ระดับออกซิเจน O2 ในอากาศมีผลต่อร่างกายอย่างไร ?
อากาศสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตที่ต้องใช้แลกเปลี่ยนในกระบวนการหายใจของร่างกาย เพื่อรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอากาศในแต่ละที่จะมีปริมาณออกซิเจนไม่เท่ากัน ถ้าร่างกายขาดออกซิเจนจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ระดับออกซิเจนในอากาศยังส่งผลต่อร่างกายของเรา จึงมีข้อมูลน่าสนใจมาบอกกันดังนี้
อากาศ มีส่วนประกอบต่างๆในอัตราส่วนที่ต่างกันไป โดยจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
1. ไนโตรเจน (nitrogen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร
2. ออกซิเจน (oxygen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร ออกซิเจนเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงมนุษย์เราด้วยถ้าร่างกายขาดออกซิเจนแล้วจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
3. คาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 0.04 โดยปริมาตร พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจออกของสิ่งมีชีวิตจะหายใจเอาาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ภายนอก
4. แก๊สเฉื่อย (inert gas) เป็นแก๊สที่ไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ
ออกซิเจนเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปสู่ปอด เมื่อออกซิเจนเข้าสู่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อให้ก๊าซออกซิเจนเข้าไปจับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงและเดินทางเข้าหัวใจ หัวใจจะส่งเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนนี้ไปยังอวัยวะต่างๆ เพื่อที่ออกซิเจนจะเข้าไปช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมของงเซลล์ตามอวัยวะเพื่อรักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง เป็นต้น ถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะทำให้เซลล์ตายส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย
ระดับออกซิเจนในอากาศ O2 โดยปกติอยู่ที่ 20.9% O2 ระดับออกซิเจนจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง-ต่ำจากพื้นดิน หากขึ้นไปบนยอดเขาปริมาณออกซิเจนจะลดต่ำลง หรือหากลงในอุโมงค์ เหมืองแร่หรือใต้ดิน ระดับออกซินเจนก็จะน้อยลง ร่างกายคนเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับออกซิเจน 20.9% O2 แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงระดับออกซิเจนในอากาศ ร่างกายคนเราจะมีปฏิกริยาดังนี้
- 18% O2 - Limit of Saftey ปริมาณออกซิเจนต่ำสุดที่ร่างกายอยู่ได้ หากเกินขีดจำกัดจะส่งผลต่อร่างกายได้
- 16% O2 - หัวใจเต้นเร็ว/ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศรีษะ อยากอาเจียน
- 12% O2 - หน้ามืด ไม่มีเรียวแรง
- 10% O2 - หน้าซีด อาเจียน
- 8% O2 - หมดสติ ทนอยู่ได้อีก 8 นาที
- 6% O2 - หัวใจหยุดเต้นเสียชีวิต
1. การสูดหายใจเข้าลึกๆ การสูดหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้น ลดอาการออกซิเจนต่ำได้ เช่น อาการขาดออกซิเจนเนื่องจากความเครียดเพราะว่าเวลาที่เราเครียด กล้ามเนื้อของเราจะเกร็ง หายใจสั้นๆ ดังนั้นเมื่อเราหายใจยาวๆ จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกาย เป็นต้น
2. ออกกำลังกาย เวลาออกกำลังกายร่างกายจะหายใจเร็วและแรงขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและการออกกำลังกายยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรงจึงสามารถแรงเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อนำไปใช้งานได้มากขึ้นด้วย
3. นวด การที่กล้ามเนื้อปวดเมื่อยเกิดจากกล้ามเนื้อมีการหดตัวและเกร็งตัว ทำให้เลือดในบริเวณนั้นหมุนเวียนไม่ดี กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนจึงเกิดการปวดเมื่อยนั่นเอง การนวดจะเข้าไปกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่มากับกระแสเลือด
4. การอาบแช่น้ำอุ่นหรืออบซาวน่า วิธีการนี้จะช่วยให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยมีการขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เลือดหมุนเวียนมากขึ้น ร่างกายจึงมีการแลกเปลี่ยนเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกมาจากร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งหน้าตาสดชื่น
5. ดื่มน้ำ น้ำประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจนกับไฮโดรเจน การดื่มน้ำมากๆ ก็เป็นการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอีกวิธีหนึ่ง ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าร่างกายขาดออกซิเจนเราควรดื่มน้ำเพื่อช่วยในการนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดและควรดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน
สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมเบี้ยประกันที่ไม่แพง คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596 สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..
- Photo source: pexels.com
ไม่มีความคิดเห็น: