ประเภทถังดับเพลิงมีกี่ประเภท เหมาะกับใช้ดับเพลิงประเภทไหน
การติดตั้งถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดความเสียหายต่อเหตุเพลิงไหม้ รวมไปถึงการสูญเสียของทรัพย์สินที่เกิดจากเพลิงไหม้ อาคารสถานที่ บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม ควรต้องมีถังดับเพลิงติดตั้งไว้เพื่อความปลอดภัย และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แล้วชนิดของถังดับเพลิงมีทั้งหมดกี่ประเภท สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ
ประเภทของถังดับเพลิง
ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด ? ถังดับเพลิงแต่ละชนิดเหมาะกับการดับเพลิงประเภทใด
? เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจำเป็นต้องรู้ เพราะการใช้ถังดับเพลิงผิดชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้นกว่าเดิม
เนื่องจากสารที่บรรจุในถังดับเพลิงแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน การใช้งานจึงแตกต่างกันด้วย
ดังนั้นควรเลือกถังดับเพลิงให้ถูกประเภทและเหมาะสมกับการใช้งาน โดยถังดับเพลิงสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่าง
ๆ ดังนี้
1. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )
ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Dioxide Extinguishers ข้างในถังจะบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นไอเย็นจัด คล้ายกับน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนของเพลิงไหม้ได้ เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่ตัวถังจะมีสีแดง และบริเวณปากหัวฉีดจะกว้างมากกว่าถังดับเพลิงชนิดอื่นๆ ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สามารถดับเพลิงไหม้ประเภท B และ C ได้ ถังดับเพลิง Co2 จึงเหมาะสำหรับดับเพลิงในโรงงานขนาดใหญ่ โรงอาหาร และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์2. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
ข้างในถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจะบรรจุผงเคมีแห้ง และอัดก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติในการระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้ได้ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นฝุ่นผงเคมี ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งส่วนใหญ่ตัวถังจะมีสีแดง โดยถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ถือเป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ได้หลายประเภท ถังดับเพลิงชนิดนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A, B และ C และเหมาะกับการใช้ภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม3. ถังดับเพลิงชนิดโฟม (Foam Extinguishers)
ถังดับเพลิงชนิดโฟม หรือ Foam Extinguishers ในถังจะบรรจุน้ำผสมโฟมเข้มข้น AR AFFF เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นฟองโฟมปกคลุมเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ ทำให้เพลิงขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ถังดับเพลิงชนิดโฟมตัวถังมักมีสีเงิน และหัวฉีดยาวกว่าหัวฉีดถังดับเพลิงประเภทอื่นๆ ถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A และ B จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน ข้อควรระวังของถังดับเพลิงชนิดโฟม คือ ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เพราะถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถนำไฟฟ้าได้4. ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers)
ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ Water Extinguishers ภายในถังจะบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซ ตัวถังมักเป็นสีฟ้า หรือ สีเงิน อาจจะทำให้สับสนกับถังดับเพลิงชนิดโฟม ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อ ถังดับเพลิงประเภทนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A ได้ จึงเหมาะกับภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย5. ถังดับเพลิงสูตรน้ำ (Low Pressure Water Mist)
ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงสูตรละอองน้ำแรงดันต่ำ Pure Plus ถังดับเพลิงชนิดนี้พิเศษกว่าถังดับเพลิงชนิดน้ำ สามารถดับเพลิงไหม้ได้มากถึง 4 ประเภท ได้แก่ เพลิงไหม้ประเภท A, B, C และ K ภายในถังบรรจุน้ำยาดับเพลิงสูตร Low Pressure Water Mist สามารถปกคลุมเชื้อเพลิงได้ดี และน้ำ PurePlus ที่มีคุณสมบัติในการดึงความร้อนออกจากเชื้อเพลิงได้เร็วกว่าการใช้น้ำปกติ ทำให้อุณหภูมิความร้อนลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า และ น้ำยา PurePlus สามารถยับยั้งกระบวนการ Pyrolysis ของเชื้อเพลิง อีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษของถังดับเพลิงสูตรน้ำ คือสามารถช่วยป้องกันการปะทุของเพลิงไหม้ซ้ำ เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ที่ อาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และสถานที่ทั่วไป6. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent)
ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยในถังจะบรรจุสารฮาโลตรอน (Halotron) หรือสาร HFC-236fa (FE-36) ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้สาร HFC-236fa มากกว่าเนื่องจากมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับสารฮาโลตรอน ไม่ทิ้งคราบตกค้าง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ โดยตัวถังจะมีลักษณะเป็นสีเขียว เพื่อเป็นการบอกว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภทA, B, C จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูง หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรือ เครื่องบิน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์7. ถังดับเพลิงชนิด wet chemical (ดับไฟ class k)
ถังดับเพลิง wet chemical class k ภายในถังจะบรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate สำหรับใช้ดับเพลิงประเภท K หรือเพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ไขมันสัตว์ ถังดับเพลิงประเภทนี้จึงเหมาะกับการดับเพลิงในครัว ร้านอาหาร โรงอาหาร เป็นต้นการมีถังดับเพลิงติดบ้านหรืออาคารสถานที่ไว้
ทำให้อุ่นใจได้มากขึ้นว่าจะช่วยบรรเทาเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงทีก็จะลุกลามสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
คุ้มครองบ้านและทรัพย์สินคุณได้มากขึ้น ประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านอยู่อาศัย
ให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยจากการเฉี่ยวชนของยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน,
ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม) ภัยระเบิด
(ยกเว้นการระเบิดที่เกิดจากการกระทำของผู้การก่อการร้าย)
ในวงเงินเต็มทุนประกันภัยตามกรมธรรม์ สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/others/ประกันอัคคีภัย หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ
เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น: