Ads Top

SMK Insurance

เอาตัวรอดจากไฟไหม้รถ!

ในยุคที่น้ำมันมีราคาแพง อาจทำให้เจ้าของรถยนต์หันมาให้ความสนใจกับพลังงานทางเลือกที่อาจเป็นทางออกแห่งอนาคต (https://www.smk.co.th/newsdetail/2968 4 รถยนต์พลังงานทางเลือก ทางเลือกใหม่เพื่อการเดินทางแห่งอนาคต) แต่ก็มีเจ้าของรถยนต์รุ่นเก่าหลายรายที่ยังคงให้ความนิยมนำรถยนต์ไปติดแก๊สทั้งแบบ NGV หรือ LPG เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย จนทำให้หลายครั้ง เมื่อรถยนต์ที่ติดแก๊สเกิดอุบัติเหตุจนไฟลุกท่วมไหม้ตัวรถ อาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินให้กับผู้คนได้มากมาย (สลด รถตู้ตกร่องกลางถนนมิตรภาพ ไฟไหม้วอดทั้งคัน ดับ 11 ศพ https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2609033) แล้วหากต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไฟกำลังไหม้ตัวรถ (https://www.smk.co.th/newsdetail/285 ไฟไหม้รถยนต์เกิดจากอะไร) ผู้โดยสารหรือผู้ที่ติดอยู่ในตัวรถ จะต้องทำอย่างไรเพื่อเอาชีวิตรอด สินมั่นคงประกันรถยนต์รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้ที่นี่แล้วค่ะ

วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้รถ

เหตุไฟไหม้รถมักเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส LPG หรือ NGV ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน รถที่ผ่านการปรับแต่งสภาพ รวมถึงขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี ใช้อะไหล่ที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีเอาตัวรอดพร้อมวิธีป้องกันจากไฟไหม้รถ ไว้ดังนี้

1. กรณีไฟไหม้รถเล็กน้อย 

  • หากเป็นรถที่ติดตั้งระบบแก๊ส ให้รีบปิดสวิตช์การทำงานของระบบแก๊สและดับเครื่องยนต์ 
  • นำถังดับเพลิงเคมีฉีดพ่นบริเวณต้นเพลิง 
  • หากมีเปลวไฟออกมาจากฝากระโปรงรถให้ปลดสลักฝากระโปรงออกแล้วฉีดพ่นผ่านช่องฝากระโปรงที่แง้มไว้ 
  • ห้ามเปิดฝากระโปรงทันที เพราะจะทำให้ไฟลุกลามมากขึ้น 
  • เมื่อไฟเริ่มสงบจึงค่อยๆ แง้มฝากระโปรงขึ้นโดยใช้ผ้ารอง หรือสวมถุงมือเพื่อป้องกันความร้อนจากบริเวณฝากระโปรง 
  • นำถังดับเพลิงมาฉีดพ่นให้ทั่วห้องเครื่อง จนมั่นใจว่าไฟดับสนิทแล้ว
  • รีบถอดขั้วแบตเตอรี่ออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเปลวไฟทะลุขึ้นมาอีก

2. กรณีไม่มีถังดับเพลิง 

  • ใช้ผ้าแห้ง ผ้าเปียก หรือทราย มาโปะบริเวณที่เกิดไฟไหม้รถ 
  • ใช้ขวดน้ำเจาะปากขวดเป็นรูเล็กๆ ฉีดบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้

3. กรณีที่ไฟไหม้รถลุกลามอย่างรวดเร็ว 

  • ให้ตั้งสติ ดับเครื่องยนต์ แล้วรีบออกจากรถ 
  • วิ่งออกไปให้ห่างจากรถให้มากและเร็วที่สุด เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ 
  • รีบโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 ศูนย์รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 199 หรือสายด่วนนิรภัย 1784 มาควบคุมเพลิงให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง

วิธีการใช้งานถังดับเพลิง 4 ขั้นตอน

  1. ดึง - เอาถังดับเพลิงวางไว้ด้านที่ถนัด หันด้านฉลากเข้าหาลำตัว จากนั้น “ดึง” สลักนิรภัยออก และหิ้วถังดับเพลิงไปที่จุดเกิดไฟไหม้ โดยยืนห่างจากกองไฟ ประมาณ 3-4 เมตร และยืนเหนือทิศทางลม
  2. ปลด - ปลดปลายสายออกจากตัวถัง จับปลายสายให้แน่นอย่าให้หลุดมือ เล็งไปยังบริเวณฐานของกองไฟ (ห้ามฉีดที่เปลวไฟ)
  3. กด - กดคันบีบของถังดับเพลิงให้สุดคันบีบ ให้เคมีออกมาอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
  4. ส่าย - ส่ายปลายสายถังดับเพลิงไปมา เพื่อให้ผงเคมีที่ฉีดออกมาครอบคลุมทั่วทั้งกองไฟ โดยระหว่างดับไฟให้ย่อตัวลงเล็กน้อย เพื่อหลบเปลวไฟและความร้อน ฉีดจากตำแหน่งใกล้ไปไกล เมื่อแน่ใจว่าไฟดับสนิทแล้วจึงถอยออกจากที่เกิดเหตุ

วิธีป้องกันไฟไหม้รถ

1. ก่อนขับรถ 

  • ตรวจสภาพรถให้พร้อมใช้งานเสมอ เช่น เติมน้ำหม้อน้ำในระดับเท่าที่กำหนด ไม่มีเศษวัสดุติดในหม้อน้ำและในท่อยาง 
  • เช็กสภาพท่อน้ำมันเชื้อเพลิงว่าไม่มีรอยรั่ว สายพานรถมีความตึงในค่าที่กำหนด 
  • เช็กกระโปรงหน้ารถว่ามีเขม่าดำเกาะหรือไม่ เพราะแสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานไม่สมบูรณ์ 
  • ตรวจดูใต้ท้องรถว่ามีรอยน้ำมันหยดหรือไม่ หากมีควรรีบซ่อมแซมโดยด่วน 
  • ควรเตรียมขวดบรรจุน้ำ ถังดับเพลิงเคมีไว้ที่ด้านข้างคนขับหรือบริเวณที่หยิบได้ง่าย เพื่อให้ใช้งานได้ทันทีหากไฟไหม้รถ

2. ขณะขับรถ 

  • ควรสังเกตสัญญาณเตือนอยู่เสมอ เช่น มาตรวัดระดับความร้อนของเครื่องยนต์ซึ่งอยู่บริเวณหน้าปัดรถยนต์ หากหม้อน้ำแห้ง พัดลมระบายความร้อนขัดข้อง จะทำให้รถยนต์ร้อนจัดจนเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ เพราะบริเวณกระโปรงหน้ารถเป็นที่ตั้งของเครื่องยนต์และสายไฟต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดประกายไฟ 
  • รถยนต์ที่ใช้แก๊สต้องระวังบริเวณส่วนท้ายรถเพราะเป็นที่ตั้งของถังแก๊ส หากรถมีอาการกระตุกขณะขับขี่ควรนำไปตรวจสอบสภาพ เพราะเครื่องยนต์อาจขัดข้องหรือถังน้ำมันรั่วทำให้อากาศเข้าไปจนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดไฟไหม้รถได้

3. ก่อนสตาร์ตรถควรตรวจเช็กความเรียบร้อยของเครื่องยนต์ทุกครั้งว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เพื่อป้องกันเหตุไฟไหม้รถที่อาจเกิดขึ้นได้

4. ไม่ควรซื้อรถมือสองที่ไม่ทราบประวัติการขับขี่มาใช้งาน และเรียนรู้วิธีแก้ไขเหตุฉุกเฉิน ที่สำคัญไม่ควรขับรถเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อช่วยช่วยลดแรงปะทะจากอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้รถได้

แม้การใช้รถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ NGV จะมีส่วนช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ให้บริการรถโดยสารที่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเป็นปัจจัยหลัก แต่ก็ต้องนำมาซึ่งความรับผิดชอบที่ใหญ่ขึ้นทั้งต่อตัวรถโดยสารและผู้ใช้บริการ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ก็อาจนำมาซึ่งความเสียหายอันใหญ่หลวงตามมาได้เช่นกัน

ประกันรถยนต์ตามเวลา ประกันชั้น 1-3+ เลือกได้ตามใจ ให้ความคุ้มครอง 3, 6, 12 เดือน จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพิ่มความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/1024 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.