โรคที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะขับรถ
การขับรถนานๆ อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยให้ทำให้เราเจ็บป่วยได้ เนื่องจากการอยู่ในท่านั่งเป็นระยะเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ เราควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งรวบรวมมาให้ทราบกันดังนี้
1. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานในขณะขับรถ เพราะต้องเจอกับรถติดระหว่างเดินทางจากบ้านไปทำงาน หลายคนคิดว่าการอั้นปัสสาวะไว้คงไม่เป็นไร ประกอบกับห้องน้ำตามปั๊มบางแห่งก็ไม่ค่อยสะอาดทำให้ไม่อยากจะใช้บริการ อาจจะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
การป้องกัน
เปลี่ยนพฤติกรรม ไม่อั้นปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทันทีที่ปวดปัสสาวะ
ถ้ามีอาการเจ็บหน่วงๆ ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อเข้าห้องน้ำล้างปัสสาวะที่อักเสบออกมา
2. โรคผังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
การขับรถนานๆ มือจะอยู่ที่พวงมาลัยนานมาก เลือดคงไหลเวียนไม่ดี แทนที่เลือดจะไหลลงข้างลำตัว กลับตรงกันข้ามต้องยกมือจับพวงมาลัยขณะขับรถ การนั่งอยู่ท่าเดียวนานๆ อาจทำให้มีอาการชาไปครึ่งตัวขณะรถติด
การป้องกัน
- ทำท่ากายภาพบำบัดเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน เพื่อให้เส้นเลือดสูบฉีดและระบบไหลเวียนในร่างกายเราดีขึ้น หรือฝึกโยคะเป็นประจำ
- ถ้าจะหยิบของที่เบาะหลังรถไม่ควรเอี้ยวตัว เพราะอาจทำให้ผิดท่าและเส้นเอ็นพลิกได้ควรเปลี่ยนมาเปิดประตูรถด้านหลังแล้วหยิบของ
การหยิบของจากที่ต่ำไม่ควรก้มตัวยก แต่ควรนั่งลงแล้วค่อยๆ ยกขึ้น
3. หมอนรองกระดูกเสื่อม
เกิดจากการที่เราต้องนั่งท่าเดิมนานๆและไม่เปลี่ยนอิริยาบถเลย ดังนั้นหากต้องนั่งขับรถเป็นระยะเวลานาน ควรทดแทนด้วยการบริหารหรือออกกำลังกายโดนเฉพาะช่วงหลังหากพบอาการปวดหลังเป็นอย่างเรื้อรังควรรีบปรึกษาแพทย์
ทำกายภาพทุกวัน วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ด้วยท่าดังนี้
- ท่านอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น แล้วยกตัวขึ้นเล็กน้อยเกร็งหน้าท้องไว้นับ 1-10 ทำประมาณ 10 ครั้ง
การขับรถกล้ามเนื้อคอต้องเกร็งค้างไว้เพื่อให้ศีรษะตั้งตรงสำหรับการมองไปข้างหน้า ด้านข้าง ในการมองทาง หรือกระจกด้านข้าง การขับรถนานๆ อาจทำให้เกิด อาการปวดเมื่อยหรือล้าที่คอได้ โดยเฉพาะคอด้านหลัง อาการปวดคอเป็นส่วนหนึ่งของอาการกล้ามเนื้อคออักเสบ เกิดจากการไม่ได้ขยับปรับเปลี่ยนท่าเป็นเวลานาน
การป้องกัน
ขณะรถติดควรบริหารคอด้วยการหันซ้ายขวาสลับกับก้มหน้าเงยหน้า
ไม่ควรเอี้ยวคอกะทันหันระหว่างขับรถ เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุหันคอผิดท่า
5. หลับใน และตาเมื่อยล้า
การขับรถเป็นเวลานาน สายตาช่วงกลางวันที่ต้องเจอแดดจ้าๆ มักมีอาการตาอ่อนล้า และแสบตา ทำให้มองไม่ถนัดเวลาที่ขับรถ และอาจมีอาการหลับในขณะขับขี่
การป้องกัน
- ถ้าเริ่มง่วงให้รีบจอดรถในปั๊มนอนทันที โดยสังเกตตัวเองว่าเริ่มหาวถี่แล้วหรือยังถ้าถี่มากๆต้องหยุดอย่าฝืน
- เวลาที่ขับรถทางไกล ถ้ามีเพื่อนร่วมทางที่ขับรถเป็น ควรสลับกันขับ ไม่ควรขับคนเดียวตลอดทาง
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทาง
6. ระบบย่อยและระบบขับถ่ายผิดปกติ
การขับรถอาจจะทำให้กินไม่ค่อยเป็นเวลา การนั่งในรถนานอาหารอาจไม่ค่อยย่อยส่งผลถึงระบบการขับถ่าย
การป้องกัน
- ควรเลือกกินอาหารประเภทผัก ควรเลือกอาหารเบาๆ จะช่วยทำให้ระบบย่อย และระบบขับถ่ายดี
- ออกกำลังกายตอนเช้าก่อนออกเดินทาง
ข้อแนะนำเมื่อต้องขับรถเป็นเวลานาน
1. ควรจอดรถหยุดพักทุก 2 ชั่วโมง ลุกขึ้นยืน เดิน เพื่อให้ระบบไหลเวียนเลือด ไหลเวียนได้ดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต้อ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็งได้คลายตัว ลดอาการปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆได้
2. ควรการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. ควรปรับที่นั่งและท่านั่งในการขับขี่ให้ถูกต้องเพื่อลดการกดทับ
สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมค่าเบี้ยประกันที่ไม่แพง คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596 สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..
ที่มา: นิตยสารชีวจิต, กรมอนามัย
ไม่มีความคิดเห็น: