Ads Top

SMK Insurance

เสริมแคลเซียมแล้วทำไมกระดูกยังพรุน



อย่างที่ทราบกันดีว่าความหนาแน่นของกระดูก จะลดลงเรื่อยๆ หลังอายุ 40 ปี  ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้หลายคนพยายามเพิ่มมวลกระดูกด้วยการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรือ กินแคลเซียมเสริม แต่มวลกระดูกกับไม่เพิ่มขึ้น เกิดจากอะไร มีคำตอบมาบอก


มวลกระดูก

กระดูกไม่ได้หยุดการเจริญเติบโตแค่ในช่วงวัยรุ่น แม้ว่าขนาดของกระดูกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ “มวลกระดูก” จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามตัวเลขอายุ และ กระดูกจะมีมวลสูงสุด เมื่ออายุ 25-30 ปี และคงที่ไปจนถึงอายุประมาณ 40 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจึงค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 0.3-0.5% ต่อปี


ปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสม

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับคือประมาณ 800-1,000 มก. ต่อวัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทานแคลเซียมให้เพียงพอควรทำต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงอายุยังไม่มาก เพราะเมื่อมวลกระดูกลดลงในช่วงอายุมากขึ้น เราก็ไม่สามารถทำให้มวลกระดูกกลับมาหนาแน่นเท่าเดิมได้ แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ การดูแลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงอย่างช้าที่สุดนั่นเอง


ทำไมเสริมแคลเซียมแล้วกระดูกยังพรุน 

สาเหตุอาจเกิดจากพฤติกรรมนั่งๆนอนๆ ของเราก็ได้  ทำให้กระดูกเราไม่ได้ใช้งานรับแรงกดอะไรเลย ต่อให้เสริมแคลเซียมเท่าไร กระดูกก็ไม่ต้องการ ดังนั้นเราควรเสริมแคลเซียม ประกอบกับการออกกำลังกายแบบต้านแรงโน้มถ่วงโลก (Weight-Bearing Exercise)  แบบมีแรงต้าน และแรงกระแทก  ซึ่งจะช่วยเพิ่มมวลกระดูก และทำให้กระดูกแข็งแรง เช่น เต้น วิ่งจ๊อกกิ้ง เทนนิส แอโรบิก ปีนป่าย ฯลฯ  เนื่องจากการออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการรับแคลเซียมมากขึ้นเพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น พอที่จะรับแรงต้านครั้งต่อๆไป  เราควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที ประมาณสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไปจะทำให้กระดูกแข็งแรง


คำแนะนำการป้องกันโรคกระดูกพรุน


1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และ รับประทานแคลเซียมเสริม
ผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า  50  ปี  ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000  มิลลิกรัม  อายุมากกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม  แหล่งที่มาของแคลเซียมได้จาก อาหารหลายประเภท เช่น  นม   โยเกิร์ต   ชีส  ปลาตัวเล็กทอด  กุ้งแห้ง  กะปิ  ผักคะน้า  ใบยอ  ดอกแค  เต้าหู้แข็ง  ถั่วแดง  และงาดำ โดยทั่วไปการรับประทานอาหารไทยจะได้รับแคลเซียมประมาณ 400 - 500  มิลลิกรัมต่อวัน หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่ร่างกายควรได้รับ จึงควรดื่มนมเสริม  แต่หากไม่ได้รับแคลเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ แนะนำให้รับประทานแคลเซียมเสริม


2. เติมวิตามินดีให้ร่างกายด้วยการรับแสงแดดยามเช้า เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เราจึงควรออกไปรับแสงแดดในช่วงเวลาประมาณ 00-10.00 น. เป็นเวลา 30 นาทีจะช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้มากถึง 200 ยูนิต


3. ทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซิงก์ และแมกนีเซียม
แคลเซียมไม่ได้เป็นแร่ธาตุเพียงชนิดเดียวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความหนาแน่น หรือความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งมีการค้นพบว่า ธาตุเหล็ก ซิงก์ และแมกนีเซียม ก็ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพกระดูกที่ดีเช่นกัน

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น อาหารทะเล เนื้อแดง ถั่ว ผักใบเขียวเข้ม ฯลฯ
อาหารที่มีธาตุซิงก์สูง เช่น ผักโขม เนื้อวัว กุ้ง ถั่ว เมล็ดพันธุ์
อาหารที่มีธาตุแมคนีเซียมสูง เช่น เมล็ดพันธุ์เต็มเมล็ด ผลไม้แห้ง ช็อกโกแลต ฯลฯ
หลังจากที่คุณมีอายุ 35 ปี คุณควรทานอาหารข้างต้นเป็นประจำ เพื่อให้กระดูกของคุณมีสุขภาพดี และแข็งแรงไปนานๆ


4. ออกกำลังกายแบบต้านแรงโน้มถ่วงโลก (Weight-Bearing Exercise)
การออกกำลังกายแบบต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มมวลกระดูก และทำให้กระดูกแข็งแรง  นอกจากนี้คุณควรออกกำลังกายที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มเติม เช่น ยกน้ำหนัก ใช้ยางยืดสำหรับออกกำลังกาย เป็นต้น


5. ลดพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น


6. ข้อควรระวังการรับประทานแคลเซียมเสริมที่มากไปเป็นโทษได้
การทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในไต มะเร็งต่อมลูกหมาก ท้องผูก การดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายบกพร่อง หรือภาวะแคลเซียมเกาะตามผนังหลอดเลือด ดังนั้นเราควรวางแผนในการทานอาหารเพื่อควบคุมปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสม



สินมั่นคง ประกันสุขภาพ 60 ยังฟิต  ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย 
ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ให้ความคุ้มครองทั้งสุขภาพและอุบัติเหตุ  
  คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596  
สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..


ที่มา : honestdocs.co

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.