Ads Top

SMK Insurance

เอาตัวรอดจากฝูงคนจากเหตุ “Crowd Crush”

นับเป็นโศกนาฏกรรมที่สร้างความหดหู่ใจให้กับผู้คนทั่วโลกกับงานฉลองเทศกาลฮาโลวีนของเกาหลีใต้ เมื่อได้เกิดเหตุการณ์เหยียบกันตายที่อิแทวอน ย่านสถานบันเทิงชื่อดังยามราตรีในกรุงโซล เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา (สรุปโศกนาฏกรรมอิแทวอน เหยียบกันตายเซ่นฮาโลวีน https://www.thairath.co.th/news/foreign/2539846) ทำให้เกิดข้อกังวลใจว่า หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิด สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาเล่าให้ฟังค่ะ

Crowd Crush คืออะไร?

Crowd Crush คือ เหตุการณ์เสียชีวิตจากการเบียดของคนจำนวนมาก หรือ Stampede มักเกิดจากการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก ทำให้เมื่อเกิดเหตุต่างๆ ทำให้ฝูงชนเกิดอาการตกใจ แตกฮือ จนทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 

เจอฝูงชนหมู่มากอาจเสียชีวิตจาก “ขาดอากาศหายใจ”

นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emergency Medicine เจ้าของเพจ "ห้องฉุกเฉินต้องรู้" (https://www.facebook.com/ERMUSTKNOW) ได้ให้ความรู้สำหรับเหตุการณ์ที่อิแทวอนไว้ว่า สาเหตุของการเสียชีวิตจากสถานการณ์เหยียบกันตาย อาจไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากการโดนเหยียบด้วยเท้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการขาดอากาศหายใจแม้ในบริเวณนั้นจะเป็นพื้นที่โล่งมีอากาศไหลผ่านก็ตาม สาเหตุเพราะทรวงอกไม่สามารถขยายออกได้เพียงพอ หรือที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Compression Asphyxia Compression คือ การถูกกดทับจากภายนอกจนเกิดภาวะ Asphyxia (แอส-ฟิก-เซีย) หรือ ภาวะขาดอากาศหายใจ


เมื่อฝูงชนเกิดการเบียดเสียดเป็นจำนวนมากทำให้ระยะห่างของแต่ละคนมีน้อยมาก เมื่อลำตัวชิดกันจน “หน้าอกขยาย” ไม่ได้ เมื่อถูกคนข้างๆ กดเบียดเอาไว้ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าไม่ได้ จึงหมดสติ และหากขาดอากาศหายใจนานเกิน 3-5 นาที อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

การช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุฝูงชนล้มเป็นโดมิโน่

เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ฝูงชนล้มทับถมกันเป็นโดมิโน่ ทำให้มีผู้ประสบเหตุเป็นจำนวนมาก เมื่อเคลียร์ฝูงชนออกจากที่แออัดได้แล้ว ทีมกู้ชีพจำเป็นจะต้องเริ่มการช่วยชีวิตด้วย “Triage Algorithm” หรือ การคัดกรองและจัดลำดับขั้นการรักษา ตามความรุนแรงและความเร่งด่วน ซึ่งทีมกู้ชีพจะต้องคัดแยกความเร่งด่วนของผู้ประสบภัยที่กำลังนอนเรียงรายบนถนน แบ่งตามระดับ แดง-เหลือง-เขียว เพื่อบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ โดยเฉพาะเวลา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผู้ป่วยสีเขียวคือผู้ป่วยที่ยังสามารถเดินได้ ไม่ต้องการการปฐมพยาบาลมากให้แยกไว้ในที่ปลอดภัยโดย เพื่อให้ทีมสามารถทุ่มศักยภาพไปดูแลคนไข้สีเหลือง และสีแดงได้อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต ในขณะที่ผู้ป่วยที่หมดสติ ไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น จัดเป็นผู้ป่วยสีแดงที่ต้องรีบเข้ารับการช่วยเหลือในทันที ต้องรีบปั๊มหัวใจและช่วยชีวิตในทันที (CPR) (ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนอย่างไร? https://www.smk.co.th/newsdetail/2941

ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัย ก่อนเจอสถานการณ์ Crowd Crush

วิธีเอาตัวรอดจากการเบียดหรือเหยียบกันตาย (crowd crush) มีแนวทางเบื้องต้น ดังนี้

1. ลืมตาสอดส่องเส้นทางอยู่เสมอ

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวต้องออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด ดังนั้น ต้องใจเย็นและพยายามมองหาทางไปต่อ ไม่ว่าจะย้อนกลับทางเดิม หรือไปต่อข้างหน้า โดยพยายามคาดเดาให้ได้ว่า จุดศูนย์กลางของการเบียดกัน หรือว่าง่ายๆ ว่า ที่ที่คนรวมตัวกันอยู่เยอะที่สุดคือจุดไหน และ (หากเป็นไปได้) ให้เคลื่อนไปทางที่ผู้คนเบาบาง หรืออาจหาทางปีนขึ้นไปอยู่บนขอบกำแพงแทน

2. เมื่อรอบตัวคนเริ่มเบียดกันมากขึ้น ให้ออกห่างจากจุดนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

อย่าลังเลที่จะออกจากบริเวณที่แออัดทันทีที่เริ่มรู้สึกไม่สบายใจ และในขณะที่ยังมีที่ว่างพอที่จะเคลื่อนไหว การออกจากฝูงชนจะช่วยลดอันตรายให้กับผู้อื่นได้ เพราะพื้นที่จะแออัดน้อยลงสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในจุดนั้น

3. พยายามยืนตั้งมั่นไว้ 

หากไม่สามารถหนีออกจากจุดเกิดเหตุได้ทันให้พยายามยืนตั้งมั่นรักษาการทรงตัวไว้ให้ดี เพราะหากมีคนล้มลง ก็จะกลายเป็นโดมิโน่เอฟเฟกต์ทันที ดังนั้น หากเราล้มลงปุ๊บ น้ำหนักของคนอื่นๆ ก็จะตรึงเราไว้กับที่ ทำให้เราลุกขึ้นไม่ได้ และเสี่ยงต่อการโดนเหยียบจนเสียชีวิตได้

4. พยายามสูดลมหายใจเข้า

ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายเราอย่างยิ่ง ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เหยียบกันตายส่วนมากมักเกิดจากการขาดอากาศหายใจ หลีกเลี่ยงการกรีดร้อง (ยกเว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นต้องส่งเสียง) เพื่อควบคุมการหายใจให้ดี

5. ใช้แขนตั้งการ์ดกันบริเวณทรวงอก

หากการเบียดกันเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ให้ยกแขนขึ้นมากันบริเวณทรวงอก (คล้ายๆ กับการตั้งการ์ดของนักมวย) เพื่อป้องกันกระดูกซี่โครง แต่ต้องไม่ตั้งการ์ดชิดกับอกจนเกิดไป ควรเว้นห่างไว้ 2-3 เซนติเมตร เพื่อให้ปอดสามารถหายใจได้

6. ไหลไปตามฝูงชน อย่าฝืน

เป็นเรื่องปกติหากมีการดันไปอีกทาง ผู้คนมักจะฝืนดันกลับเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ แต่เป็นการต้านแรงที่เสียเปล่า ควรปล่อยตัวเองให้ไหลไปตามทิศทางที่ฝูงชนเคลื่อน พร้อมกับรักษาสมดุลของร่างกายให้มั่นคงไปด้วย

7. พยายามออกห่างจากสิ่งกีดขวาง

ผู้เสียชีวิตรายแรกๆ จากการเบียดกันตาย โดยมากมักมาจากการถูกอัดเข้ากับกำแพง ดังนั้น หากเป็นไปได้ให้พยายามอยู่ห่างจากกำแพงมากที่สุดเท่าที่ทำได้

8. ประเมินความหนาแน่นของฝูงชน ด้วยวิธีการดังนี้

  • หากไม่มีการสัมผัสทางกายภาพกับคนรอบข้าง ประมาณการได้ว่า ความหนาแน่นน่าจะยังน้อยกว่าสามคนต่อตารางเมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปลอดภัย
  • หากกำลังชนกับคนรอบตัว 1-2 คนโดยไม่ได้ตั้งใจ ความหนาแน่นของฝูงชนจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 คนต่อตารางเมตร ถือว่ายังไม่มีอันตรายในทันที แต่ควรย้ายออกจากศูนย์กลางของความแออัด
  • หากไม่สามารถขยับมือได้อย่างที่คิด จนถึงขึ้นเริ่มยกมาแตะหน้าตัวเองไม่ได้ แปลว่าผู้คนแออัดกันอยู่มากเกินไป และกำลังจะเกิดอันตรายขึ้น


คุ้มครองความปลอดภัยให้คุณเมื่อต้องเกิดเหตุไม่คาดคิดจนได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย จนส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ดูแลคุณด้วยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได้ที่  https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.