ไฟไหม้ป่าเกิดจากอะไร? มีผลกระทบอย่างไรบ้าง?
เมื่อก้าวเข้าสู่ฤดูร้อน ปัญหาใหญ่ส่วนหนึ่งของประเทศคือการเกิดไฟป่าขึ้นเป็นบริเวณกว้าง สร้างความเสียหายให้กับชีวิตสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในระแวกใกล้เคียงที่ไฟอาจลุกลามจนสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนแล้ว (ไฟไหม้บ้าน ขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน? https://www.smk.co.th/newsdetail/2760) ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นควันพิษที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของหลายจังหวัดจนส่งผลให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกได้อีกด้วย (https://www.iqair.com/th/world-air-quality-ranking) แล้วไฟไหม้ป่าเกิดจากอะไร สร้างผลกระทบได้อย่างไรบ้าง สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ
ไฟไหม้ป่าเกิดจากอะไร?
ข้อมูลจาก ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า ไฟไหม้ป่าเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1. ไฟไหม้ป่าจากเหตุธรรมชาติ
ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกิริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous Combustion) โดยมีสาเหตุที่สำคัญ คือ
- ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า ทั้งนี้โดยที่ฟ้าผ่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ฟ้าผ่าแห้ง (Dry or Red Lightning) คือฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีฝนตก มักเกิดในช่วงฤดูหนาวไปจนถึงเข้าฤดูร้อน (ซึ่งมีอากาศแห้ง) สายฟ้าจะเป็นสีแดง เกิดจากเมฆที่เรียกว่าเมฆฟ้าผ่า ซึ่งเมฆดังกล่าวจะมีแนวการเคลื่อนตัวที่แน่นอนเป็นประจำทุกปี ฟ้าผ่าแห้งเป็นสาเหตุสำคัญของไฟป่าในเขตอบอุ่น
- ฟ้าผ่าเปียก (Wet or Blue Lightning) คือฟ้าผ่าที่เกิดควบคู่ไปกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) ดังนั้นประกายไฟที่เกิดจากฟ้าผ่าจึงมักไม่ทำให้เกิดไฟไหม้ หรืออาจเกิดได้บ้างแต่ไม่ลุกลามไปไกล เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นของเชื้อเพลิงสูง ฟ้าผ่าในเขตร้อนรวมถึงประเทศไทยมักจะเป็นฟ้าผ่าเปียก จึงแทบจะไม่เป็นสาเหตุของไฟป่าในเขตร้อนนี้เลย
- กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน
2. สาเหตุจากมนุษย์
ไฟป่าที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ จากข้อมูลสถิติการเกิดไฟป่าในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 12 มี.ค. 2566 พบว่า มีพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ทั้งหมด 2,648 ครั้งคิดเป็นพื้นที่ 55,731.64 ไร่ ซึ่งมีแนวโน้มความรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมาสูงมาก โดยมีสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์แตกต่างกันออกไป ได้แก่
- เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ได้แก่ ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ำผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า
- เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
- แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกินหรือถูกจับกุมจากการกระทำผิดในเรื่องป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่ด้วยการเผาป่า
- ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า เป็นต้น
- ล่าสัตว์ โดยใช้วิธีไล่เหล่า คือจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่างๆ จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าใหม่แตกระบัด ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ
- เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผาป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์
- ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใด ๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น
ผลกระทบจากไฟไหม้ป่า
ไฟไหม้ป่าสามารถก่อให้เกิดผลกระทบได้หลากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้เกิดทัศนวิสัยไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและเส้นทางคมนาคม ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เกิดโรคทางเดินหายใจ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
- นอกจากต้นไม้จะได้รับอันตรายหรือถูกทำลายแล้วโดยตรง ยังมีผลกระทบทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดโรค และแมลงบางชนิดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
- สังคมพืชเปลี่ยนแปลง พืชบางชนิดจะหายไปมีชนิดอื่นมาทดแทน เช่น บริเวณที่เกิดไฟไหม้ซ้ำ ๆ หลายครั้ง หญ้าคายิ่งขึ้นหนาแน่น
- โครงสร้างของป่าเปลี่ยนแปลง เช่น ไฟป่าจะเป็นตัวจัดชั้นอายุของลูกไม้ ให้กระจัดกระจายกันอย่างมีระเบียบ
- สัตว์ป่าลดลงมีการอพยพของสัตว์ป่า ทั้งการทำลายแหล่งอาหารที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย และแหล่งน้ำ
- คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา เช่น ดินมีอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นลดลง อินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ในดินเปลี่ยนแปลงความสามารถในการดูดซึมน้ำของดินลดลง
- แหล่งน้ำถูกทำลาย คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเถ้าถ่าน
- ภูมิอากาศท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงสุดต่ำสุด การหมุนเวียนของอากาศ ความชื้นในอากาศ เป็นต้น รวมทั้งองค์ประกอบของอากาศเปลี่ยนไป เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน เขม่าและควันไฟเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์
- สูญเสียทัศนีย์ภาพที่สวยงาม ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว
ประกันอัคคีภัย ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เอาประกันภัย สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งทรัพย์สินที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ที่อาจเกิดความสูญเสียหรือเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก ให้บริการประกันอัคคีภัย ทุกประเภท เช่น การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยและภัยพิบัติ ,การประกันภัยอัคคีภัยสำหรับสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร ,เฟอร์นิเจอร์ ,สต๊อกสินค้า และเครื่องจักร สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดย่อม สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันอัคคีภัย หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น: