Ads Top

SMK Insurance

เทคนิคช่วยชีวิตผู้ป่วยหมดสติ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแบบไม่ทันคาดคิด และต้องพบเจอผู้ป่วยที่หมดสติทั้งจากภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือไม่สามารถจับชีพจรได้ นอกจากจะต้องทำ CPR หรือทำการช่วยชีวิตในเบื้องต้นแล้ว (ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนอย่างไร? ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าใด? https://www.smk.co.th/newsdetail/2941) ยังต้องใช้เคล็ดลับในการเปิดทางเดินหายใจ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ได้เร็วที่สุด จะมีเทคนิคการช่วยชีวิตอย่างไร สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ


สาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น

ภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จมน้ำ, เป็นอัมพาต, สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ, สูดดมควันเข้าไปมาก, ได้รับยาเกินขนาด, ไฟฟ้าดูด , อยู่ในที่ไม่มีอากาศหายใจ, บาดเจ็บ, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ถูกฟ้าผ่า หรือสมองสูญเสียการทำงานจนโคม่า

ภาวะหัวใจหยุดเต้นจะทำให้การไหลเวียนของเลือดหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการไม่มีความเคลื่อนไหว ไม่มีอาการไอ คลำชีพจรไม่ได้ ไม่มีการหายใจอย่างที่เป็นตามปกติ โดยภาวะหัวใจหยุดเต้นอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือที่เรียกกันว่าหัวใจวาย หรืออาจเกิดขึ้นตามหลังภาวะหยุดหายใจ 

หัวใจหยุดเต้น ยังมีโอกาสฟื้นได้

เมื่อร่างกายหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น หากรีบทำการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ก็จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดและมีเลือดไหลเวียนเอาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอที่จะทำให้สมองยังทำงานได้โดยไม่เกิดสมองตาย ผู้ป่วยจึงยังมีโอกาสที่จะกลับฟื้นขึ้นมามีชีวิตปกติได้

เทคนิคการปั๊มหัวใจ

เทคนิคในการกดปั๊มหัวใจมีขั้นตอนดังนี้

  1. วางมือข้างหนึ่งทาบบนอีกมือข้างหนึ่งโดยไม่ประสาน หรือจะประสานนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันก็ได้ เพียงแต่ต้องคอยระวังให้น้ำหนักผ่านส้นมือล่างลงบนกระดูกหน้าอก โดยไม่กดน้ำหนักลงบนกระดูกซี่โครง เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหักได้
  2. ตรึงข้อศอกให้นิ่ง ให้แขนเหยียดตรง อย่างอแขน โน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ ให้ทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก ถ้าแรงกดมีทิศทางเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แรงจะถูกแตกไปเป็นสองส่วนทำให้แรงที่จะกดหน้าอกในแนวดิ่งไม่มีประสิทธิภาพ
  3. กดหน้าอกให้ยุบลงไปหนึ่งนิ้วครึ่งถึงสองนิ้วหรือ 4-5 ซม. ถ้ายุบมากกว่านี้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักยกเว้นถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่มาก อาจต้องกดให้หน้าอกยุบลงไปมากกว่านี้ได้
  4. ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือขึ้นมาให้สุด อย่าคาน้ำหนักไว้เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ แต่อย่าให้ถึงกับมือหลุดจากหน้าอกเพราะจะทำให้ตำแหน่งมือถูกเปลี่ยนไป

เทคนิคเปิดทางเดินหายใจ

การเปิดทางเดินหายใจมีสองวิธี คือ

1. วิธีดันหน้าผากและดึงคาง (head tilt-chin lift)

ใช้ได้กับผู้หมดสติทั่วไปที่ไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ โดยเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผาก เอานิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งดึงคางขึ้น ใช้นิ้วมือดึงเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่าง โดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้นจนฟันล่างถูกดึงขึ้นมาจนเกือบชนกับฟันบน

2. วิธียกขากรรไกรล่าง (jaw thrust)

ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกกรณี แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำยากและเมื่อยล้าเร็ว จึงแนะนำให้ใช้กับกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอเท่านั้น ผู้ช่วยชีวิตต้องไปอยู่ทางศีรษะของผู้หมดสติ วางมือทั้งสองข้างไว้ที่บริเวณแก้มซ้ายและขวาของผู้หมดสติให้นิ้วหัวแม่มือกดยันที่กระดูกขากรรไกรล่าง ตรงใต้มุมปากทั้งสองข้างนิ้วที่เหลือทั้งหมดเกี่ยวกระดูกขากรรไกรล่าง เอาข้อศอกยันบนพื้นที่ ผู้หมดสตินอนอยู่แล้วดึงกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นมา

เทคนิคการเป่าปากช่วยชีวิต

วิธีที่ 1. เป่าแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและดึงคาง

ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบที่จมูกผู้หมดสติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เพื่อให้ได้ความเข้มข้นของออกซิเจนในลมหายใจมากขึ้น ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติ และเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้น เป่านาน 2 วินาทีแล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออก ผ่านกลับ ออกมาทางปาก

วิธีที่ 2. เป่าแบบปากต่อปากขณะยกขากรรไกรล่าง

ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างดันขากรรไกรล่างให้ปากผู้หมดสติเผยอเปิดออก ก้มลงเอาแก้มปิดรูจมูกทั้งสองรู ไว้ให้แน่น ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติแล้วเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้น เป่านาน 2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออกผ่านกลับออกมาทางปาก

แม้การทำ CPR และใช้เทคนิคการเป่าปากหรือเปิดทางเดินหายใจเพิ่มเติมอาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่ยากสำหรับหลายคนเพราะไม่เคยได้รับการฝึกหัดมาก่อน แต่อย่างน้อยก็ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้ไม่มากก็น้อย ช่วยให้คุณปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดมากขึ้น ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ให้ความคุ้มครอง กรณีประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.