เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดัง เกิดจากอะไร? เบรกรถเสียงดังแก้ไขอย่างไร?
เบรกรถยนต์ เป็นอุปกรณ์และชิ้นส่วนสำคัญสำหรับรถยนต์ที่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลรักษาให้คงอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน อาจทำให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างคาดไม่ถึง (วิธีถนอมผ้าเบรกแบบง่ายๆ ยืดอายุการใช้งาน ที่คนใช้รถควรรู้ https://www.smk.co.th/newsdetail/1622) และหากพบสิ่งผิดปกติก็ควรต้องรีบนำรถยนต์เข้าตรวจสอบกับศูนย์บริการหรือช่างผู้ชำนาญการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเบรกเกิดมีอาการเสียงดังระหว่างขับรถ แล้วเสียงดังที่เบรกนั้นเกิดจากอะไร จะสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง สินมั่นคงประกันรถยนต์มีข้อมูลมาบอกต่อค่ะ
ประเภทของเบรกรถยนต์
เบรกรถยนต์ ถือเป็นส่วนสำคัญของรถยนต์
เพราะต้องทำหน้าที่ชะลอหรือหยุดรถ โดยระบบเบรกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
ดิสก์เบรก และดรัมเบรก ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละรุ่น หรือบางรุ่นอาจใช้เบรกทั้ง 2
ประเภทก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และการออกแบบของผู้ผลิต แต่หลักการเดียวกันคือเพื่อลดความเร็ว
หรือทำให้รถยนต์หยุดนิ่ง
- ดิสก์เบรก (Disc Brake) หลักการทำงานคือการใช้แรงบีบผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้รถหยุด โดยชิ้นส่วนของระบบดิสก์เบรกจะมองเห็นง่ายกว่า ประกอบไปด้วย จานเบรก คาลิเปอร์เบรก โดยภายในตัวคาลิปเปอร์ก็จะมีกลไก ลูกสูบ เพื่อสร้างแรงกดให้ผ้าเบรกจับกับจานเบรก
- ดรัมเบรก (Drum Brake) หลักการทำงานคือการใช้แรงผลักผ้าเบรกให้ถ่างออกไปสัมผัสกับตัวดรัมที่อยู่ล้อมรอบ (เรียกดรัมเพราะมีลักษณะเหมือนกลองที่จับวางตั้งขึ้น) เพื่อทำให้ล้อรถเกิดแรงเฉื่อย ซึ่งภายในจะมีชุดกลไก เช่น สปริง ลูกสูบ ก้ามเบรก ผ้าเบรก เป็นต้น
เหยียบเบรกแล้วเสียงดัง เกิดจากอะไร
กรณีที่เราเหยียบเบรกแล้วเกิดเสียงดังขึ้น
แสดงว่าระบบเบรกมีความผิดปกติ และรูปแบบของเสียงเบรกก็แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุที่เกิดขึ้น
เมื่อเหยียบเบรกแล้วเสียงดัง อาจมีหลายสาเหตุ ได้ดังนี้
- เหยียบเบรก แล้วได้ยิน เสียง ครืดๆๆ อาจเกิดจาก ผ้าเบรก กับ จานเบรก สกปรก เนื่องจากเกิดจากฝุ่นหรือหินหลุดเข้าไปเสียดสีกัน และมีสิ่งแปลกปลอมเกาะที่จานเบรกหรือผ้าเบรก เมื่อรถถูกใช้งาน เช่น วิ่งลุยน้ำ ลุยโคลน อาจทำให้สิ่งสกปรกเข้าไปเกาะในจานเบรกหรือผ้าเบรกได้ อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตราย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ หากใช้ไปสักพักยังไม่หาย ควรให้ช่างตรวงจสอบแก้ไข
- เหยียบเบรก แล้วได้ยิน เสียง จี๊ดๆๆ คาดว่า ผ้าเบรกสึกใกล้จะหมด ทำให้ดิสก์หรือดรัม เสียดสีกับจานเบรก ซึ่งเมื่อผ้าเบรกหมด เมื่อเราเหยียบเบรกแล้วเกิดเสียงดังอี๊ด ๆ จะเป็นสัญญาณเตือนที่ผู้ผลิตออกแบบมาให้ผู้ขับขี่ทราบว่าผ้าเบรกใกล้จะหมด ควรรีบนำรถเข้ารับบริการเพื่อเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ หากปล่อยไว้นานจนผ้าเบรกหมด นอกจากจะทำให้จานเบรกเสียหายไปด้วย หรือทำให้รถเบรกไม่อยู่จนอาจเกิดอุบัติเหตุ
- เหยียบเบรก แล้วได้ยิน เสียงเอี๊ยดๆ อาจเกิดจากผ้าเบรก กับ จานเบรก ที่น่าจะเสียดสีกัน จากการที่จานเบรกเป็นร่อง เนื่องจากเมื่อผ่านการใช้งานมาได้สักระยะ ผิวหน้าสัมผัสจะเกิดการเสียดสีกับผ้าเบรกจนเกิดการสึกเป็นร่อง เมื่อหน้าสัมผัสของจานเบรกไม่สม่ำเสมอ เวลาเหยียบเบรกผ้าเบรกจะจับกับจานที่ไม่เรียบก็จะส่งเสียงดัง วิธีแก้ไขจึงต้องเจียรจานเบรกเมื่อมีรอยเหล่านั้นมากผิดปกติ
- เสียงเบรกจากการลุยน้ำ หลังจากที่เราขับรถลุยน้ำ หรือหลังล้างรถใหม่ ๆ คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังขณะที่เราเหยียบเบรก เพราะผ้าเบรกอาจเปียกหรือเลอะน้ำต่าง ๆ วิธีแก้แค่ย้ำเบรกแบบถี่ ๆ 2-3 ครั้ง เพื่อไล่ความชื้นออกจากผ้าเบรก เสียงดังก็จะค่อย ๆ ลดหายไปเอง
ไม่ว่าจะเริ่มจากเสียงเอี๊ยดๆ อี๊ดๆ
หรือจะเป็นเสียงเหมือนโลหะครูดกันก็ตาม
นับเป็นสัญญาณเตือนของผ้าเบรกกับจานเบรกที่อาจจะหมดแล้วเสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียงดังขึ้นมา
ผู้ขับขี่รถยนต์จึงไม่ควรซ่อมรถด้วยตัวเอง
และควรเร่งนำรถยนต์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบโดยตรง
และอาจต้องเล่าอาการให้ช่างทราบหรือได้ยินเสียงด้วยระหว่างขับขี่
เพื่อหาสาเหตุได้ตรงจุด
หากมีเสียงดังผิดปกติขณะเบรก หรือเมื่อเวลาที่เหยียบเบรกแล้วได้ยินเสียงแปลก ๆ จากเดิมทีไม่เคยเกิดขึ้น นับเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความบกพร่องของระบบเบรก ที่ผู้ใช้รถยนต์ทุกคนต้องระมัดระวัง เพราะเบรกเป็นส่วนสำคัญในการชะลอความเร็วและหยุดรถ ดังนั้น หากละเลยกับเสียงผิดปกติที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับระบบเบรกหรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ
ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ
เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท
ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ เบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับข้อมูลผู้ซื้อประกัน
อัตราเบี้ยจะแตกต่างกันตามโปรไฟล์ หรือปัจจัยความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคน
และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง
3,999 บาท) ผู้ที่มีโปรไฟล์ดี หรือความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันรถยนต์ก็จะยิ่งถูกตามไปด้วย
เช็กโปรไฟล์ของคุณได้ที่นี่ smkall.smk.co.th สนใจรายละเอียด
คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น: