Ads Top

SMK Insurance

ห้ามพูดคำว่าอะไรในสนามบิน? คำต้องห้ามในสนามบิน

หลายครั้งที่ทริปการเดินทางท่องเที่ยวจำเป็นต้องใช้การเดินทางที่สนามบินเพื่อช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางให้สั้นลง และลดทอนความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากการเดินทางได้แม้จะเป็นเพียงการเดินทางแค่ในประเทศก็ตาม (คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนการเดินทาง https://www.smk.co.th/newsdetail/144) แต่ทราบหรือไม่ว่า การเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบินมีข้อกำหนดหลายประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน แม้แต่เรื่องคำพูดที่ใช้ในสนามบินก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้โดยสารควรให้ความใส่ใจ จะมีคำไหนบ้างที่เป็นคำต้องห้ามพูดเมื่ออยู่ในอาณาเขตของสนามบิน สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (https://www.airportthai.co.th/th/) ได้ให้ข้อมูลที่เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ทั้งคำพูด ลักษณะท่าทาง หรือการสื่อสาร ไว้ดังนี้

1. คำพูดที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นเหตุให้ผู้อื่นตื่นตกใจ

  • ระเบิด (Bomb, Explosive) เช่น พูดว่า มีระเบิด, เปิดกระเป๋าระวังเจอระเบิด, จะระเบิดสนามบิน, จะระเบิดเครื่องบิน ซึ่งคำนี้ถือเป็น คำพูดต้องห้ามในสนามบิน และในเครื่องบินที่ไม่ควรพูดเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นกฎสากลที่ปฏิบัติกันทั่วโลกที่ทุกคนต้องรู้และปฎิบัติตาม หากเกิดหลุดพูดประโยคนี้ขึ้นมา เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการขั้นสูงสุดได้เลยทันที หรือกัปตันสามารถสั่งหยุดการเดินทาง นำเครื่องลงจอดเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย และอาจทำให้เที่ยวบินดีเลย์ ถือเป็นความเสียหายต่อส่วนรวมได้เลยทีเดียว
  • การก่อการร้าย (Terrorist Attack) เช่น นี่คือการก่อการร้าย, นี่คือการจี้เครื่องบิน เป็นคำพูดต้องห้ามในสนามบินและบนเครื่องบิน เกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้ายเป็นสิ่งที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรนำมาพูดเล่นๆ เพราะการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าเผลอพูดออกไป อาจจะโดนเจ้าหน้าที่ตรวจค้นและถูกจับได้
  • จี้เครื่องบิน ปล้นเครื่องบิน (Hijack) เช่น พูดว่า นี่คือการจี้เครื่องบิน, Hijack หรือการขู่ว่ามีอาวุธและวัตถุอันตราย อย่างเช่น ปืน มีด หรือสารอันตราย ก็เป็นอีกคำพูดหนึ่งที่ไม่ควรพูดออกมา เพราะความปลอดภัยของการบินนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เข้มงวดมาก ถ้าคุณเผลอพูดออกไป ไม่ว่าจะพูดเล่นๆ หรือไม่ได้ตั้งใจ เจ้าหน้าที่อาจจะดำเนินการกับคุณในฐานะบุคคลต้องสงสัยได้ทันที

2. คำพูด เขียนข้อความ หรือการกระทำอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่พิจารณาว่าคุกคาม ข่มขู่ หรือเป็นภัย   

  • พูดว่า ตรวจได้แต่ระวังเชื้ออีโบลา เนื่องจากโรคระบาดร้ายแรง เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรพูดถึงในขณะการเดินทาง หรือแสดงการกระทำเหมือนว่า กำลังติดโรคระบาด ไม่ว่าจะระหว่างการตรวจในสนามบินหรือบนเครื่องบิน เนื่องจากความปลอดภัยของการบินนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เข้มงวดมาก โดยเฉพาะโรคที่สามารถติดต่อได้ทางอากาศ เพราะนอกจากจะสร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสารคนอื่นแล้ว อาจจะถูกส่งตัวไปตรวจหาโรคที่โรงพยาบาลอีกด้วย
  • ตะโกนว่า เครื่องบินลำนี้กำลังจะตก
  • เขียนคำว่า “ระเบิด” ไว้ที่กระจก
  • โยนกระเป๋าหรือสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ กลุ่มผู้โดยสาร หรือผู้ใช้บริการแล้ววิ่งหนี เนื่องจากการกล่าวคำหยาบคายที่แสดงถึงความเกรี้ยวกราด โมโห รวมทั้งคำทะลึ่งนั้นสามารถก่อให้ความรำคาญและทำให้รู้สึกไม่สบายใจกับผู้โดยสารท่านอื่นได้ โดยเฉพาะการพูดด้วยน้ำเสียงหรืออารมณ์ที่รุนแรงต่อพนักงานภาคพื้นหรือบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัว และนำตัวคุณไปสงบสติอารมณ์ได้ รวมถึงไม่ควรแสดงการกระทำให้ดูต้องสงสัย เช่น การโยนกระเป๋าใส่เจ้าหน้าที่หรือกลุ่มผู้โดยสารแล้ววิ่งหนี

พูดคำต้องห้ามในสนามบินมีโทษอย่างไร?

1. บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 ระบุว่า ผู้ใดแจ้งข้อความหรือส่งข่าวสารซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ และการนั้นเป็นเหตุหรือน่าจะเป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่ในท่าอากาศยานหรือผู้ที่อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินตื่นตกใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานในระหว่างการบิน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 – 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. บทลงโทษสำหรับผู้ร่วมฝ่าฝืน

ทั้งนี้บทลงโทษของความคึกคะนองไม่ได้ถูกจำกัดแค่คนที่กระทำความผิดข้างต้นเท่านั้น เพราะคำพูดต้องห้ามในสนามบิน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้สนับสนุน ร่วมกันเป็นกลุ่มแก๊งตามความคึกคะนอง ก็ถือว่าได้กระทำความผิดเทียบเท่าตัวการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558

  • มาตรา 23 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับตัวการ
  • มาตรา 24 ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำ

การโดยสารหรือใช้บริการสนามบินที่มีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากและหลากหลาย หากไม่ปฏิบัติตามกฎย่อมสร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในด้านภาพลักษณ์และความมั่นคง คำพูดต้องห้ามในสนามบินจึงเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมและระวางโทษทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันเหตุบานปลายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ประกันภัยการเดินทาง คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันภัยที่เดินทางรายเดี่ยวหรือเป็นหมู่คณะทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีกำหนดการเดินทางที่แน่นอนโดยให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลาเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.