Ads Top

SMK Insurance

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น บาดแผลจากของมีคม

อุบัติเหตุมักเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดอยู่เสมอ และหลายครั้งที่ผู้ประสบเหตุหรือคนแวดล้อมในบริเวณนั้นไม่รู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นจนอาจสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของผู้ป่วยได้มากขึ้น หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต (แผ่นเจียรกระเด็นเข้าอกช่างรับเหมา ใช้มือดึงออก เลือดไหลหมดตัวเสียชีวิต) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าที่คิด สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาบอกต่อค่ะ

แผลโดนแทง (Puncture Wound) หรือแผลจากของมีคม คืออะไร?

แผลโดนแทง หรือ แผลถูกแทงด้วยของแหลม คือ แผลเกิดจากการทะลุผ่านเนื้อเยื่อจากของมีคม อาจจะลึก ตื้น มีขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาแผลโดนแทง หรือ แผลถูกแทงด้วยของแหลม จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล ขนาด และความเร็วของวัตถุที่ทำให้เกิดแผล และวิธีการรักษายังแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุที่แทงเข้ามานั้นยังคงอยู่ในร่างกายหรือถูกเอาออกไปแล้ว

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแผลจากของมีคม

หากบาดแผลจากของมีคมเกิดการปนเปื้อน ผู้ที่มีบาดแผลควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Shot) แต่โดยปกติแล้ว บาดแผลที่เกิดขึ้นบริเวณเท้าจะเป็นบาดแผลที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ในทันทีและมีความเสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อน

ขั้นตอนการปฐมพยาบาลสำหรับแผลจากของมีคม

สำหรับขั้นตอนในการปฐมพยาบาลบาดแผลจากของมีคมหากต้องเผชิญกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า โดยขั้นตอนแรก ให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังสากลและสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เมื่อมั่นใจแล้วว่าผู้ช่วยเหลือปลอดภัยเพียงพอที่จะเข้าใกล้ผู้บาดเจ็บและมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง เช่น ถุงมือ แว่นตา แล้ว ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. พยายามห้ามเลือด แต่ห้ามดึงวัตถุที่หักคาอยู่ออกโดยเด็ดขาด

ด้วยการกดที่แผลจากของมีคม หรือ แผลถูกแทงด้วยของแหลมโดยตรง พยายามยกแผลให้อยู่ในระดับเหนือหัวใจเป็นเวลา 15 นาที เท่านี้ก็เพียงพอที่จะห้ามเลือดได้ โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • ห้ามดึงของที่ปักคาอยู่ออกโดยเด็ดขาด 
  • ห้ามกดหรือขยับวัตถุนั้น เพราะจะทำให้เลือดออกอย่างมากในทันที จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 
  • พยายามให้คนเจ็บอยู่นิ่งที่สุด หากมีเลือดซึมจากแผล  ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด กดเบา ๆ ตรงแผล รอบวัตถุที่ปักคาอยู่ได้ 
  • ตรึงวัตถุที่ทำให้เกิดแผลไว้กับลำตัวให้แน่นเพื่อความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย

หากไม่ใช่การกดที่แผลโดยตรง อาจใช้วิธีการกดบริเวณจุดกดห้ามเลือด (Pressure Points) ซึ่งเป็นบริเวณของร่างกายที่เส้นเลือดวิ่งใกล้กับผิวด้านนอก รวมถึงหลอดเลือดแดงบริเวณแขน (Brachial Artery) หลอดเลือดแดงบริเวณต้นขา (Femoral Artery) และหลอดเลือดแดงบริเวณขาพับ (Popliteal Artery) ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายรัดห้ามเลือด (Tourniquets) เว้นแต่การดูแลทางการแพทย์จะล่าช้าไปหลายชั่วโมง

2. โทรเรียกรถพยาบาลทันที

บาดแผลจากการโดนของมีคมอาจเป็นบาดแผลลึกแต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดบาดแผล บาดแผลที่เกิดขึ้นอาจจะอยู่บริเวณคอ หน้าท้อง หลัง กระดูกเชิงกราน ต้นขา หรือหน้าอก ส่วนแผลโดนแทงในบริเวณอื่น ๆ แม้ว่าจะตื้น แต่ก็ควรต้องโทรเรียกรถพยาบาลเช่นกัน เพราะหากเกิดบาดแผลที่หน้าอกจนเป็นรู อาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดและยังอาจทำให้ปอดยุบได้ บาดแผลโดนแทงที่หน้าอกควรปิดแผลทันทีด้วยมือหรือผ้าพันแผล หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลงหลังจากปิดบาดแผล อาจจะมีการบ่นว่าหายใจไม่อิ่ม ควรเปิดมือหรือผ้าพันแผลออกชั่วคราว

วิธีดูแลบาดแผลด้วยตัวเอง

ไม่เพียงแต่การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรให้ความสำคัญ การดูแลและการเยียวยาตนเองหลังจากการรักษาหรือการปฐมพยาบาลถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการรักษาแผลให้สมานกันตามลำดับแล้ว แต่ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้

1. ทำความสะอาดแผล ด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำสบู่ เช็ดรอบ ๆ แผล

ค่อย ๆ เปิดน้ำไหลผ่านแผลให้สะอาด หลังจากนั้นใช้ผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำสบู่อุ่น ๆ เช็ดตรงบริเวณแผล แต่ระวังอย่าให้น้ำสบู่เข้าแผล เพราะอาจจะทำให้แผลเกิดอาการระคายเคืองได้  แล้วจึงใช้ผ้าสะอาดซับจนแห้งสนิทอีกครั้ง หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลโดยเฉพาะ ก็สามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลือเช็ดรอบๆ แผลได้เลย ไม่ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล ด้วยวิธีการเทใส่ตรงบริเวณแผลเปิดโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ อาจจะทำให้แผลหายช้าและเกิดอาการระคายเคืองตามมา 

2. ทำแผลด้วยครีมหรือยาฆ่าเชื้อ แล้วปิดพลาสเตอร์

ใช้ครีมหรือยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อเเบคทีเรียทาบนเเผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นให้ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าปิดแผลที่สะอาดด้วยการพันรอบ ๆ แผลอย่างมิดชิด หลังจากนั้นก็พึ่งลมให้แผลแห้งสนิท หรืออาจใช้ยาฆ่าเชื้อภายนอก (Topical Antiseptic) อย่างเช่น โพวิโดน-ไอโอดีน ทาแผล เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อได้เช่นกัน หากรู้สึกปวดมาก ๆ ก็สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดได้  และต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมตามฉลากยาอีกด้วย แต่ห้ามกินยาแอสไพริน เพราะจะมีสรรพคุณเจือจางเลือด ทำให้เลือดไหลออกมาเยอะขึ้น

3. หมั่นดูแลเเผลอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแผลจะแห้งสนิท

เมื่อทำแผลและทายาเรียบร้อยแล้ว  ต้องหมั่นดูแลแผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น ด้วยการเปลี่ยนผ้าพันแผลเดิม แล้วใช้เป็นผ้าพันแผลอันใหม่แทน อย่าลืมทาครีมฆ่าเชื้อลงบนแผลก่อนปิดผ้า และควรทายาวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำเช้า-เย็น  จากนั้นจึงผึ่งลมให้แห้งตามปกติจนกว่าแผลจะหาย และควรติดพลาสเตอร์แบบกันน้ำ และหากแผลเปียกน้ำควรรีบแกะพลาสเตอร์ออกแล้วเปลี่ยนอันใหม่แทน พยายามอย่าทำให้แผลเปียกน้ำ และห้ามสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายต่อแผล

4. แผลติดเชื้อ เป็นหนอง เลือดไหลไม่หยุด ควรพบเเพทย์ทันที

ควรสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา หากเลือดไหลไม่หยุดแสดงว่าบาดเเผลอาจจะโดนหลอดเลือดแดง ต้องรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งระหว่างเดินทางนั้นให้ใช้ผ้าสะอาดกดบาดแผลไว้ เพื่อไม่ให้เลือดไหลซึมออกมา หรือถ้าพบว่าแผลยังคงบวม มีหนองไหล และไข้ขึ้นสูง ก็ควรรีบไปพบเเพทย์เช่นกัน 

เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดอยู่เสมอ หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลได้ง่ายๆ เพียงเลือกทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ให้ความคุ้มครอง กรณีประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย โดยให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร.1596  Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได้ที่  https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.