Ads Top

SMK Insurance

5 เคล็ดลับเช็คสุขภาพด้วยตัวเอง..แบบง่ายๆ



การดูแลตรวจเช็คสุขภาพอยู่เสมอเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นประจำ เพื่อจะได้ทราบว่าสุขภาพร่างกายของเรามีปัญหาอะไร ควรดูแลอย่างไร ก่อนที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมา มีข้อมูลการดูแลตรวจเช็คสุขภาพที่ควรทำเป็นประจำดังนี้




1. ตรวจเช็คดัชนีมวลกาย (Body Mass Index - BMI ) ทุกสัปดาห์
ดัชนีมวลกายโดยสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักและส่วนสูง ตัวเลขจากค่าดังกล่าวสามารถบอกถึงรูปร่างได้ว่าผอม ปกติ น้ำหนักเกิน หรืออ้วนมาก จึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการค่ามาตรฐานรูปร่างให้เหมาะสม 
ประโยชน์ของการวัดค่า BMI ดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้นการทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว


Body Mass Index (BMI) มีสูตรการคำนวณ = น้ำหนักตัว (Kg) / (ส่วนสูง (m) ) ยกกำลังสอง

สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 



ค่า BMI 30.0 ขึ้นไป-อ้วนมาก 
ค่อนข้างอันตราย เพราะเข้าเกณฑ์อ้วนมาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องระวังการรับประทานไขมัน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหากเลขยิ่งสูงกว่า 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น

ค่า BMI  25.0 – 29.9 อ้วน
ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ค่า BMI  23.0 – 24.9 น้ำหนักเกิน
ต้องพยายามลดน้ำหนักให้เข้าสู่ค่ามาตรฐาน เพราะค่า BMI ในช่วงนี้ยังถือว่าเป็นกลุ่มผู้ที่มีความอ้วนอยู่บ้าง แม้จะไม่ถือว่าอ้วน แต่หากประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ

ค่า BMI 18.6 - 22.9 น้ำหนักปกติ เหมาะสม 
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด

ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 ผอมเกินไป 
น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่ค่อยดี หากสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ค่า BMI จากโปรแกรมคำนวณนี้ เป็นค่าสำหรับชาวเอเชียและคนไทย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ ค่า BMI เฉลี่ยของหญิงไทยคือ 24.4 และของชายไทยคือ 23.1 (อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป)


2. การวัดเส้นรอบพุง ทุก 3 เดือน

เพื่อดูว่า "อ้วนลงพุงหรือไม่" โดยจะต้องวัดขณะยืน วัดจากเส้นรอบวงจากสะดือบรรจบที่สะดือ หากสัดส่วนของเส้นรอบเอวกับความสูง มีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็เป็นไปได้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆสูงขึ้น


มีสูตรการคำนวณ =ส่วนสูง / เส้นรอบพุง = ค่า N/A หน่วย

น้อยกว่า 0.39ค่อนข้างผอม 
มีร่างกายที่ผอมกว่าคนปกติทั่วไป ไม่มีพุง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสุขภาพจะดีเสมอไป เพราะสุขภาพที่ดีนั้นอยู่ที่ความแข็งแรงของร่างกาย แต่กระนั้นโดยรวมก็ถือว่าไม่มีพุง จึงมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนน้อยกว่าคนอื่นๆ

0.40 - 0.49 สมส่วน 
อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีพุง ไม่อ้วน ไม่ผอมไป หมั่นรักษาระดับของช่วงนี้ไว้ จะทำให้ร่างกายห่างไกลจากโรคที่เกิดจากเบาหวานและความอ้วน

0.50 - 0.59 อวบลงพุง 
เริ่มมีพุงหน่อยๆ เป็นสัญญาณให้เห็นว่าเริ่มจะอ้วนขึ้นแล้ว ในช่วงเกณฑ์นี้ยังง่ายที่จะลดพุงด้วยการออกกำลังกายฟิตหุ่น เพื่อทำให้พุงที่มีเล็กน้อยหายไป ก่อนที่จะสายยากแก่การแก้ไขหากพุงใหญ่ขึ้นกว่านี้ในอนาคต

0.60 ขึ้นไป อ้วนลงพุงชัดเจน
ถือว่าอ้วนลงพุงแบบเห็นได้ชัด มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน และความดัน หากต้องการลดความเสี่ยงของโรคเหล่านี้ ควรออกกำลังกาย ลดไขมัน และทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และอย่าลืมว่ายิ่งตัวเลขสูงมากเท่าไร โอกาสที่จะเป็นโรคที่เกิดจากความอ้วนยิ่งสูงเพิ่มขึ้นมาตามตัว


3 . วัดความดันโลหิต ทุกเดือน 

ความดันโลหิตที่เหมาะสำหรับคนสุขภาพดีคือประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท 

หากความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท หมายถึง  ความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย แต่โดยปกติโรคนี้จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ดังนั้นวิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงคือ ต้องวัดความดันโลหิตเป็นประจำ

วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงก็คือ ต้องหมั่นวัดความดันโลหิตเป็นประจำ หากความดันโลหิตความดันโลหิตสูงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด  เช่น  โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง,  โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน , โรคเบาหวานและโรคไตได้


4.  การเดินควรเดินให้ได้  7,500 ก้าวต่อวัน เนื่องจาก

1) การเดินช่วยควบคุมความดันโลหิตได้
การเดิน 40 นาที ทุกๆ วันจะช่วยลดอาการกำเริบของโรคความดันที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

2) การเดินช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมได้
การเดินให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมในสตรีได้ถึง 14% หากปรับความเร็วในการเดินเพิ่มขึ้น และใช้เวลามากขึ้นจะลดความเสี่ยงต่อโรคได้ 25%  

3) การเดินลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
หากต้องการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานควรเดินให้ได้ 3,000 – 7,500 ก้าว ต่อวัน นอกจากนี้การเดินยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

4) การเดินช่วยให้ร่างกายรับวิตามิน D ได้มากขึ้น
วิตามินดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกเปราะ ซึ่งการเดิน 15-30 ต่อวัน เพื่อรับวิตามินดีจากแสงแดดยามเช้า จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ และยังทำให้ร่างกายรับวิตามิน D ได้มากขึ้นอีกด้วย

5) การเดินช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
หากเราใช้เวลาเดิน 30-45 นาที ในทุกๆ วัน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากร่างกายเกิดการทำซ้ำเป็นประจำจึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย

7) การเดินสามารถควบคุมความอยากน้ำตาลได้
การเดินช่วงสั้นๆ สามารถลดความอยากน้ำตาลลงได้ ซึ่งไม่จำกัดแค่การเดิน เพราะการออกกำลังแบบอื่นๆ ก็ช่วยควบคุมความอยากน้ำตาลของร่างกายได้

5 . ไม่ดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ทุกที่ทุกเวลา

การดื่มสุรา มีผลต่ออวัยวะภายในของร่างกาย เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต มีผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะสะสม หากดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน จะส่งผลต่อระบบความจำ ระบบประสาท ระบบเลือด ความดัน และที่ส่งผลโดยตรงต่อตับ
  
การสูบบุหรี่ในบุหรี่เต็มไปด้วยสารนิโคตินที่หากร่างกายได้รับไปนานๆ จะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจและส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ อีกด้วย



สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมเบี้ยประกันที่ไม่แพง 
  คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596  สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..



ที่มา : honestdocs.co

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.