Ads Top

SMK Insurance

ซีเซียม 137 คืออะไร มีอันตรายอย่างไร?

ภายหลังจากที่ ท่อเก็บสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” (Sesium-137) หายไปจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และยังค้นหาไม่พบ (ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่หายไป https://workpointtoday.com/news-490/) อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสีที่อาจรั่วไหลหากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับด้วย แล้วสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 คืออะไร มีอันตรายอย่างไร ส่งผลให้เกิดโรคภัยอะไรได้บ้าง สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ


ซีเซียม-137 คืออะไร

ซีเซียม 137 คือ สารไอโซโทปของซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเครียสและซีเซียม 137 ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต้องได้รับสารปนเปื้อน เมื่อได้รับเข้าไปจะกระจายไปทั่ว ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับ และไขกระดูก

ประโยชน์จากซีเซียม

ส่วนใหญ่ ซีเซียม 137 จะถูกใช้ในงานหรือเครื่องมือเฉพาะแต่ปริมาณรวมของการใช้ไม่มากนัก มีการใช้ในทางการแพทย์ มาตรวัดกระแสน้ำในท่อโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานนิวเคลียร์ ดังนี้

  1. ใช้ในการผลิต photoelectric cell เพราะเป็นธาตุที่ถูกอิออไนซ์โดยแสงได้ง่าย (เปลี่ยนเป็นอิออนบวกโดยแสงได้อย่างง่ายดาย)
  2. ใช้ผลิต cesium vapor thermionic converter
  3. ใช้ในระบบการผลิตพลังงานและ magnetohyhrodynamic
  4. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาไฮโดรพิเนชันและเชื้อเพลิงจรวด
  5. ซิเซียมไฮดรอกไซด์ (CsOH) ใช้เป็นอิเลกโตรไลต์ของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบด่าง (alkaline stronge batteries)
  6. ซีเซียมคาร์บอเนต (Cs2CO3) ใช้ทำแก้วที่ใช้งานเฉพาะ

อันตรายจากซีเซียม

สารซีเซียม-137 เป็นกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) หากสัมผัสในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจจะไม่มีผลต่อร่างกายที่ชัดเจน แต่หากสัมผัสในระยะเวลานานและปริมาณสูงขึ้น จะเริ่มมีผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน อาจเกิดพังผืดที่ปอด เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดต้อกระจกขึ้นในนัยน์ตา ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ โดยมีคุณสมบัติดังนี้

  • สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (cesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ 
  • มีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก 
  • ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น 

การควบคุมดูแลซีเซียม-137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของรังสีไอโซโทปและเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ ซึ่งซีเซียมที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา จะถูกเก็บอยู่ในภาชนะโลหะ อาจจะถูกทิ้งปะปนไปกับโลหะเก่าและถูกนำไปหลอม ทำให้เกิดโลหะผสมที่มีกัมมันตภาพรังสี

นอกจากนี้ หากปนเปื้อนลงไปในน้ำ จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการรับและการสะสม หากสัตว์รับสารรังสีเข้าไปจะเพิ่มความเข้มข้นสะสมในห่วงโซ่อาหาร แต่ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่าจะถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ใต้ทะเลได้

อุบัติเหตุจาก ซีเซียม-137 เคยเกิดที่ไหนบ้าง

  1. อุบัติเหตุที่ Goiania accident ที่มีการทิ้งสารกัมมันตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน
  2. อุบัติเหตุที่ Acer inox accident ในปี 1988 เมื่อบริษัท Acer inox ซึ่งดำเนินกิจการแปรรูปของเก่า (recycling company) ของสเปน ได้เกิดอุบัติเหตุโดยทำการหลอมซีเซียม-137 จากต้นกำเนิดรังสีแกมมา
  3. ในปี 2009 บริษัทซีเมนต์ของประเทศจีน ในจังหวัด Shaanxi ได้รื้อโรงงานผลิตซีเมนต์เก่าที่เลิกใช้แล้ว โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานกับสารรังสี ทำให้ซีเซียม-137 บางส่วนที่ใช้ในเครื่องมือตรวจวัดซีเมนต์ ถูกส่งไปหลอมรวมไปกับโลหะที่ไม่ใช้แล้ว 8 คันรถที่โรงงานหลอมเหล็ก

สงสัยว่าเจอ “ซีเซียม-137” ทำอย่างไร

ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ให้คำแนะนำว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย มีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก หากยังอยู่ในสภาพเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม และจากการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย ได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากทีมค้นหายังไม่พบสารซีเซียม - 137 ที่หายไป แม้จะมีการจัดตั้งทีมค้นหาตรวจวัดปริมาณรังสี ตามร้านรับซื้อของเก่าในหลายๆ จุดไปแล้ว ดังนั้นหากเจอวัตถุต้องสงสัย โดยเฉพาะชนิดที่เป็นโลหะ มีสัญลักษณ์รูปใบพัด มีคำเตือนภาษาอังกฤษ Dangerous หรือคำว่า Radio Active และอื่นๆ ขอให้อยู่ให้ห่างและแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้หากบังเอิญว่ามีการสัมผัสโดยไม่รู้ตัว ให้ถอดเสื้อผ้า ชำระร่างกาย นำเสื้อผ้าชุดนั้นใส่ถุงมัดปากไว้ในที่ปลอดภัยห่างไกล แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบปริมาณรังสีและเพื่อนำไปทำลายต่อไป

ประกันภัยโรคมะเร็งทางเลือกหนึ่งที่ลดความเสี่ยงทางการเงิน ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง จ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก เพื่อเป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิตหรือเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น โดยไม่จำกัดวิธีการรักษา เช่น ธรรมชาติบำบัด ชีวจิต ฯลฯ และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.