Ads Top

SMK Insurance

ดูแลสุขภาพป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5



จากการรายงานคุณภาพอากาศในช่วงนี้ที่มีการแจ้งเตือน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5มีค่าเกินเกณฑ์มาตราฐานในหลายพื้นที่ในกรุงเทพ ทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจว่าป้องกันและดูแลสุขภาพช่วงนี้อย่างไร ให้ห่างไกลอันตรายจากการสูดดมฝุ่นนี้เข้าไป  สินมั่นคง ประกันสุขภาพ รวบรวมข้อมูลมาบอกกันดังนี้


ฝุ่น PM 2.5 คือ 
ฝุ่นละอองที่ขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูก ของมนุษย์ ไม่สามารถกรองได้ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ ระบบประสาท และการพัฒนาทางสมองของเด็กๆ รวมไปถึงการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ นอกจากนี้ เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น ผู้ใหญ่  อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ปอดบวม โรคหลอดลมอุดกั้น เรื้อรัง มะเร็งปอด ฯลฯ


ฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นได้อย่างไร
สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แบ่งเป็น

1. การเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี มาการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ทางภาคเหนือตอนบนของไทย รวมไปถึงหมอกควันพิษจากประเทศใกล้เคียง

2. การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพที่มีการจราจรคับคั่ง

3. การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี แม้จะมีค่า PM2.5 น้อยกว่าการเผาในที่โล่งและการคมนาคมขนส่ง หากแต่กลับมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด

4. อุตสาหกรรมการผลิต ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

5. ลักษณะอากาศที่เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการสะสม ของPM2.5 
ช่วงฤดูหนาวทำให้ให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง ทำให้ฝุ่นมากกว่าฤดูอื่น  โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีลมพัด เช่น กรุงเทพฯ ที่มีสิ่งก่อสร้าง ตึกสูงเยอะทำให้ฝุ่นไม่พัดออกไป เกิดการสะสม ของ PM2.5 



มาตราฐานคุณภาพอากาศที่ปลอดภัย
ในปี 2548 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำแนะนำเพิ่มเติมในการกำหนดค่าเป้าหมายของค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ปี แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 35, 25, 15 และ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของประเทศ โดยค่าเฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 10 และ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 
แต่ขณะที่ของประเทศไทย ประเทศกำลังพัฒนาได้กำหนด ค่ามาตราฐานเฉลี่ยทั้งปีมีฝุ่น PM 2.5  50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรถึงจะเป็นอันตราย


การป้องกัน PM 2.5

-   พยายามให้เด็กอยู่เเต่ในบ้าน เมื่อมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน

-   ติดตั้งตัวกรองฝุ่นหน้าต่าง และที่กรองอากาศในบ้าน

-  เลือกกินอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี วิตามินอี และโอเมก้า  เพื่อป้องกันสารอนุมูลอิสระ 

-   ถ้าต้องออกจากบ้าน ให้เลือกสวมหน้ากากที่มีมาตรฐาน  (หน้ากากมาตรฐาน  N 95 ) กันฝุ่นควันขนาด 0.3 ไมครอน ได้อย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา หรือร้านวัสดุก่อสร้าง เมื่อใช้แล้วก็ต้องเปลี่ยนอันใหม่ตามอายุการใช้งาน



การเลือกซื้อหน้ากาก
1. ควรมีความแนบกระชับกับใบหน้า เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคจากอนุภาคปนเปื้อนในอากาศชนิดต่าง ๆ

2. ดูมาตรฐานของหน้ากาก โดยหลัก ๆ แล้วจะมีหน่วยงานที่คอยวัดมาตรฐานของหน้ากากป้องกันฝุ่นหรืออนามัยอยู่ 3 ประเทศใหญ่ ๆ คือ อเมริกา (NIOSH Standard, NIOSH 42 CFR 84), ยุโรป (European Standard, EN 149) และมาตรฐานออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (Australia/New Zeeland Standard, AS/NZS 1761) ง่ายที่สุดสังเกตมาตราฐาน  N95 จากมาตรฐานของอเมริกา (NIOSH Standard) บนบรรจุภัณฑ์

3. ประเภทชนิดของหน้ากาก

- ผ้าปิดจมูกชนิดกรองพิเศษ
ผ้าปิดจมูกประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้าสะดวกซื้อ เพียงแต่อาจจะต้องอ่านหน้าซองดีๆ ว่ามีคุณสมบัติผ่านการกรองไม่น้อยกว่า 95% ตามมาตรฐานของสถาบันอาชีวอนามัย และสุขภาพ (NIOSH) จากประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ใช้เสร็จแล้วก็ ควรจะทิ้งเลยเพราะจะแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้

- หน้ากากมาตรฐาน  N 95 
จะเป็นผ้าลักษณะหนากว่าหน้ากากอนามัย มีขนาดใหญ่กว่า สามารถปิดครอบตั้งแต่จมูก ปาก ลงมาถึงคาง ปิดครอบได้มิดชิดมากกว่ามีด้วยกันหลายแบบให้เลือกใช้ ทั้งแบบนิ่มและแบบแข็ง สำหรับหน้ากากแบบผ้านิ่ม มีความหนา ป้องกันได้ดี แต่อาจจะหายใจลำบากนิดหน่อย ส่วนแบบแข็ง จะมีช่องพลาสติกเล็กๆ เพิ่มเข้ามาด้วย จะช่วยให้ระบายความชื้นได้ดี และหายใจได้สะดวกขึ้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาและร้านขายวัสดุก่อสร้าง

- หน้ากากอนามัยผ้าฝ้าย
เหมือนผ้าปิดจมูกชนิดกรองพิเศษคือสามารถหาซื้อได้ในร้านค้าที่มีโซนเครื่องแต่งหน้า – ความสวยความงาม  ดูได้มาตรฐานมีคุณสมบัติผ่านการกรองไม่น้อยกว่า 95% ตามมาตรฐานของสถาบันอาชีวอนามัย และสุขภาพ (NIOSH) จากประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ แต่ข้อดีของหน้ากากอนามัยประเภทนี้คือสามารถนำไปซักทำความสะอาดมาใช้ใหม่ได้

- ติดตามการตรวจค่ามลพิษ ฝุ่นพิษต่างๆในเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัย หากอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังเนื่องจาก ฝุ่น PM 2.5 เกินมาตราฐานต้องระมัดระวัง งดกิจกรรมกลางแจ้ง สวมหน้ากากป้องกัน ซึ่งได้ตามช่องทาง
      website กรมควบคุมมลพิษ   http://aqmthai.com/aqi.php
      website กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรุงเทพมหานคร            http://bangkokairquality.com/bma/aqi
      ใช้แอปพลิเคชัน Air4Thaiของกรมควบคุมมลพิษ



ปัจจุบันมลพิษต่างๆเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลต่อสุขภาพของเรา ควรดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรงพร้อมอยู่เสมอการเลือกทำประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ในการเตรียมพร้อมกับความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ประกันสุขภาพ จาก สินมั่นคงประกันภัย มีแผนประกันสุขภาพที่หลากหลาย ตอบรับกับการดูแลทุกช่วงวัย คลิก www.smk.co.th/PreHealth.aspx หรือ โทร. 1596 


ขอบคุณที่มา goodlifeupdate.com และ thestandard.co
Photo source: freepik.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.