Ads Top

SMK Insurance

อุบัติเหตุในบ้าน แบบไหนที่ควรระวัง!

“บ้าน” นับเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับใครหลายคน แต่อาจแฝงไว้ด้วยอันตรายหากดำเนินชีวิตด้วยความประมาท หรือขาดความระแวดระวัง โดยเฉพาะในบ้านที่มีผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กอาศัยอยู่ในบ้าน อาจทำให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ (6 เทคนิคปลอดภัย พ่อแม่มือใหม่ควรระวัง !!! https://www.smk.co.th/newsdetail/478) แล้วอุบัติเหตุในบ้านประเภทไหนบ้างที่สมาชิกทุกคนในบ้านควรต้องให้ความระมัดระวัง สินมั่นคงประกันภัย มีข้อมูลมาฝากค่ะ

อุบัติเหตุในบ้านแบบไหนต้องระวัง!

1. พื้นลื่น หกล้ม

อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ นั่นคือ การสะดุด หกล้ม เวลาเดินไปมาในบ้าน ซึ่งหลายคนอาจมองข้ามในการเลือกพื้นกระเบื้องที่มักจะเน้นความสวยงามเป็นส่วนใหญ่ แต่ลืมคิดไปว่า หากมีผู้สูงอายุ เด็ก หรือผู้ป่วยอยู่ด้วย จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในบ้านได้ ควรเลือกพื้นกระเบื้องที่ไม่ลื่น ไม่มันวาว พื้นต้องมีความหนืด เพื่อลดความเสี่ยงที่คนในบ้าน จะลื่นล้มได้

2. ไฟฟ้าช็อต ไฟดูด

ส่วนใหญ่ มักมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน ควรเลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน หลังจากใช้งานเรียบร้อยแล้ว ควรถอดปลั๊กทุกครั้ง หมั่นสังเกตว่าปลั๊กไฟไม่มีรอยขาดหรือชำรุด เพราะอุบัติเหตุในบ้านเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถ้าปลั๊กไฟ หรือสายไฟชำรุด ควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที และหากมือเปียกน้ำ ห้ามเสียบปลั๊กไฟเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับคนในบ้าน

การถูกไฟฟ้าช็อต สามารถพบได้บ่อย และมีความรุนแรง ซึ่งความรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณของกระแสไฟฟ้า และระยะเวลาที่สัมผัส แม้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจะไม่ใช่ไฟฟ้าที่ความแรงสูง แต่หากมีการสัมผัส จะมีระยะเวลาในการสัมผัสนาน จนทำให้เกิดความรุนแรงต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ 

3. น้ำร้อนลวก

น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่เกินขึ้นบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น จากการทำอาหาร ชงชา ชงกาแฟ รวมถึงทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องใช้น้ำร้อน ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านได้ หากไม่ระมัดระวังให้ดี โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ค่อยระมัดระวัง หรือผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น เด็ก ผู้สูงวัย หรือสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

หากโดนน้ำร้อนลวก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ ที่สามารถช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้ เช็ดผิวบริเวณที่โดนน้ำร้อนลวกให้แห้งด้วยผ้าสะอาด พร้อมกับสังเกตว่า บริเวณที่โดนน้ำร้อนลวกนั้นมีรอยแผล มีตุ่มพองใสเกิดขึ้นหรือสีของผิวหนังเปลี่ยนไปหรือไม่

4. ของมีคมบาด

การโดนของมีคมบาด เป็นอุบัติเหตุที่สามารถพบได้เป็นประจำจากการใช้ของมีคมอยู่บ่อย ๆ เช่น มีด กรรไกร หรือของมีคมอื่น ๆ รวมถึงของมีคมที่เกิดจากเครื่องใช้ได้รับความเสียหาย เช่น แก้วแตก จานแตก หรือกระเบื้องแตก เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นของที่สามารถบาดผิวจนเป็นแผลได้ ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในขณะที่ใช้งาน และไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ นำมาถือเดิน หรือวิ่งเล่น ที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ตามมา 

5. ของหล่นใส่

ของหล่นใส่เป็นอุบัติเหตุที่ดูไม่ร้ายแรงมากนัก และมักพบเจออยู่บ่อย ๆ อาจจะมีอาการแค่ฟกช้ำเท่านั้น แต่ถ้าหล่นใส่อวัยวะที่สำคัญ เช่น ศีรษะ ตา หรือจุดที่สำคัญในร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น ทุกครั้งที่หยิบจับของ ควรจะมีสติ เพื่อป้องกันไม่ให้ของหล่นใส่ตัวเอง

6. ตกจากที่สูง

การตกจากที่สูง เกิดได้ระหว่างการปีนเพื่อหยิบของ ปีนบันไดซ่อมแซมสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้าน ตกจากระเบียง หรือตกบันไดบ้าน โดยสามารถเกิดได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่อาจจะวิ่งเล่นผาดโผนหรือปีนขึ้นที่สูง อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ เช่น ศีรษะแตก แขนหัก ขาหักได้ 

7. จมน้ำ

การจมน้ำ เป็นอุบัติเหตุภายในบ้าน ที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยมากนัก ถ้าหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น สระว่ายน้ำ คลอง หรือมีบ่อเลี้ยงปลาในบ้านก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุนี้ได้ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีโอกาสเกิดการจมน้ำมากกว่าผู้ใหญ่ และมีโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่า เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็ก ควรจะอยู่ให้ห่างจากแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่คาดไม่ถึงได้ ยิ่งบ้านไหนที่มีสระว่ายน้ำในบ้าน ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษด้วย

8. ไฟไหม้บ้าน

อุบัติเหตุในบ้านอย่างไฟไหม้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้แล้วลืมปิด หรือเกิดไฟฟ้าช็อตจากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยพฤติกรรมจากการหลงลืมหรือความประมาทนั้น ถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดไฟไหม้มากกว่าปัจจัยอื่น ๆ ถึงแม้ว่าไฟไหม้ จะไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อย แต่เป็นอุบัติเหตุที่สามารถทำให้สูญเสียทรัพย์ได้มากกว่าอุบัติเหตุอื่น ๆ

เหตุเพลิงไหม้สามารถป้องกันได้โดยติดตั้งระบบตรวจจับไฟไหม้หรือเครื่องมือดับไฟประจำบ้าน หมั่นตรวจสอบระบบไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ และแยกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการไฟไหม้ เช่น พื้นที่ครัว หรือที่สูบบุหรี่ออกจากตัวบ้าน เพื่อป้องกันไฟลุกลามไปทั่วบ้าน

หากต้องการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นภายในบ้าน อาจลดความเสี่ยงด้วยการหมั่นเก็บของให้เป็นระเบียบ ไม่วางของเกะกะ เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐานและไม่มีการชำรุด ส่วนการออกแบบบ้านควรเลือกพื้นที่ไม่ลื่นหรือมันวาวจนเกินไป และห้องน้ำควรออกแบบให้เหมาะสม ปลอดภัย หากบ้านไหนที่มีผู้สูงอายุ เด็ก หรือผู้ป่วยอยู่ในบ้าน ยิ่งต้องระวังมากเป็นพิเศษ หรือเลือกทำประกันภัยอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองกรณี ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต โดยให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.