Ads Top

SMK Insurance

ใช้สิทธิ UCEP ต้องรู้ไว้...ผู้ป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีแบบมีเงื่อนไข !!??


เมื่อเกิดเหตุการณ์เจ็บป่วยขึ้นแบบไม่คาดคิดกับตัวเราหรือบุคคลรอบข้าง เบอร์โทรฉุกเฉิน 1669 และสิทธิการรักษา UCEP คือทางออกสำคัญในสภาวะเร่งด่วนที่ทุกคนมองหา แต่การศึกษารายละเอียดการใช้สิทธิ UCEP ก็เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรให้ความใส่ใจ เพื่อป้องกันความผิดพลาดและปกป้องสิทธิการรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้อง วันนี้ สินมั่นคงประกันภัยมีกรณีตัวอย่างไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาฝากกัน


 • จากบทสัมภาษณ์ นายแพทย์พรเทพ แซ่เฮ้ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กทม. ผ่านทางรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Spring News เมื่อวันที่ 16 และ 17 สิงหาคม 2562  



    • นางสาววันดี สันติวุฒิเมธี ร้องเรียนท่าอากาศยานดอนเมืองและศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรณี “คุณพ่อมีอาการปวดท้อง แต่รถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 ไม่สามารถเข้ามารับผู้ป่วยในสนามบินได้” 




 • โดยระเบียบแล้ว รถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 สามารถเข้าไปรับผู้ป่วยภายในสนามบินได้ แต่เนื่องจากบริเวณสนามบินของท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นพื้นที่พิเศษที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ จำเป็นต้องประสานกับหน่วยงานภายในเพื่อขอเข้าพื้นที่เสียก่อน ทำให้ต้องใช้เวลาและมีกระบวนการหลายขั้นตอน 


 • ท่าอากาศยานดอนเมืองจึงนำผู้ป่วยไปปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่คลินิคของสนามบิน แต่เนื่องจากญาติไม่ต้องการให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังรถพยาบาลฉุกเฉินของ 1669 บริเวณริมถนน (รอยต่อระหว่างรันเวย์สนามบินและอาคารภายนอก) คลินิคจึงนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลในรัศมีไม่เกิน 8 กม. ตามกฎข้อบังคับ ทำให้คุณพ่อของนางสาววันดีจึงไม่ได้รับสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP 


แล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่จำเป็นจะต้องเรียกรถพยาบาล 1669 และเข้าข่ายได้รับสิทธิ UCEP หรือ สิทธิรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าขั้นผู้ป่วยวิกฤต โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแม้จะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเอกชน

1. ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เข้าขั้นวิกฤตสีแดง มีอาการรุนแรงหนัก คือเป็นบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยแบบกะทันหันจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการปฏิบัติทางการแพทย์ในทันที หรืออาการของผู้ป่วยฉุกเฉินเริ่มรุนแรงขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นอย่างฉับไว

2. มีการนำส่งโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชนโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 แต่หากเป็นการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลจะถือว่าไม่ได้เป็นผู้ป่วยอาการหนัก เพราะที่โรงพยาบาลแรกรับจะมีแพทย์ที่สามารถรักษาอาการฉุกเฉินได้ประจำโรงพยาบาลอยู่แล้ว การย้ายโรงพยาบาลจึงไม่เข้าข่ายการย้ายแบบผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP หรือหากโรงพยาบาลปลายทางอยู่ในสิทธิประกันสังคมของผู้ป่วยอยู่แล้ว ก็จะเป็นการใช้สิทธิประกันสังคมแทน

3. แพทย์ที่โรงพยาบาลแรกรับจะเป็นผู้ประเมินผู้ป่วยในเบื้องต้นว่าเข้าข่ายสิทธิการรักษา UCEP หรือไม่ โดยวัดจากสัญญาณชีพ (Vital signs) และการเปลี่ยนแปลงของอาการ หากเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับบริการตามระบบ UCEP ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต แต่ในกรณีที่ผลการประเมินไม่เข้าหลักเกณฑ์ ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง




แม้สิทธิรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP จะรักษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็เต็มไปด้วยข้อจำกัดหลายอย่างเพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่แท้จริงตามการวินิจฉัยของแพทย์ในโรงพยาบาลแรกรับ และถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรให้ความใส่ใจและศึกษารายละเอียดให้แน่ชัดก่อนใช้บริการทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักประกันให้กับสุขภาพของคุณอีกทางหนึ่งด้วยประกันสุขภาพจากสินมั่นคงประกันภัยที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจในทุกปัญหาสุขภาพ สามารถใช้สิทธิร่วมกับสิทธิอื่น ๆ ของภาครัฐได้ พร้อมรับส่วนลดเงินคืนสูงสุดถึง 20% กับประกันตามฟิต ตามก้าว เบี้ยเริ่มต้นที่ 4,463 บาท (ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ) 



สินมั่นคงประกันสุขภาพ ...เราประกัน คุณมั่นใจ... สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.smk.co.th/producthealthdetail/1 หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชม. 

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.