ภูเขาไฟคืออะไร? ในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง?
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้จังหวัดเชียงรายของประเทศไทยได้รับผลกระทบ และเกิดแรงสั่นสะเทอนตามมาหลายครั้ง (แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร? ป้องกันตัวอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว? https://www.smk.co.th/newsdetail/2926) และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุตระหนกตกใจในประเทศญี่ปุ่น ที่ “ภูเขาไฟซากุระจิมะ” ได้ปะทุขึ้นจนทำให้เกิดกลุ่มควันเถ้าถ่านขนาดใหญ่พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า และทางการญี่ปุ่นได้ประกาศเตือนภัยขั้นสูงสุด (ระดับ 5) พร้อมแนะนำประชาชนให้เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แล้วในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่บ้างหรือไม่? สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ
ภูเขาไฟคืออะไร?
ภูเขาไฟ (Volcano) คือ ภูเขาที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืดร้อนและแรงดันสูงภายใต้เปลือกโลก เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากหินหนืดที่ไหลขึ้นมาแข็งตัวอยู่ภายในหรือภายนอกเปลือกโลก เป็นลักษณะเดียวกับการเกิดหินอัคนี
การระเบิดของภูเขาไฟถือเป็นการปรับสภาพของเปลือกโลกให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น ฝุ่นที่ละอองซึ่งเกิดจากแรงระเบิดของภูเขาไฟจะฟุ้งกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศสตาโตสเฟียร์ทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงจากสภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ดินที่เกิดจากแหล่งภูเขาไฟจะเต็มไปด้วยแร่ธาตุซึ่งเหมาะสำหรับทำการเกษตร ทั้งยังทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น เพชร หรือเหล็ก ได้อีกด้วย
ภูเขาไฟในประเทศไทย
ในประเทศไทย ภูเขาไฟส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณตอนบนของประเทศ มีการกระจายตัวและตำแหน่งที่ไม่แน่นอนอยู่ทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่าย หากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง และล้วนเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วทั้งสิ้น
จากรายงานทางธรณีวิทยาและแผนที่ทางธรณีวิทยาประเทศไทย พบบริเวณที่เป็นหินภูเขาไฟ หรือหินบะซอลต์ ซึ่งเป็นหินที่เกิดจากภูเขาไฟ อยู่ 5 บริเวณ ได้แก่
- ภาคเหนือ ได้แก่ อำเภอแม่ทา อำเภอสบปราบ และอำเภอเมืองลำปาง ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และสุโขทัย เป็นหินบะซอลต์ ไรโอไลต์ แอนดีไซต์ และแอกโกเมอเรต (ศิลาแลง)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากทางตอนใต้ของภาค บริเวณเขากระโดง เขาพนมรุ้ง และภูอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และทางทิศใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ
- ภาคกลาง พบที่จังหวัดสระบุรี โคกสำโรง หล่มเก่า ท่าลี่ และทางด้านทิศตะวันตกของภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
- ภาคตะวันตก พบที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
- ภาคตะวันออก พบที่บ้านบ่อไร่ จังหวัดตราด บ้านบ่อพลอย จังหวัดจันทบุรี
จากการตรวจสอบหลักฐานของนักธรณีวิทยา พบว่า ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟที่ได้ระเบิดขึ้นเมื่อประมาณ 7 แสนล้านปีผ่านมาแล้ว ได้แก่
1. ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทหินทรายสีชมพูสวยงาม สร้างขึ้นบนยอดภูเขาลูกเตี้ยๆ ที่มีลักษณะเป็นปากปล่องภูเขาไฟ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานสำหรับเมืองใหญ่ในที่ราบใกล้เคียงกันชื่อเมือง วนัมรุงปุระ ในสมัยขอมเรืองอำนาจ
2. ภูเขาไฟหินหลุบ และภูเขาไฟคอก จ.บุรีรัมย์
“ภูเขาไฟหลุบ” อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ “ภูเขาไฟเขาคอก” ตั้งอยู่ในอำเภอประโคนชัย ภูเขาไฟทั้งสองแห่งนี้ เเม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็ยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาในเรื่องเกี่ยวกับภูเขาไฟของไทยได้เป็นอย่างดี
3. ภูเขาไฟอังคาร ภูพระอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ตั้งอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากภูเขาไฟพนมรุ้ง ที่ยอดเขาอังคารแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ “วัดเขาพระอังคาร” ที่มีโบสถ์ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์หลายสมัยที่สวยงามแปลกตา และภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ชม
4. ภูเขาไฟกระโดง เขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีปากปล่องทะลุเห็นได้ชัดเจน รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด บนเขากระโดงยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น
5. ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์
ซากภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่ มีสัณฐานของช่องปล่องประทุระเบิดชัดเจน เนินภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟ (Pyroclastic Materials) ซึ่งเกิดจากแรงดันของก๊าซ (Gas) ต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในหินหลอมละลาย เช่น ไอน้ำ (70.75%) คาร์บอนไดออกไซด์ (14.07%) ไฮโดรเจน (0.33%) ไนโตรเจน (5.45%) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (6.40%) ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ (1.93%) เป็นต้น เศษหินภูเขาไฟเหล่านี้เป็นมวลหินหลอมละลายที่ถูกดันประทุขึ้นไปและเย็นแข็งตัวในอากาศ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีชื่อเฉพาะเรียกแตกต่างกัน
แม้ภัยธรรมชาติจากภูเขาไฟระเบิดแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทยในยุคปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก็อาจเกิดขึ้นได้ และอาจเป็นภัยพิบัติรุนแรงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ คุ้มครองบ้านคุณด้วยประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำ ท่วม ภัยจากแผนดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด คลื่นใต้น้ำ สีนามิ หรือภัยจากลูกเห็บ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันรักษ์บ้าน หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น: