ข้อควรรู้ระวังภัยเมื่อเกิดเหตุ “เรือล่ม”
เป็นความไม่มั่นใจสำหรับใครหลายคน เมื่อมีความจำเป็นต้องโดยสารทางน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางข้ามทะเลที่อาจต้องประสบกับปัญหาคลื่นลมแรงโดยไม่คาดคิด จนอาจส่งผลร้ายแรงจนถึงขั้นเรืออัปปาง (เปิดไทม์ไลน์ เหตุเรือหลวงสุโขทัยล่มกลางทะเล https://www.thaipost.net/general-news/286987/) การมีทักษะและความรู้พื้นฐานเบื้องต้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคนที่โดยสารทางเรือ สินมั่นคงประกันภัยจึงเก็บข้อมูลมาฝากค่ะ
ประเภทของเรือโดยสาร
ศูนย์ควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล กรมเจ้าท่า ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เรือโดยสารสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเรือได้ง่าย ๆ 3 ประเภท ได้แก่
- เรือโดยสารธรรมดา สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 100 คน มีทั้งแบบ 1 ชั้นและ 2 ชั้น ใช้ความเร็วปานกลางประมาณ 10-15 นอต
- เรือสปีดโบ๊ต ขนาดเล็ก บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 10-30 คน และเรือสปีดโบ๊ตขนาดใหญ่ บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 40 คน ใช้ความเร็วสูง 35-40 นอต จึงเป็นที่นิยมในการใช้ข้ามเกาะ แต่มีราคาค่อนข้างสูง
- เรือเฟอรี่ สามารถบรรทุกรถและสิ่งของได้ ใช้ความเร็วไม่มาก ประมาณ 10 นอต แต่มีขนาดใหญ่และต้องอาศัยท่าเรือแบบพิเศษ เนื่องจากต้องมีการนำรถขึ้นเรือด้วย สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 300 คน และรถยนต์ประมาณ 30-40 คัน แล้วแต่ขนาดและน้ำหนักของรถ
สาเหตุของเรือล่ม
เรือล่มนั้นสามารถเกิดอุบัติเหตุได้จากการมีน้ำเข้าเรือและมีสาเหตุได้หลายลักษณะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
- เรือรั่วหรือทะลุ เป็นเรื่องของการดูแลตรวจสอบสภาพเรือก่อนออกทะเล บางครั้งไม่ดูแลและซ่อมบำรุงให้ดี แต่เป็นการซ่อมแบบชั่วคราว อาจเกิดรอยรั่วระหว่างทาง ทำให้น้ำเข้าเรือจนล่มได้
- เรือชนก้อนหินจากคลื่นลมแรง แต่มีโอกาสเกิดน้อย
- เรือชนกัน ซึ่งส่วนมากมักเป็นอุบัติเหตุเรือสปีดโบ๊ตชอบแข่งขันกันเพื่อแย่งผู้โดยสาร ซึ่งอาจทำให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บและกระเด็นตกน้ำจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งแตกต่างจากเรือล่มปกติทั่วไปที่มีเวลาเตรียมตัวสละเรือ ลงน้ำ และรอความช่วยเหลือ
เสื้อชูชีพต้องพร้อม เรือชูชีพต้องมี ใช้อย่างไร?
สำหรับอุปกรณ์การช่วยเหลือบนเรือโดยสารขนาดใหญ่ นอกจากเสื้อชูชีพแล้ว ยังต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
- เรือแพชูชีพลักษณะเป็นแคปซูล เมื่อโยนลงไปในน้ำจึงจะกางออก ทำให้ผู้โดยสารยังไม่สามารถนั่งได้เมื่ออยู่บนเรือ ต้องกระโดดลงไปในน้ำก่อนแล้วจึงค่อยปีนขึ้น
- หากอยู่รวมกันที่จุดรวมพลแล้วกระโดดลงไปในน้ำในจุดใกล้เรือแพชูชีพก็จะง่ายต่อการช่วยเหลือ แต่หากแยกย้ายกันไปกระโดดลงน้ำแล้ว จะไม่สามารถว่ายน้ำมาขึ้นเรือแพชูชีพได้ เนื่องจากกระแสน้ำและกระแสคลื่นลมแรงมาก อาจถูกพัดพาออกไปไกล และตกหล่นจากความช่วยเหลือ
- เรือแพชูชีพขนาดใหญ่สามารถรองรับคนได้ประมาณ 40-50 คน มีความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 50 เซนติเมตร เด็ก ผู้หญิง และคนชราปีนขึ้นเองยากจึงต้องมีคนเรือมาช่วยดึงขึ้น
- เมื่อลงเรือไปแล้วต้องเกาะเชือกกันไว้เป็นกลุ่มเพื่อง่ายต่อการช่วยเหลือ
สำหรับอุปกรณ์การช่วยเหลือ ใบอนุญาตเรือจะระบุว่าจำนวนผู้โดยสารที่เรือบรรทุกได้ 300 คน ต้องมีเสื้อชูชีพและเรือแพรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยว่า 300 คน และควรมีการซ้อมใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น ซ้อมใช้เรือแพ ซ้อมการรวมพล การสวมเสื้อชูชีพ การรู้จักสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณสละเรือ
ปกป้องชีวิตจากเหตุเรือล่ม
การประเมินสถานการณ์ขณะประสบเหตุว่าเรือจะล่มหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ตัดสินใจยากสำหรับกัปตันเรือ เพราะโดยปกติแล้วการอยู่บนเรือใหญ่จะช่วยรักษาความปลอดภัยได้มากกว่าไปลอยตัวอยู่ในน้ำทะเลและถูกคลื่นลมซัด กัปตันจึงต้องพยายามปกป้องผู้โดยสารปลอดภัยด้วยการให้อยู่บนเรือใหญ่ก่อน แต่ถึงที่สุดแล้วถ้าเรือจะต้องล่ม กัปตันต้องเป็นผู้ตัดสินใจ โดยลูกเรือและผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะหากเรือล่มและจมน้ำลงไปพร้อมกับเรือจะยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก จึงควรปฏิบัติดังนี้
- หากเรือเอียงแล้วไม่ควรจะอยู่ด้านในของเรือ ควรออกมายืนในพื้นที่โล่งเตรียมพร้อมสละเรือได้ทุกเมื่อ ไม่เช่นนั้นอาจถูกบล็อกให้ขังอยู่ภายในเรือและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิต
- เจ้าของเรือต้องมีหน้าที่ดูแลเรือให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย คนประจำเรือต้องมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะสถานการณ์วิกฤติ เพราะการช่วยเหลือผู้โดยสารนั้น คนเรือมีส่วนสำคัญอย่างมาก
- ผู้โดยสารควรเชื่อฟังไม่โวยวายหรือทะเลาะวิวาทกัน
- ก่อนกระโดดน้ำต้องสวมเสื้อชูชีพไม่ว่าจะว่ายน้ำเป็นหรือไม่เป็น เพราะอาจไม่ทราบได้ว่า เมื่อกระโดดลงไปในทะเลแล้วจะต้องลอยอยู่ในน้ำนานแค่ไหน หรือบางครั้งกระโดดลงไปแล้วได้รับบาดเจ็บจะยังคงลอยตัวอยู่ได้
- เจ้าของเรือ ควรเลือกกัปตันเรือที่มีความรู้และประสบการณ์มากพอสมควร เพราะหากกัปตันเรืออายุน้อย ประสบการณ์น้อย หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาอาจจะได้รับความเสียหาย
- ผู้โดยสาร เมื่อลงเรือโดยสารแล้วต้องรู้จักสังเกตหาทางหนีทีไล่ ส่วนใหญ่จะมีป้ายทางออกแสดงอยู่ตามทางเดิน และควรมองหาว่ามีเสื้อชูชีพอยู่ที่บริเวณใด สนใจคำแนะนำสวมใส่เสื้อชูชีพที่ถูกต้อง เพราะหากจำเป็นต้องกระโดดลงน้ำจากที่สูงเสื้ออาจหลุดจากตัวได้ และการลอยตัวอยู่ในน้ำนาน ๆ จะทำให้หมดแรงหรือเป็นตะคริวได้
ปลอดภัยยิ่งกว่าด้วยประกันภัยการเดินทาง (TA) ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลระยะสั้นที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางของผู้เอาประกันภัยซึ่งอยู่ระหว่างการท่องเที่ยว ตลอด 24 ชั่วโมง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น: