“แกงส้ม” ของอร่อย หนึ่งในแกงไทยต้านมะเร็ง
ในหลายๆ งานวิจัย มักพบว่า สาเหตุของการเกิดมะเร็งล้วนมาจากไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิต และการกินอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของอาหารการกินที่ได้รับการค้นพบว่า มีหลายอย่างที่อาจกลายเป็นสารก่อมะเร็งให้เกิดขึ้นในร่างกาย (อาหารบางอย่างกินผิดเวลาอาจเกิดโทษได้ https://www.smk.co.th/newsdetail/212) แต่ขณะเดียวกันก็มีอาหารหลายชนิดที่ช่วยต้านมะเร็งได้เช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่แกงประเภทต่างๆ ของไทย แล้วแกงชนิดไหนบ้างที่ถูกค้นพบว่า ช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี สินมั่นคงประกันภัย มีข้อมูลมาบอกต่อค่ะ
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการวิจัยโดยนำน้ำแกงของไทย 5 ชนิดไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เปรียบเทียบกับการให้ยารักษามะเร็ง แล้วดูผลจากการตายของเซลล์มะเร็ง พบว่า ยารักษามะเร็งสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ประมาณ 70% ในขณะที่แกงไทยเองก็มีสรรพคุณต้านมะเร็งอยู่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
1. แกงเลียง
จากการศึกษาพบว่า น้ำแกงเลียงที่ได้มาจากผักหลากชนิดและเครื่องแกงที่อุดมไปด้วยสมุนไพร สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งแบบธรรมชาติได้ประมาณ 45%
2. แกงส้ม
สำหรับแกงส้มที่มีสมุนไพรหลากชนิดในเครื่องแกง พบว่า น้ำแกงส้มสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งแบบธรรมชาติได้ประมาณ 45% ในอัตราที่เท่ากันกับแกงเลียง
3. แกงป่า
น้ำแกงป่าเผ็ดร้อนจากกระชาย หอมแดง พริก และใบกะเพรา สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งแบบธรรมชาติได้ประมาณ 45% เทียบเท่ากับแกงเลียงและแกงส้มเช่นกัน
4. ต้มยำ
แม้ไม่ใช่อาหารประเภทแกง แต่ต้มยำก็มีสมุนไพรอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริก อยู่ด้วย ดังนั้นจากการศึกษาจึงพบว่า น้ำต้มยำสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งแบบธรรมชาติได้ประมาณ 30%
5. แกงเหลือง
น้ำแกงเหลืองที่มีส่วนประกอบของขมิ้นและสมุนไพรชนิดอื่น ๆ มีอัตราฆ่าเซลล์มะเร็งอยู่ที่ 25%
อย่างไรก็ตาม การตายของเซลล์มะเร็งจะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ การตายแบบธรรมชาติ ที่เซลล์มะเร็งจะตายทีละเซลล์โดยไม่กระทบกับเซลล์รอบข้าง และการตายแบบผิดธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงเซลล์มะเร็งจะถูกกระตุ้นจนเกิดการอักเสบ บวม และแตกตายในที่สุด โดยที่การแตกของเซลล์มะเร็งนั้น จะทำให้เซลล์รอบข้างได้รับผลกระทบและตายไปด้วย ซึ่งจากการวิจัยได้ลงลึกถึงวิธีตายของเซลล์มะเร็งก็พบว่า การตายแบบผิดธรรมชาติพบได้น้อยที่สุดในแกงเลียง รองลงมาคือต้มยำ แกงส้ม แกงป่า และแกงเหลือง
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แกงเลียงเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุด รองลงมาคือแกงส้มและแกงป่านั่นเอง
ทั้งนี้ ทีมวิจัยซึ่งมีความสนใจในสรรพคุณของแกงเลียงอยู่แล้วนั้น ก็ได้ทำการต่อยอดงานวิจัยกับหนูทดลองด้วย โดยทีมวิจัยได้ทำแกงเลียงแล้วนำไปเข้าสู่กระบวนการอบให้แห้ง จากนั้นก็นำแกงเลียงอบแห้งไปป้อนหนู โดยทีมวิจัยได้แบ่งหนูทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นหนูที่เลี้ยงตามปกติ กลุ่มที่สองเป็นหนูที่ให้สารก่อมะเร็ง และกลุ่มที่สามเป็นหนูที่ให้แกงเลียงอบแห้งมาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งการทดลองนี้ใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ โดยในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ทางทีมวิจัยจะชักนำให้หนูทดลองทั้งหมดได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งเมื่อครบ 6 สัปดาห์ หลังจากผ่าตัดลำไส้หนูมาดูก็พบว่า หนูที่ไม่ได้รับแกงเลียงเลย จะมีโอกาสเกิดเซลล์ผิดปกติมากกว่าหนูที่ได้รับแกงเลียงกว่า 50%
อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษากับหนูทดลอง ยังไม่ได้เคยทดลองในคน และทีมวิจัยยังชี้แจงชัดว่า แกงทั้ง 5 ชนิดนี้ไม่สามารถรักษามะเร็งได้ เพียงแต่อาจช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้บ้างเท่านั้น และยังไงการรักษามะเร็งด้วยยาจึงยังเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ไม่ควรกินแกงเหลืองรักษามะเร็ง!
นอกจากนี้ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้จะมีงานวิจัยรองรับในเบื้องต้น แต่อาหารก็คืออาหาร ยาก็คือยา และอาหารทดแทนยาไม่ได้ เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพในการรักษาโรคย่อมแตกต่างกัน และน้ำแกงเหลืองนั้น แม้จะมีส่วนผสมที่สามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ แต่ก็เป็นการที่เซลล์ตายแบบไม่ธรรมชาติ (Necrosis) คือจะเกิดการอักเสบของเซลล์มะเร็งก่อนแล้วแตกออก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการตายแบบธรรมชาติ (Apoptosis) หรือแบบที่ทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อแล้วหายไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ทำร้ายเซลล์ดีอื่นๆ อย่างที่พบในน้ำแกงเลียง จะส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่า
ในแง่ของการรักษาโรคมะเร็งนั้น ผู้ป่วยไม่ควรคาดหวังว่าการรับประทานแกงเลียงหรือแกงเหลืองแล้วจะส่งผลดีมากไปกว่าการใช้ยา ผู้ป่วยมะเร็งควรไปพบแพทย์และทำการรักษาให้แน่ใจก่อนว่า เนื้อร้ายได้ถูกกำจัดไปหมดแล้ว หลังจากนั้น จึงค่อยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทาอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมร่างกายให้สามารถปกป้องหรือลดความเสี่ยงหากต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน
ผลการวิจัยนี้ แม้จะพบว่าการรับประทานแกงเลียงมีประโยชน์ในแง่ของการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง แต่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องรับประทานแกงเลียงทุกวันเพราะยังมีอาหารไทยอีกหลายอย่างที่ประกอบไปด้วยพืชผักสมุนไพร คล้ายๆ กับแกงเลียง เช่น แกงส้ม แกงป่า น้ำพริกผักจิ้ม เป็นต้น เพื่อให้มีความหลากหลาย เพราะการรับประทานอาหารซ้ำๆ อาจก่อให้เกิดการตกค้างของสารพิษ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับทิ้งหรือทำลายได้ทัน
อีกทางเลือกหนึ่งของการคุ้มครองปัญหาทางสุขภาพเพื่อคุณ ประกันภัยโรคมะเร็งจากสินมั่นคงประกันภัยที่สามารถลดความเสี่ยงทางการเงิน จ่ายเป็นเงินก้อนเต็มทุนประกันทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น: