ
- ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง
- ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน
- สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้
- ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง
- อย่าแพร่ข่าวลือ หรือหลงเชื่อข่าวลือ
คุ้มครองบ้านคุณให้ปลอดภัยทุกภัยธรรมชาติ ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ (ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำ ท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ และภัยจากลูกเห็บ) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันรักษ์บ้าน หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance หรือสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น: