Ads Top

SMK Insurance

ไข้เลือดออกหายเองได้ไหม พร้อมวิธีรักษาไข้เลือดออกให้หายเร็ว

ด้วยสภาพอากาศที่มืดครึ้มในช่วงฤดูหนาวส่งผลให้มีช่วงเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน ทำให้ฤดูหนาวเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่สถิติโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้ เนื่องจากยังมียุงลายตัวเต็มวัยที่พร้อมกัดและวางไข่แพร่พันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่แหล่งน้ำบริเวณที่มีน้ำขัง (ภัยเงียบจากยุงลาย..ร้ายกว่าที่คิด! https://www.smk.co.th/newsdetail/1621) แล้วเมื่อต้องได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสามารถรักษาอาการให้หายเองได้หรือไม่ และมีวิธีการดูแลรักษาตัวเองให้หายเร็วได้อย่างไร สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ

โรคไข้เลือดออกมีระดับความรุนแรงแค่ไหน?

ไข้เลือดออกสามารถแบ่งระดับความรุนแรงเป็น 4 ระดับ ได้แก่

1. ระดับที่ 1

  • ผู้ป่วยจะมีไข้และมีอาการแสดงทั่ว ๆ ไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง 
  • อาการแสดงของการมีเลือดออกมีเพียงอย่างเดียว คือ มีจุดแดง ๆ ตามผิวหนังโดยไม่มีอาการเลือดออกอย่างอื่น

2. ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีอาการเพิ่มขึ้นจากขั้นที่ 1 คือ 

  • มีเลือดออกเอง 
  • อาจออกเป็นจ้ำเลือดที่ใต้ผิวหนัง 
  • มีเลือดออกจากที่อื่น ๆ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด 
  • ยังไม่มีภาวะช็อก ชีพจรและความดันโลหิตยังคงเป็นปกติ

3. ระดับที่ 3 

  • ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงของภาวะช็อก เช่น กระสับกระส่าย เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว 
  • ความดันต่ำหรือมีความแตกต่างระหว่างความดันช่วงบนและความดันช่วงล่าง ซึ่งเรียกว่า แรงชีพจร หรือ ความดันชีพจร (Pulse pressure) น้อยกว่า 30 มม.ปรอท เช่น ความดันช่วงบน 80 ช่วงล่าง 60

4. ระดับที่ 4

  • ผู้ป่วยจะมีภาวะช็อกอย่างรุนแรง 
  • ชีพจรเบาและเร็วจนจับไม่ได้ 
  • ความดันตกจนวัดไม่ได้ 
  • มีเลือดออกมาก เช่น อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดมาก

ไข้เลือดออกหายเองได้หรือไม่?

ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อชิคุนกุนยา (ไข้ปวดข้อยุงลาย) จะมีความรุนแรงในขั้นที่ 1 และ 2 แต่ไม่ทรุดต่อไปเป็นขั้นที่ 3 และ 4 ส่วนไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเดงกี (Dengue virus) อาจมีความรุนแรงถึงขั้นที่ 3 และ 4 ได้ประมาณ 20-30% และที่เหลืออีก 70-80% จะแสดงอาการแค่ในขั้นที่ 1 และ 2 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตามขั้นต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์จำเป็นจะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การเปลี่ยนจากขั้นที่ 2 มาขั้นที่ 3 และ 4 ควรจับชีพชร วัดความดันโลหิต และอาจต้องตรวจหาความเข้มข้นของเลือดโดยการเจาะเลือดและตรวจนับคำนวณเกล็ดเลือดเป็นระยะ ๆ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะอาการไม่มากและหายได้เอง แต่มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีอาการรุนแรง เลือดออกมาก โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร หรือมีสารน้ำรั่วออกจากหลอดเลือดมากจนความดันต่ำ ช็อก และหมดสติ

รักษาไข้เลือดออกอย่างไรให้หายเร็ว?

โรคไข้เลือดออก มักจะพบมากในเด็ก แต่กว่าจะมั่นใจว่าเป็นไข้เลือดออก แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการก่อนแล้ว อาทิ คลื่นไส้ อาเจียนมาก กินน้ำและอาหารได้น้อย หรือปากแห้ง ก็จะใช้วิธีให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด หรือหากมีอาเจียนมีเลือดปน หรือถ่ายดำ จะต้องให้เลือดทดแทน นอกจากนี้ หลังจากมีไข้ และมือเท้าเย็นเนื่องจากความดันเลือดต่ำ จะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดในปริมาณที่มากขึ้นทันที

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการในวันแรกไม่มาก แพทย์จะอนุญาตให้กลับไปดูอาการที่บ้านได้ ร่วมกับให้คอยสังเกตอาการและจะนัดไปตรวจร่างกายเป็นระยะๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไปตรวจตามแพทย์นัด และหากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือไม่แน่ใจ ให้ไปพบแพทย์ก่อนนัดได้ โดยเฉพาะในช่วง 5-7 วันของอาการไข้

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

  1. ดื่มน้ำ หรือน้ำเกลือแร่ให้เพียงพอ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ คือ ให้สังเกตปัสสาวะจะต้องเป็นสีเหลืองอ่อน หากเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีชา แสดงว่าร่างกายยังขาดน้ำอยู่
  2. รับประทานยาลดไข้ให้ใช้ยาพาราเซตามอลตามขนาดที่แพทย์สั่ง ห้ามเกินขนาด เพราะอาจเป็นสาเหตุของตับอักเสบจากยาพาราเซตามอลได้
  3. ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและออกมากขึ้นได้
  4. หากอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ อาเจียนมาก ดื่มน้ำเท่าไรก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มือเท้าเย็น ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายว่าผู้ป่วยอาจมีความดันเลือดต่ำและช็อกได้
  5. โรคไข้เลือดออก ไม่ติดต่อทางการสัมผัส หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน
  6. เมื่อมีไข้หากจะอาบน้ำ ให้อาบด้วยน้ำอุ่น หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น เพราะหากใช้น้ำเย็น ผู้ป่วยจะสูญเสียความร้อนจากร่างกายมาก อาจเกิดอาการสั่นได้

ไข้เลือดออกใกล้หาย อาการเป็นอย่างไร?

อาการที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยใกล้จะหายจากโรคไข้เลือดออกและเข้าสู่ระยะปลอดภัยแล้ว หลังจากที่มีไข้สูงต่อเนื่องนาน 2-7 วัน ไข้จะเริ่มลดลงครบ 24 ชั่วโมง รู้สึกสบายตัวขึ้น เบื่ออาหารน้อยลง รู้สึกอยากรับประทานอาหาร และมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ระบบไหลเวียนของโลหิต ความดันโลหิต และชีพจรเริ่มกลับมาเป็นปกติ แต่ในระยะนี้มักมีผื่นแดงขึ้น คันตามร่างกาย ปลายมือ และปลายเท้า

ป้องกันดีแค่ไหน แต่ภัยร้ายจากยุงลาย ก็ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด ประกันภัยไข้เลือดออก ช่วยให้คุณอุ่นใจ ด้วยค่ารักษาพยาบาลจากโรค “ไข้เลือดออก” คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมค่าชดเชยรายวันระหว่างรักษาตัว ด้วยค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยสูงสุดถึง 195,000 บาท เบี้ยเริ่มต้นเพียง 203 บาทต่อปี ร่วมปกป้องคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ เพราะภัยร้ายจากยุงลาย อาจทำร้ายคุณและคนที่คุณรักได้มากกว่าที่คิด สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/14 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com 


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.